ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Blognone
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

มสพ. และ คสรท. ออกแถลงการณ์ต่อกรณีที่รั.ฐบาลไทยเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า

มสพ. และ คสรท. ออกแถลงการณ์ต่อกรณีที่รั.ฐบาลไทยเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16099

ทิศทางสู่อนาคต เส้นทาง‘ดูไบ เวิลด์’ (อยาก) คุมภาคใต้ 120 ปี?
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16098

"หลังบ้าน" ไพฑูรย์ แก้วทอง โอนหุ้น 3 ตลบให้ "ลูกจ้าง" ?

"หลังบ้าน" ไพฑูรย์ แก้วทอง โอนหุ้น 3 ตลบให้ "ลูกจ้าง" ?
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02pol02260352&day=2009-03-26§ionid=0202

"ศิริพรรณ ทับงาม" ถือหุ้น 15 ล้าน
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02pol03260352&day=2009-03-26§ionid=0202

บินไทยเช่ารร.ลูกเรือ 5 ปท.612ล. EMMซุ่มอนุมัติสัญญาย้อนหลัง-เมินลดต้นทุนปี"52
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02tou01260352&day=2009-03-26§ionid=0208

"เทสโก้" เฉลยคีย์...ค้าปลีก "ยึดลูกค้าเป็นที่ตั้ง รายได้เป็นเรื่องรอง"
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02mar01260352&day=2009-03-26§ionid=0207

กคช.ปัดฝุ่นฟื้นฟูดินแดง 3.6 หมื่นล. ชงมาสเตอร์แปลน-แผนร่วมทุนเสนอครม.กันยาฯ
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02rea01260352&day=2009-03-26§ionid=0217

รับเช็ค 2,000 "ช็อป" ช่วยชาติธุรกิจแห่โหนกระแสแย่งเค้ก 2 หมื่นล้าน

รับเช็ค 2,000 "ช็อป" ช่วยชาติธุรกิจแห่โหนกระแสแย่งเค้ก 2 หมื่นล้าน
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi01260352&day=2009-03-26§ionid=0212

ย้อนรอย "เส้นทางสู่วิกฤต"
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe03260352&day=2009-03-26§ionid=0223

กลางเสียงวิพากษ์ ทิ้งไพ่ "อัตวินิบาตกรรม" แลกโบนัส-เงินช่วยเหลือ
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe02260352&day=2009-03-26§ionid=0223

บทเรียนโบนัส AIG อินเซนทีฟ VS เงินภาษี หลังฉาก เงิน เงิน เงิน มีอะไร
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe01260352&day=2009-03-26§ionid=0223

ดูเทรนด์ จับเทรนด์ ตามเทรนด์ ถอดรหัสอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ดูเทรนด์ จับเทรนด์ ตามเทรนด์ ถอดรหัสอุตสาหกรรมสิ่งทอ
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02biz01260352&day=2009-03-26§ionid=0214

จากโรงรถถึงสวนหน้าบ้าน ทุก "พื้นที่ว่าง" ทำเงินได้
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02biz04260352&day=2009-03-26§ionid=0214

10 องค์กรคว้ารางวัลนายจ้างดีเด่น
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02hmc04260352&day=2009-03-26§ionid=0220

ไม้บรรทัดของเรา
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi04260352&day=2009-03-26§ionid=0212

สอบผ่านไม่พอต้องเอาประเทศให้รอด
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi03260352&day=2009-03-26§ionid=0212

4 โปรเจ็กต์เผือกร้อน ทอท. สุวรรณภูมิเฟส 2 การเมืองฝุ่นตลบ

4 โปรเจ็กต์เผือกร้อน ทอท. สุวรรณภูมิเฟส 2 การเมืองฝุ่นตลบ
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02p0106260352&day=2009-03-26§ionid=0201

3 วิธีรับเช็คช่วยชาติ
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi02260352&day=2009-03-26§ionid=0212

กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ...bellezza spa จัดหลักสูตรสอนอาชีพสปาฟรี
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02biz03260352&day=2009-03-26§ionid=0214

"เทคโนโลยี" สร้างผู้ประกอบการ Gen Y
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02biz06260352&day=2009-03-26§ionid=0214

10 จังหวัดเสี่ยง มลพิษทางน้ำ

10 จังหวัดเสี่ยง มลพิษทางน้ำ
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNekk1TURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB5T1E9PQ==

ลีลา"แอ่นใหญ่"กินน้ำ
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOVEk1TURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB5T1E9PQ==

ไทชาวอู-ชาวของ กับการเคลื่อนย้าย
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakk1TURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB5T1E9PQ==

โฆษณาผ่าน "โซเซียลเน็ตเวิร์ค" มาแรง "ดิจิทัลเอเยนซี่" แห่แจ้งเกิดรับกระแสสื่อออนไลน์โต
http://www.matichon.co.th/prachachat/news_detail.php?id=3106&catid=2

เส้นตาย15พ.ค.บี้อาชีพอิสระ เล็ง"หมอ-ดารา"ใช้คณะบุคคลซิกแซ็กภาษี
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02p0101260352&day=2009-03-26§ionid=0201

Check it out

Check it out
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01you05290352§ionid=0122&day=2009-03-29

อุจาดตา!
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun05290352§ionid=0140&day=2009-03-29

"สิละ"ศิลปะต่อสู้ ต้นกำเนิด"ปันจักสีลัต"
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEk1TURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB5T1E9PQ==

วิจัยท้องถิ่น3จว.ใต้ ศาสนา-ภาษา-วิถีคน
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREk1TURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB5T1E9PQ==

ตามไปดู.."ยุววาณิช" ค่ายอาชีวะอินเตอร์ "ไทย-ลาว-กัมพูชา"

ตามไปดู.."ยุววาณิช" ค่ายอาชีวะอินเตอร์ "ไทย-ลาว-กัมพูชา"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01290352§ionid=0107&day=2009-03-29

เปิดใจ "ธาริต เพ็งดิษฐ์" เลขาธิการ ป.ป.ท. ลั่น"ผู้นำองค์กรต้องไม่มีแผล"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01jud06290352§ionid=0117&day=2009-03-29

เย้ยฟ้า-ท้าดิน
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01col05290352§ionid=0116&day=2009-03-29

การบำรุงบิดามารดา
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01bud01290352§ionid=0121&day=2009-03-29

เสียงสะท้อนจากป่า เมื่อมรดกโลกกำลังถูกยึด

เสียงสะท้อนจากป่า เมื่อมรดกโลกกำลังถูกยึด
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way04290352§ionid=0137&day=2009-03-29

เงินโลก
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01for05290352§ionid=0104&day=2009-03-29

ตุลาการภิวัตน์
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol04290352§ionid=0133&day=2009-03-29

"อำมาตย์"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol05290352§ionid=0133&day=2009-03-29


ตามไปดู.."ยุววาณิช" ค่ายอาชีวะอินเตอร์ "ไทย-ลาว-กัมพูชา"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01290352§ionid=0107&day=2009-03-29

ส่งต่อเจตนารมณ์ กรรมการสิทธิฯชุดใหม่

ส่งต่อเจตนารมณ์ กรรมการสิทธิฯชุดใหม่
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way02290352§ionid=0137&day=2009-03-29

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun01290352§ionid=0140&day=2009-03-29
ฮุ่งอะลุน แดนวิไล ข้ามโขงมาเล่าเรื่อง... ซีไรต์ลาว 2008

เที่ยว"อิรัก"กันไหม?
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun02290352§ionid=0140&day=2009-03-29

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way03290352§ionid=0137&day=2009-03-29
"หลง ป่า"

นกยูงไชยา ลูกปัดปริศนาในป่ายางสมัยศรีวิชัย

นกยูงไชยา ลูกปัดปริศนาในป่ายางสมัยศรีวิชัย
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun02290352§ionid=0120&day=2009-03-29

ดูนกแดนเขมร (6) The Bird of Heaven
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun03290352§ionid=0120&day=2009-03-29

รำลึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร รำลึกปรากฏการณ์เขมรแดง
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way01290352§ionid=0137&day=2009-03-29

หลบภัยการเมือง เยือน"กุ้ยหลิน"สวรรค์บนพิภพ
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01tra01290352§ionid=0139&day=2009-03-29

"จตุพร"ด่า"เนวิน"ดัดจริตรับไม่ได้แม้วโจมตีเปรม "จรัล"ซัด"สุรยุทธ์"โกหกชี้เดินแผนรัฐประหารทั้งหมด

"จตุพร"ด่า"เนวิน"ดัดจริตรับไม่ได้แม้วโจมตีเปรม "จรัล"ซัด"สุรยุทธ์"โกหกชี้เดินแผนรัฐประหารทั้งหมด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238178563&grpid=05&catid=01

มีอะไรในกอไผ่ ??!!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238312943&grpid=01&catid=01

พลิกปูม"ปีย์ มาลากุล"เจ้าบ้านวงดินเนอร์ กับข่าววางแผนโค่นล้มรัฐบาล"ทักษิณ" ???
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238299575&grpid=01&catid=01

"เขื่อน"อิเหนาแตก เข้าสู่วันที่ 2 เร่งค้นหาผู้สูญหายกว่า 100 ทางการเพิ่มยอดคนตายเป็น 67 ศพ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238222722&grpid=01&catid=06

อึ้ง! "อดีตภาวนาพุทโธ" ติดคุกยาวแต่มีเงินฝากกว่า14ล้าน คนแห่บริจาค แน่นทุกวัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1237989713&grpid=10&catid=17

ปรับใหม่แผนแม่บทรถไฟฟ้า

ปรับใหม่แผนแม่บทรถไฟฟ้า
http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok&content=129774

เปิดตู้เย็นในช่วงฝนตกด.ญ.4ขวบถูกฟ้าผ่าดับคาบ้าน
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=130287

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” กทม.จ่อคิวเจ๊ง
http://www.thairath.co.th/news.php?section=education&content=130122

ปลัดยุติธรรมต้องกล้าล้างมาเฟีย...โดยประสงค์ วิสุทธิ์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238159915&grpid=04&catid=01

วุฒิฯ ประชุมลับ ซัก"มาร์ค"นโยบาย รบ.ปกป้องสถาบันกรณี"ใจ"หมิ่นเบื้องสูง รับหนักใจใช้ กม.ไม่ได้ผล
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238142943&grpid=04&catid=01

วธ.เร่งสอบคลิปโป๊ซ่อนในชื่อการ์ตูนผ่านเว็บไซต์ดัง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238312796&grpid=03&catid=04

จากบ้านผาชันถึงสามพันโบก

จากบ้านผาชันถึงสามพันโบก
http://blogazine.prachatai.com/user/sumart/post/1867

นักผจญเพลิงแห่งเขาแผงม้า
http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/1866

บทเพลงต้องห้าม (17)
http://blogazine.prachatai.com/user/chisuwicharn/post/1872

ถุงผ้าทำให้โลกร้อน
http://blogazine.prachatai.com/user/ong/post/1874

มอญสามย่าน
http://blogazine.prachatai.com/user/ong/post/1617

มองต่างมุม: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปกป้องหรือคุกคาม?

มองต่างมุม: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปกป้องหรือคุกคาม?
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16078

สุวิชา ท่าค้อ รับสารภาพ ศาลนัดฟังคำพิพากษา 3 เม.ย. นี้
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16074

อัยการสั่งฟ้องวิทยุชุมชนคลองเตย
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16077

‘ใจ’ เรียกร้อง ‘รักเชียงใหม่ 51’ เคารพสิทธิเสรีภาพ ‘คนรักเพศเดียวกัน’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16082

แถลงการณ์ กรพ.: การละเมิดบรรทัดฐานและกติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลต่อกรณีผู้ลี้ภัยโรฮิงยา
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16075

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

30 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 306 – 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

- วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 - 16.00 นาฬิกา คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา จัดสัมมนา เรื่อง "การลูกเสือเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะแก่เยาวชนไทย" ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 306 – 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เตรียมตั้งคณะกรรมการวุฒิสภาวิชาการ

รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เตรียมตั้งคณะกรรมการวุฒิสภาวิชาการ
27 มี.ค. 52 รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เผย จะตั้งคณะกรรมการวุฒิสภาวิชาการ เพื่อวิเคราะห์กฎหมายที่รออยู่สภาฯก่อนส่งวุฒิสภาพิจารณา และจะนำกฎหมายแต่ละฉบับจัดทำประชาพิจารณ์ เพื่อช่วยวุฒิสภาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 แถลงว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ตนได้รับผิดชอบงานหลายด้าน ทั้งเรื่องของการประชุมสภาฯ การบริหารของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา การวิจัยของวุฒิสภา และงานพัฒนาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมาชิก โดยจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่วุฒิสภาคุณภาพ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30-31 มีนาคม ที่เขาใหญ่เพื่อให้สมาชิกได้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีเป้าหมายร่วมมือร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ ยังได้ตั้งคณะกรรมการวุฒิสภาวิชาการ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยได้เชิญสถาบันส่งเสริมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก มาร่วมวิเคราะห์กฎหมายที่รออยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรก่อนส่งมายังวุฒิสภา ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มได้ในเร็ว ๆ นี้
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการวุฒิสภาวิชาการจะนำกฎหมายแต่ละฉบับไปทำประชาพิจารณ์ กับประชาชนถึงความเห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการช่วยวุฒิสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลด้วย

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

ส.ส.กรุงเทพมหานคร จี้กระทรวงคมนาคมแก้ปัญหาตลาดคลองเตย

ส.ส.กรุงเทพมหานคร จี้กระทรวงคมนาคมแก้ปัญหาตลาดคลองเตย
27 มี.ค. 52- ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ห่วงปัญหาตลาดคลองเตยบานปลาย พร้อมจี้รัฐบาลเร่งดำเนินการเพราะประชาชนที่อาศัยรอบๆ ตลาดเริ่มได้รับความเดือดร้อนแล้ว
นายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างพ่อค้า แม่ค้าในตลาดคลองเตยกับผู้บริหารตลาดชุดใหม่ ว่า ขณะนี้ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบไปถึงประชาชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ตลาดแล้ว ตนจึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทรวงคมนาคม เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยรีบด่วน และที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแลการท่าเรือ รวมถึงการร้องเรียนผ่านกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด

นภาทิพย์ นูโพนทอง ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา ผู้เรียบเรียง

หน่วยงานราชการยังไม่เข้าใจบทบาทในการดำเนินงานของกองทุนชุมชนพอเพียง

ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เผย หน่วยงานราชการยังไม่เข้าใจบทบาทในการดำเนินงานของกองทุนชุมชนพอเพียง
27 มี.ค. 52- ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จี้รัฐบาลทำความเข้าใจกับข้าราชการการในการดำเนินนกองทุนชุมชนพอเพียงตามนโยบายรัฐบาล เผยข้าราชการยังหลงบทบาทหน้าที่เดิมๆ ทั้งที่กองทุนมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนดำเนินการเองทุกขั้นตอน
นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนโยบายกองทุนชุมชนพอเพียง ของรัฐบาลว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า นายอำเภอ ปลัดอำเภอ หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ได้ดำเนินการตามจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งกองทุน โดยยังทำขั้นตอนเดิม เช่น จัดทำแผนงาน โครงการล่วงหน้า หรือกำหนดร้านค้า และยี่ห้อสินค้า ที่แต่ละกองทุนจะต้องจัดซื้อตามโครงการนั้นๆ ทั้ง ๆ ที่ กองทุนนี้จะเน้นให้ประชาชนในหมู่บ้านจัดประชุมเลือกตั้งกรรมการ จัดทำแผนงาน โครงการด้วยตัวเองทั้งหมด โดยให้ข้าราชการเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์และรวบรวมโครงการของแต่ละกองทุนมายังส่วนกลางเพื่อให้พิจารณาอนุมัติ ตนจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยการชี้แจงกับหน่วยงานทางราชการให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเองในการดำเนินงานของกองทุนชุมชนพอเพียง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของกองทุนคือ การพัฒนาศักยภาพของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นภาทิพย์ นูโพนทอง ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา ผู้เรียบเรียง

ส.ส.รังสิมา จี้รัฐใช้มาตรการเด็ดขาดกับตำรวจและทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบ

ส.ส.รังสิมา จี้รัฐใช้มาตรการเด็ดขาดกับตำรวจและทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบ
27 มี.ค. 52- ส.ส.รังสิมา พรรคประชาธิปัตย์ เผยธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบกำลังแพร่หลายทั่วประเทศ ระบุประชาชนเดือดร้อนสาหัสเพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงและถูกทำร้ายร่างกายถ้าไม่มีเงินจ่ายคืน พร้อมจี้รัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดกับตำรวจ ทหาร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าว
นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกู้เงินนอกระบบ ว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าไปดูแลแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจการปล่อยเงินกู้นอกระบบมีจำนวนมากทั้งในส่วนของกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ซึ่งผู้ที่เป็นลูกหนี้ส่วนใหญ่จะได้รับความเดือดร้อนจากดอกเบี้ยแพงเกินไป และถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงถ้าไม่สามารถส่งดอกเบี้ยได้ตามกำหนด ทั้งนี้ผู้ที่กู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว และเมื่อได้รับความเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าวอีกจึงถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนอย่างมาก ดังนั้นตนจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินมาตรการเด็ดขาดด้วยการสั่งย้ายข้าราชการตำรวจ ทหารระดับสูงในพื้นที่ที่มีธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบ เนื่องจากทราบว่ามีตำรวจหรือทหาร เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวด้วย

นภาทิพย์ นูโพนทอง ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา ผู้เรียบเรียง

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

Open House Master of Science in Financial Engineering

http://www.utcc.ac.th/news/817/Open_House_Master_of_Science _in_Financial_Engineering.html
Open House Master of Science in Financial Engineering

วัน ศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552 เวลา 9.00-12.00 น.ห้อง 10201 (อาคาร 10 ชั้น 2) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

"CRM &BI สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างไร" (CRM & Business Intelligence to improve your relationship with your customers)
ร่วมค้นหาแนวคิดกับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และระบบช่วยในการตัดสินใจในการบริหารและวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับองค์กรยุคใหม่




Register Online..ฟรี ที่นั่งมีจำนวนจำกัด ผู้ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานจะได้รับของรางวัล


การแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน เป็นการแข่งขันทางด้านข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ ซึ่งระบบ "ERP" เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มความต้องการองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน โปรแกรมความยืดหยุ่น สนับสนุนการทำงานทั้งในปัจจุบัน และ อนาคตสามารถสนับสนุนการทำงานที่ครบวงจรโดยเป็นระบบเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน และสามารถลดการซ้ำซ้อนในการดำเนินงานได้รวมทั้งสามารถทำให้ธุรกิจอยู่ชั้นแนวหน้าด้วยการทำให้องค์กรเห็นภาพที่แท้จริงของสถานการณ์ ข้อมูลที่ฉับไว ซึงจะส่งผลความสามารถนี้ไปถึง การวางแผน และการพยากรณ์ และการพยากรณ์ธุรกิจในอนาคต
การสัมมนาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้เกี่ยว กับแนวความคิดข้างต้นแก่องค์กร และผู้สนใจเพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรต่อไป

บรรยายโดย :

คุณ ทวีชัย อภิชัยนิมิตดี ที่ปรึกษาอาวุโส ระบบ CRM, Oracle Thailand
คุณ ธิดาพร สันติมานะวงศ์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ภูมิภาค อาเซียน Oracle Asia Pacific
ดร. สันติพัฒน์ อรุณธารี Chief Technology Officer, PTT ICT Solutions

วันเวลา-สถานที่ :

วัน ศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552 เวลา 9.00-12.00 น.ห้อง 10201 (อาคาร 10 ชั้น 2) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Agenda : 27 March 2009 Friday :

วันและเวลา
กำหนดการ

08.30 ลงทะเบียน
09.00 กล่าวเปิดงานสัมมนา
09.30 สัมมนาช่วงที่ 1 CRM & Marketing
10.30 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 สัมมนาช่วงที่ 2 BI: Business Intelligence
11.45 แจกของรางวัล กล่าวจบงานสัมมนา

สมัครเข้าร่วมสัมมนา :

ลงชื่อ - นามสกุล บริษัท ตำแหน่ง ได้ที่ E-mail : innovation_utcc@hotmail.com หรือสอบถาม คุณวุฑฒิสาร 08-4660-8644



รายละเอียดเพิ่มเติม
Register Online..

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ Sky Walk บริเวณระหว่างศูนย์การค้าเกษรและเอราวัณ แบงค็อก

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA) ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “Visit Ratchaprasong” โครงการเชิญชวนท่องเที่ยวแบบครบเครื่องใจกลางเมืองหลวง ทั้งกิน นอน เที่ยว ช้อป สปา และได้บุญกลับบ้าน พร้อมให้รายละเอียดโครงการ และแผนการโปรโมทการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

โดย

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และ
คุณชาย ศรีวิกรม์
นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์

เชิญร่วมทัวร์สักการะบูชาเทพทั้ง 6 องค์ โดย “ครูมืด” คุณประสาท ทองอร่าม แห่งรายการ “คุณพระช่วย”

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.30 – 16.00 น.
ณ Sky Walk บริเวณระหว่างศูนย์การค้าเกษรและเอราวัณ แบงค็อก

กำหนดการ

13.30 – 14.00 น. แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนลงทะเบียน / รับประทานอาหารว่าง

14.00 – 14.05 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน

14.05 – 14.25 น. การแถลงข่าวโครงการ Visit Ratchaprasong
โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และคุณชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์

14.25 – 14.40 น. ช่วงพูดคุยกับคุณประสาท ทองอร่าม หรือ “ครูมืด” ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะวัฒนธรรมไทย
ในหัวข้อเรื่อง “6 เทพเจ้ากลางเมือง”

14.40 – 14.50 น. ช่วงสื่อมวลชนซักถามเพิ่มเติม

14.50 – 15.00 น. ช่วงถ่ายภาพร่วมกัน

15.00 – 16.00 น. การเดินทัวร์สักการะบูชาเทพทั้ง 6 องค์ ณ ย่านราชประสงค์ นำทัวร์โดย ครูมืด พร้อมด้วย
ผู้ว่าฯ นายกสมาคมฯ สมาชิกสมาคมฯ และสื่อมวลชน

การเดินทัวร์เริ่มจาก พระพรหมเอราวัณ - ท้าวอัมรินทราธราช -
พระนารายณ์ทรงสุบรรณ - พระลักษมี - พระตรีมูรติ - พระพิฆเนศวร

16.00 น. จบงานแถลงข่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
กรรณิกา สายพันธุ์ (ส้ม)
มือถือ 081-913-8465

วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2552 เวลา 13.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้องสัมมนา อาคาร 5 ชั้น 2

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการเงิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.) ขอเชิญร่วมงานโอเพ่นเฮาส์รู้จักกับหลักสูตรวิศวกรรมการเงิน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีการเงินและศึกษาแบบจำลองทางการจัดการปัญหาทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยง ควบคู่กับการนำการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เพื่อให้การประมวลผลทำได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และเป็นเหตุเป็นผล และร่วมเสวนาในหัวข้อ“Opportunity in Capital Financial Markets” โดยนักวิเคราะห์ทางการเงินชั้นแนวหน้า ได้แก่ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และนายจักรกฤษณ์ ประสาทไทย ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2552 เวลา 13.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้องสัมมนา อาคาร 5 ชั้น 2 ลงทะเบียนร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ www.utcc.ac.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.สมพร ปั่นโภชา มกค. โทรศัพท์ 02 697 6511-2 และ 089 796 1404

กำหนดการ

13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กล่าวเปิดงาน
โดย รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์
อธิการบดี มกค.
13.40 – 13.50 น. กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชีพ งามเจริญ
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มกค.
13.50 – 14.15 น. แนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมการเงิน)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมพร ปั่นโภชา
หัวหน้าหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน มกค.
14.15 – 14.30 น. รับประทานอาหารว่าง
14.30 – 16.00 น. การเสวนา เรื่อง “Opportunity in Capital Financial Markets”
โดย ดร. ก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
นายจักรกฤษณ์ ประสาทไทย ผู้อำนวยการอาวุโส
ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท พีอาร์พีเดีย จำกัด
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / พชรวดี จุโลทัย / ปาณิศา ใจรักษาธรรม
มือถือ: 089 811 7937 / 085 055 1473 / 089 106 9967
โทรศัพท์: 02 662 0550
อีเมล์: contact@prpedia.co.th

กองประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
โทรศัพท์: 02 697 6780-3
โทรสาร: 02 697 6786
อีเมล์: prutcc@utcc.ac.th

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00 น. ห้องประชุมอาคาร 5 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เชิญผู้สนใจร่วมงานโอเพ่นเฮาส์แนะนำความเป็นมาของหลักสูตรและสาขาที่มีการเปิดสอน นอกจากนี้ยังมีสัมมนาเรื่อง “วิกฤติเศรษฐกิจ ภาวะการตกงาน การปิดกิจการ กับ ทางรอดของผู้ประกอบการไทย” โดยนายเกริกไกร จีระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการถ่ายทอดแนวความคิดและประสบการณ์จากผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00 น. ห้องประชุมอาคาร 5 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.utcc.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท พีอาร์พีเดีย จำกัด
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / พชรวดี จุโลทัย / ปาณิศา ใจรักษาธรรม
มือถือ: 089 811 7937 / 085 055 1473 / 089 106 9967
โทรศัพท์: 02 662 0550
อีเมล์: contact@prpedia.co.th

กองประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
โทรศัพท์: 02 697 6780-3
โทรสาร: 02 697 6786
อีเมล์: prutcc@utcc.ac.th

วันที่ 2 เมษายน 2552 เวลา 09.00-15.30 น. ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

ทะเบียน
09.30 - 09.40 ภาพรวมการดำเนินโครงการและกล่าวรายงาน โดย
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
09.40 -10.00 บทบาทและการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย และกล่าวเปิดการสัมมนา โดย
ดร.ดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
10.00 – 10.30 รายงานรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ ทั้ง 3 แผนงาน ได้แก่ แผนการผลิต แผนระบบมาตรฐาน และแผนการพัฒนาบุคลากร โดย
ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 Good Practices Sharing (Panel Discussion & Q&A) ช่วงที่ 1 โดย
บริษัท ดาสโก้ จำกัด อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
บริษัท พิโคที อินเตอร์แนชชันแนล จำกัด อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.15 Good Practices Sharing (Panel Discussion & Q&A) ช่วงที่ 2 โดย
บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958)จำกัด อุตสาหกรรมอาหาร
บริษัท ไทยพีเจ้น จำกัด อุตสาหกรรมพลาสติก
14.15 – 14.30 พักรับประทานอาหารว่าง
14.30 – 15.10 Good Practices Sharing (Panel Discussion & Q&A) ช่วงที่ 3 โดย
บริษัท แสงประทีป ออโต้ซีท จำกัด อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
15.10 – 15.30 สรุปกรณีศึกษา และ นำเสนอโครงการให้คำปรึกษาแนะนำของสถาบันเพิ่มผลผลิตฯ
โดย คุณวุฒิพงศ์ บุญนายวา
ผู้จัดการส่วนบริหารการผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

แบบตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาปิดโครงการ

เผยแพร่ความรู้ และกรณีศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดี(Good Practices)

โครงการสร้างต้นแบบของการพัฒนาประสิทธิภาพภายในองค์กรด้วยกระบวนการเพิ่มผลผลิต

(Productivity Improvement)











วันที่ 2 เมษายน 2552

ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น





ชื่อบริษัท ……………………………………………….………………………………………………………

ที่อยู่…………………………………………………….………………………………………………………….

……………………………………………………….…………………………………………………………….

ผู้ประสานงาน……………………………….………................. ตำแหน่ง………....……………….………..

โทรศัพท์ ……………………………….........โทรสาร ………………………..E-Mail………….…………….



รายชื่อบุคคลที่เข้าร่วมงานสัมมนาปิดโครงการ

เผยแพร่ความรู้ และกรณีศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดี(Good Practices)

ชื่อ
ตำแหน่ง

1.


2.


3.



กรุณาส่งกลับมายังสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติภายในวันที่ 30 มีนาคม 2552

รีบสมัครด่วน...รับจำนวนจำกัด











ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายปรึกษาแนะนำด้านการเพิ่มผลผลิต ส่วนบริหารการผลิต

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

โทรศัพท์ 0-2619-5500 ต่อ 573(นาฏญา) , 575(มงคล) โทรสาร 0-2619-8071, 0-2619-8090

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2552 เวลา 8.30 - 15.30 น. ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

สัมมนาเรื่อง เผยแพร่ความรู้ และกรณีศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดี(Good Practices)





สำนักงานเศรฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนา

“เผยแพร่ความรู้ และกรณีศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดี(Good Practices)
โครงการสร้างต้นแบบของการพัฒนาประสิทธิภาพภายในองค์กร
ด้วยกระบวนการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)”

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2552 เวลา 8.30 - 15.30 น.
ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น






กลุ่ม: ผู้ประกอบการธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป

วันที่: 2/4/2552

เวลา: 8:30-15:30

สถานที่จัด: โรงแรม มิราเคิล แกรนด์

ที่อยู่ของสถานที่จัด: 99 ถนนวิภาวดีรังสิต, หลักสี่

เบอร์โทรของสถานที่จัด: (662) 674-8182 to 3,(662)672-6040 to 1, (662) 674-8700

ห้อง-ชั้น: ห้องเมจิก 3

จำนวนคนสูงสุด: ไม่ระบุจำนวน

ค่าใช้จ่ายต่อคน: ไม่มีค่าใช้จ่าย

แผนที่: View

ผู้บรรยาย: ดำริ สุโขธนัง

เอกสารประกอบ: กำหนดการและแบบตอบรับ

ผู้จัดสัมมนา: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

วิธีเข้าร่วมการสัมมนาหรือการอบรม: กรุณาส่งกลับมายังสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติภายในวันที่ 30 มีนาคม 2552 รีบสมัครด่วน...รับจำนวนจำกัด ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายปรึกษาแนะนำด้านการเพิ่มผลผลิต ส่วนบริหารการผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โทรศัพท์ 0-2619-5500 ต่อ 573(นาฏญา) , 575(มงคล) โทรสาร 0-2619-8071, 0-2619-8090

25 เม.ย. 52 เวลา 14.15 น.สมาคมอัสสัมชัญ

http://ubuntuclub.com/node/1323
25 เม.ย. 52
14.15 น. เป็นต้นไป
สถานที่ ที่เดิมครับ สมาคมอัสสัมชัญ การเดินทางให้ลงรถไฟฟ้า BTS สถานีพระโขนง ออกประตู 4 แล้วเดินตรงไปไม่เกิน 50 เมตรจะเจอแยกพระราม 4(สังเกตุง่ายๆ ตรงหัวแยกจะมีร้าน Good year หน้าร้านมีรูปปั้นยางรถยนต์ size มโหฬาร) พอเจอแยกให้เลี้ยวขวาเข้าไปครับ แล้วตรงไปเรื่อยๆไม่ถึง 100 เมตรจะเห็นสมาคมอัสสัมชัญสถานที่จัดเลี้ยงของเราอยู่ฝั่งตรงข้ามครับ (ที่กำแพงสีแดงๆน่ะครับ สังเกตง่ายมาก) แผนที่
หลงทางกด 0853253042

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

นักกฎหมายเสนอโมเดลปรับเล็ก-ใหญ่กฎหมายหมิ่นฯ กระทรวงยุติธรรมยันต้องเพิ่มโทษ เล็งเอาผิด "พวกสอพลอ"ด้วย

นักกฎหมายเสนอโมเดลปรับเล็ก-ใหญ่กฎหมายหมิ่นฯ กระทรวงยุติธรรมยันต้องเพิ่มโทษ เล็งเอาผิด "พวกสอพลอ"ด้วย





21 มี.ค.52 ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ซึ่งเป็นวันแรกสำหรับการถกเถียงทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และนิติศาสตร์ ก่อนจะขยายสู่มิติอื่นในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.) มีผู้สนใจร่วมฟังประมาณ 200 คน ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดโดย โครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่, สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล และภาควิชาปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ในช่วงบ่าย มีการอภิปรายเรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับความมั่นคงของรัฐ” ดำเนินรายการโดย ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มธ.







‘วรเจตน์’ ชี้ต้องแยกวิจารณ์ กับ หมิ่นประมาท เสนอลดโทษ-เพิ่มข้อยกเว้นที่กระทำได้



รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวโดยแบ่งเป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้ ประการแรกความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์กับรัฐนั้นมีความเปลี่ยนแปลง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดในสมัยที่รัฐและสถาบันกษัตริย์ยังไม่ได้แยกจากกัน เมื่อมีรัฐธรรมนูญ สถาบันกษัตริย์ถือเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และเป็นประมุขของรัฐ ไม่เป็นเนื้อเดียวกันแล้ว แม้ว่าการดำรงอยู่ของกษัตริย์อาจเกี่ยวพันกับความมั่นคงของรัฐ แต่การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือรักษาความมั่นคงของรัฐก็ต้องถามต่อด้วยว่าเป็นรัฐแบบไหน นิติรัฐประชาธิปไตยหรือรัฐเผด็จการ เพราะตัวกฎหมาย การดำเนินการจะต่างกันสิ้นเชิง



ประการที่สอง ตัวบท ม.112 มาตรานี้มีองค์ประกอบความผิดชัดเจนพอสมควร และเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อปกป้องเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการปกป้องบุคคล แต่ปัญหาอยู่ที่การตีความขององค์กรที่มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมาย ม.112 ไม่มีข้อความว่าห้ามวิจารณ์ ดังนั้นต้องแยกแยะให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ม.112 และตีความภายใต้บริบทสังคมไทยด้วยแล้วทำให้เกิดบรรยากาศความกลัวขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อเรื่องนี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง นอกจากนี้การกำหนดโทษต้องเหมาะกับลักษณะความผิด กระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐและจะปรับเพิ่มโทษ ขณะที่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิ์กลับมีโทษไม่เกิน 3 ปี ดังปรากฏใน พรก.ลักษณะหมิ่นประมาท รศ.118 ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์ฉบับแรกที่พูดเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยร.5 ถ้าโทษไม่สัมพันธ์กับการกรทำ จะเป็นปัญหากับตัวกฎหมาย และตอบคำถามในทางสากลไม่ได้ ส่วนปัญหาของกระบวนการนั้น คือ การเปิดให้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษโดยใครก็ได้ ทำให้กฎหมายนี้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง และเป็นปัญหากับตัวระบบเอง การตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องนี้ของกระทรวงยุติธรรมเป็นสิ่งน่าชมเชย แต่ตราบที่เปิดกว้างขนาดนี้ก็จะยังคงแก้ปัญหาการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองไม่ได้ ควรมีหน่วยพิจารณาเบื้องต้น ซึ่งต้องแยกแยะให้ชัดเจนระหว่างการหมิ่นประมาทและการวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งรัฐธรรมนูญให้การรับรองสิทธินี้



ประการที่สาม ม.112 ในด้านความสัมพันธ์ของการปกครองและรัฐธรรมนูญ ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีได้ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิ์แต่เมื่อเป็นรัฐประชาธิปไตย ก็คือ การหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งปี 2477 มีการบัญญัติข้อยกเว้นซึ่งไม่ทำหลายความผิดฐานหมิ่นฯ แต่เปิดพื้นที่ให้บุคคลได้แสดงความเห็นโดยสุจริตได้ แต่ต่อมาถูกยกเลิกไป ที่สำคัญ ปัจจุบันนักกฎหมายส่วนใหญ่เชื่อมโยงกฎหมายหมิ่นกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิ์ พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะสูงสุด แต่เมื่อประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเมื่อปี 2475 การตีความเรื่องนี้จึงต้องตีความให้สอดคล้องกับระบบการปกครองใหม่ ไม่สามารถตีความเหมือนระบบสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ โดยการตีความใหม่ให้สอดคล้องอยู่ในหลักรัฐธรรมนูญก็คือพระมหากษัตริย์พ้นไปจากการเมือง โดยมีองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญมาทำหน้าที่ ทำให้พระองค์อยู่เหนือฝักฝ่ายใดทางการเมือง และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเป็นที่เคารพสักการะ ม.112 จึงเป็นการคุ้มครองบุคคลในตำแหน่งองค์กรของรัฐ ซึ่งในหลายประเทศก็มีบทบัญญัติเช่นนี้ แต่ไม่มีโทษหนักเช่นประเทศไทย



วรเจตน์กล่าวว่า โดยสรุปแล้วจึงไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว แต่มีประเด็นการกำหนดโทษให้เหมาะสม การดำเนินคดีซึ่งต้องคำนึงถึงความเท่าเทียมและศักดิ์ความเป็นมนุษย์ของบุคคล ถ้ายังไม่ได้พิพากษาจะทำประหนึ่งว่าผิดแล้วไม่ได้ นอกจากนี้การตีความขององค์กรที่บังคับใช้กฎหมายก็สำคัญ และการมีตัวบทที่เป็นข้อยกเว้นอันสอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยเช่นที่เคยมีมาในอดีต เป็นการเพิ่มอำนาจกระทำได้ลงไปเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการพิทักษ์สถาบันได้มากกว่าการเพิ่มโทษ อย่างไรก็ตาม เขาระบุด้วยว่าหากพระมหากษัตริย์ทำพ้นไปจากที่กรอบรัฐธรรมนูญคุ้มครองก็เป็นเรื่องที่ถูกวิจารณ์ได้ เป็นการตอบเชิงหลักการทางกฎหมาย แต่ภายใต้บริบทและบรรยากาศทางสังคมแบบนี้ทำให้ง่ายต่อการถูกใส่ความ





‘สมชาย’ เสนอปรับเล็ก ตัดคำว่า “ดูหมิ่น” -ตั้งกรรมการสิทธิฯ วินิจฉัยการเป็นคดีความ-เพิ่มข้อยกเว้นสอดคล้อง ปชต.



รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มช.กล่าวว่า มีประเด็นนำเสนอ 4 เรื่องเกี่ยวกับตัวกฎหมาย, ข้อบกพร่อง 4 ประการ, ผลกระทบ-ข้อถกเถียง, ข้อเสนอเพื่อการชำระกฎหมาย โดยประเด็นแรก เรื่อง ตัวกฎหมาย กฎหมายนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หลังปี 2475 ความผิดฐานนี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ที่สำคัญ ยังมีข้อยกเว้นว่าถ้าการกระทำการดังกล่าวอยู่ภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อสาธารณะประโยชน์ และกระทำการโดยสุจริตแล้วถือว่าไม่ผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ 2475 ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรากฐานคือประมวลกฎหมายอาญาปี 2499 ที่บัญญัติม.112 ที่ตัดข้อยกเว้นทิ้งไป และเป็นหลักที่ใช้มาจนปัจจุบัน ส่วนเรื่องโทษมีการเพิ่มขึ้นในปี 2519 จากไม่เกิน 7 ปีเป็นโทษ 3-15 ปี



ประเด็นที่สอง เรื่อง จตุอัปลักษณ์ของตัวกฎหมายหมิ่น แบ่งเป็น1. ปัญหาในการตีความคำว่า “ดูหมิ่น” ซึ่งไม่ชัดเจนเหมือนคำอื่นๆ และการตีความคำนี้สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ความรู้สึก จุดยืนทางการเมือง โดยสมชายยกตัวอย่างคดีหมิ่นฯ ที่ไม่น่าเกิดขึ้นหลายกรณี เช่น การทำสติ๊กเกอร์, การตัดต้นไม้ที่สมเด็จย่าปลูก, การกล่าวว่ารัฐธรรมนูญ 50 เลวของนายสมัคร สุนทรเวช เรียกได้กว่าเกิดสรรพนานาหมิ่นฯ ในสังคมไทย ทั้งนี้ การตีความคำว่าดูหมิ่นอย่างกว้างขวางเกิดขึ้นทั้งในและนอกกระบวนการยุติธรรม 2.ความรุนแรงของโทษเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่โทษในสมัยระบอบประชาธิปไตยสูงกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ช่องโหว่ของการเป็นผู้เสียหาย 4.ความลักลั่นของกระบวนการยุติธรรมที่พอจะมองเห็นได้ เช่น เรื่องสิทธิในฐานะผู้ต้องหา/จำเลยมีมาตรฐานไม่เท่ากัน คนมีชื่อเสียงไม่ว่าฝ่ายไหนที่โดนข้อหานี้สามารถประกันตัวได้ แต่ชาวบ้านธรรมดายากจะได้รับการประกันตัว แม้ในชั้นศาลแนวการตีความก็น่าสนใจศึกษาตรรกะและเหตุผลในการวินิจฉัย หากแต่เข้าถึงคำพิพากษาไม่ได้เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นคดีศาลชั้นต้น อย่างไรก็ตาม คดีเหล่านี้ต้องได้รับการตรวจสอบเพราะกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน



ประเด็นที่สาม คือ ม.112 ปกป้องสถาบันจริงหรือไม่ เพราะมีกรณีจำนวนมากที่กลายเป็นเครื่องมือทำร้ายฝ่ายตรงข้าม การตีความอย่างกว้างยิ่งกระทบเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น



ประเด็นที่สี่ คือ การจัดการกับกฎหมาย สามารถกระทำได้ใน 2 ระดับ คือ ระดับการปรับนิดๆ หน่อยๆ เช่น การกำหนดให้มีองค์กรวินิจฉัยคดีความ ซึ่งหลายส่วนเห็นว่า สำนักพระราชวังอาจไม่เหมาะ จึงอยากเสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ เนื่องจากกระทบเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน, การตัดคำว่า “ดูหมิ่น” ซึ่งเป็นปัญหาออก, การเพิ่มข้อยกเว้นเพื่อให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ส่วนอีกระดับหนึ่งคือ การยกเลิกกฎหมายไปเลย เนื่องจากในประมวลกฎหมายอาญามีกาคุ้มครองการถูกหมิ่นประมาทอยู่แล้ว อีกทั้งสถาบันทำลงอยู่ได้ไม่ใช่เพราะใช้อำนาจบังคับ แต่เป็นเพราะ popular consensus





กระทรวงยุติธรรมยันเสนอเพิ่มโทษ-ฟันเสมอภาค เล็งเอาผิดพวกแอบอ้างสถาบันป้ายสีศัตรู



นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในเบื้องต้นว่ามาตรา 112 ซึ่งเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต้องมีการปรับปรุงโดยการเพิ่มบทลงโทษให้สูงขึ้นจากเดิมจำคุกขั้นต่ำสุด 3 ปี สูงสุด 15 ปี โดยการกำหนดฐานความผิดนี้เป็นคนละส่วนกับเรื่องของการหมิ่นประมาท ทั้งนี้เป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากฎหมายมาตราดังกล่าวไม่ได้ต้องการปกป้องในส่วนของพระองค์หนึ่งพระองค์ใด แต่ต้องการปกป้องสถานบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นหลักเรื่องความมั่นคงของชาติ



นอกจากเรื่องโทษที่มีขั้นต่ำเพียง 3 ปีแล้ว ปัญหาหลักที่มองเห็นคือการที่สามารถรอลงอาญาได้ ทั้งที่ในความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐจะมีโทษโดยรวมสูงกว่านี้ในทุกเรื่อง และจะไม่อยู่ในกรอบของการลงอาญาได้



นายธาริต กล่าวต่อปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายว่า สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีคำนึงถึงยิ่งไปกว่าการะเพิ่มโทษ คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค ตั้งแต่ในชั้นของตำรวจซึ่งก็มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ มาตรฐานจึงอาจต่างกัน หรือแม้จะเป็นการทำงานของหน่วยงานเดียวกันก็อาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดในมาตรานี้ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยส่วนหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือฝ่ายการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนั้น



ในกรณีที่มีบางฝ่ายใช้มาตรานี้เพื่อเป็นประโยชน์ของตนเอง มีการพูดสรรเสริมเยินยอสถาบันจนเกินงาม แล้วก็โยนไปฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นฝ่ายไม่จงรักภักดี ทำให้กฎหมายกลายเป็นประโยชน์ที่จะหยิบมาใช้จัดการกับฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นการดิสเครดิต หรือการทำให้มัวหมอง ถือเป็นเจตนาพิเศษที่จะฉกฉวยเอาประโยชน์ให้ตนเองหรือกลุ่มของตนเองโดยการอ้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน ตรงนี้เป็นปัญหาซึ่งอาจนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายสาระบัญญัติเพื่อจะจัดการกับคนกลุ่มนี้



“โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าน่าจะถึงเวลาและมีความจำเป็น แม้จะเป็นโทษที่ไม่ได้หนักหนาสาหัสแต่คนเหล่านี้ควรจะต้องรับผลร้ายจากการกระทำด้วย และคนเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่สร้างความเสื่อมถอยของกฎหมายมาตรา 112” นายธาริต กล่าวฝากถึงข้อสังเกต



นายธาริต ยังได้กล่าวว่ากระบวนการดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยได้ยกตัวอย่างการกระทำผิดใน 3 กรณีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งได้รับการอภัยโทษว่า มีคดีจับกุมนายพฤกษ์คนไทยสัญชาติอเมริกันซึ่งทำเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพร่วมกับชาวต่างประเทศ คดีนายโอลิเวอร์ ที่ทำการพ่นสีพระบรมฉายาลักษณ์ และคดีของนายแฮรี่ นิโคไลนด์สซึ่งเขียนหนังสือจาบจ้วงสถาบัน เนื่องจากทั้ง 3 กรณีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันว่า มีการแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แล้วยอมรับในความเข้าใจผิดและการดำเนินการที่ผิดพลาดของตนเอง โดยในกรณีของนายพฤกษ์ก็มีผู้ใหญ่จากสำนักพระราชวังเข้าไปคุยด้วย



ทั้งนี้ นายธาริตเห็นด้วยที่จะให้มีหน่วยงานมารับผิดชอบในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแก่พนักงานสอบสวน โดยตั้งเป็นคณะที่ปรึกษาของพนักงานสอบสวนซึ่งทำหน้าที่ตามเขตอำนาจของแต่ละหน่วยอยู่แล้ว นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาดังกล่าวต้องมีความเชื่อมโยงกับสำนักพระราชวัง เพื่อดูพฤติการณ์ ดูความหนักเบาของโทษ และสำคัญที่สุดคือการทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอภัยโทษให้กับผู้ที่สำนึกผิดและจะกลับตัวเป็นคนดี



เขากล่าวด้วยว่า นอกจากนี้นายพีรพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรมยังได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาเรื่องการหมิ่นสถาบันทางเว็บไซต์ โดยอยู่ในช่วงดำเนินการ ทั้งนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตอบว่าควรมีการแก้กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น รมว.ยุติธรรมมีความเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายในมาตรา 112 เพียงพอที่จะเป็นกฎหมายสาระบัญญัติที่จะดำเนินการไปถึงเรื่องการหมิ่นประมาททางไอทีด้วย แต่ว่าเรื่องโทษเป็นประเด็นที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อให้เกิดการป้องปรามมากขึ้น โดยดำเนินการควบคู่กับประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายด้วย





‘วรินทร์’ ส.ว.แต่งตั้งแจง ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ได้รับการอภัยโทษ



นายวรินทร์ เทียมจรัส สมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้ง) และคณะกรรมวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวว่า ประเด็นแรก สาเหตุที่มีการวิพากษ์วิจารณ์และหมิ่นสถาบันมาก ก็เพราะประชาชนไม่ได้ข้อมูลรอบด้าน และการเมืองนำไปสู่กลไกที่จะใช้เรื่องนี้ในการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะใช้เสื้อสีอะไร ประการต่อมาคือการปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลกฎหมาย ไม่บังคับการณ์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่สอพลอ มีหน้าที่ปกป้องสถาบันแต่ไม่ทำ



วรินทร์ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นกรรมาธิการที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ ผมเรียนว่าคดีหมิ่นสถาบัน หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผมทราบมาว่าในกรมตำรวจก็มีการตั้งคณะกรรมการ ก็ดูว่างานล่าช้า แต่หลายคนก็จงใจให้ล่าช้า เพราเผือกมันร้อย อัยการก็ร้อนก็โยนต่อ ท้ายที่สุด ส่วนใหญ่ที่ผมศึกษามา ก็คือว่าถ้าจำเลยนั้นสำนึกต่อการกระทำของตนเองในฐานความผิดนี้และยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วันที่คดีถึงที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการอภัยโทษ ถามว่าอำนาจแห่งการอภัยโทษนั้นเป็นอำนาจอะไร เป็นอำนาจที่เขียนไส้ชัดเจนในกฎหมายทุกฉบับว่าเป็นอำนาจของในหลวง



เขากล่าวต่อว่า การพัฒนาระบอบกษัตริย์ไทย เหนือกว่าหลักสิทธิมนุษยชน เป้ฯหลักธรรมภิบาล หลักทศพิธราชธรรม โดยเราจะเห็นว่าประเทศไทยมีกระบวนการอภัยโทษมากมาย พร้อมทั้งชี้ว่า ถ้าวางอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียว ไม่วางอัตราโทษขั้นต่ำแล้วศาลจะใช้ดุลพินิจไม่ได้เลย ถ้าศาลวางอัตราโทษ 3 ปี แล้วลดลงกึ่งหนึ่งก็จะสามารถรอลงอาญาได้เลยไม่ต้องขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ถ้าคนมีเจตนาชั่วร้าย มีเจตนาที่จะล้มล้างสถาบันจริงๆ ก็ควรมีโทษสูงสุด ถ้าล้มล้างอย่างนั้นก็ถือว่ามีส่วนในการล้มล้างรัฐธรรมนูญด้วย ทำให้ต้องมายกร่างและลงประชามติกันใหม่



เขากล่าวว่า ผู้ใช้กฎหมายและผู้อยู่ในกระบวนการยติธรรมทั้งหมดต้องตระหนักว่า หากเขาไม่ได้มีเจตนาร้าย จะลงโทษเขาไม่ได้ ส่วนข้อถามว่า คดีหมิ่นฯ มีทนายได้ไหม มีได้ เพราการมีทนายมันถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาความอาญา แต่บางครั้งผู้ต้องหาไม่ได้ร้องขอ กระบวนการยุติธรรมทุกสันนี้ทันสมัยมาก เหลืออย่างเดียวว่าประชาชนเข้าใจหรือไม่





หมายเหตุ ติดตามการเก็บความโดยละเอียดได้เร็วๆ นี้









http://www.prachatai.com/05web/th/home/16027
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 22/3/2552

ประชาธรรม: ระวังกฎหมายลูก ม.190 ฉบับ ‘หมูจะหาม อย่าเอาคานเข้ามาสอด’

ประชาธรรม: ระวังกฎหมายลูก ม.190 ฉบับ ‘หมูจะหาม อย่าเอาคานเข้ามาสอด’



ธีรมล บัวงาม

สำนักข่าวประชาธรรม




มาตรา 190 ควรถูกเรียกว่าเป็นของแสลงทิ่มแทงอกของนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง นักลงทุน ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนด ชี้ชะตา การเจรจาทางการค้า หรือการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เพราะแม้เจตนารมณ์ของมาตรา 190 จะต้องการให้เกิดความโปร่งใส การตรวจสอบ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศนั้น แต่สำหรับ “กลุ่มอิทธิพลที่ทรงอำนาจทางสังคมและเศรษฐกิจ” ข้างต้นกลับมองว่าเนื้อหามาตรา 190 คืออุปสรรค เป็นเงื่อนไข “ไส้ติ่ง” ที่ควรจะตัดทิ้งเพื่อความสะดวกคล่องตัวในการเจรจา เหมือนอย่างที่เป็นมาเช่นอดีต


เริ่มจากการเปิดฉากสกัดกั้นกระบวนบรรจุเนื้อหาสาระของมาตรา 190 ในระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญ มาจนถึงความพยายามในการผลักดันร่างกฎหมายลูกอย่างร่าง พ.ร.บ.การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังมีนักการเมือง นักธุรกิจ ภาคประชาสังคมจำนวนไม่มากนัก ที่สังเกตพบความไม่ชอบมาพากล และความพยายามบิดพลิ้วเจตนารมณ์ของความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนไป





เบื้องลึกเร่งดัน พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาล


จักรชัย โฉมทองดี นักวิจัยจากโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) อธิบายให้เห็นว่าหลังจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารประเทศก็มีดัชนีชี้วัดทางนโยบาย หรือทิศทางที่น่าเป็นห่วง อาทิ การเร่งเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการซ่อนรูปเพราะไม่อยู่ในถ้อยแถลงต่อรัฐสภา โดยการเร่งเปิดเสรีนี้ เห็นได้จากการเจรจาเอฟทีเอหลายฉบับที่ไม่มีการทบทวน แต่เร่งเดินหน้า จนหลายกรณีอาจจะมีการทำผิดหรือไม่ครบขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ


อย่างกรณีการเจรจาการค้าเสรีที่ไม่เป็นข่าวมากนัก แต่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น กับสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมเป็นการเจรจาภายใต้กรอบอาเซียน-ยุโรป ที่มีความล่าช้า สหภาพยุโรปจึงพยายามเจรจาแบบแยกสลายกลุ่มอาเซียน ที่มีการรวมตัวกันและใช้อำนาจต่อรองกับสหภาพยุโรปมาโดยตลอด ด้วยการพยายามล็อบบี้ ซึ่งไทยก็เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่สหภาพยุโรปอยากให้แยกออกมาเจรจาในระดับทวิภาคี (การเจรจา 2 ฝ่าย)


นอกจากนี้ยังเห็นจากการผ่านมติ ครม.เรื่องร่างพ.ร.บ.การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ประกอบมาตรา 190 ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดขั้นตอนวิธีการเจรจา ทำหนังสือสัญญาของรัฐบาลยังมีความเร่งรีบอย่างเห็นได้ชัด


จักรชัย ให้รายละเอียดว่า เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ได้นำเอาร่างของรัฐบาลที่แล้วมาผ่านความเห็นชอบโดยไม่ได้มีการแก้ไข ซึ่งเมื่อศึกษาดู ชัดเจนว่าร่างมีปัญหาในหลายจุด ทั้งนี้ ในสมัยรัฐบาลสมชาย วงศสวัสดิ์ ได้มีมีมติครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.กำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา เรียกสั้นๆ ว่าเป็นกฎหมายประกอบมาตรา 190 ซึ่งเป็นมาตราที่มีความละเอียดอ่อนและสำคัญอย่างยิ่ง


“ครั้งนั้นเมื่อส่งไปยังรัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติเห็นว่าร่างดังกล่าวมีปัญหาในหลายจุด จึงส่งกลับมาให้รัฐบาล ประกอบกับจังหวะที่รัฐบาลได้เปลี่ยนขั้วมาเป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ กรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้รับร่างกลับมาพิจารณา แต่สิ่งที่น่าห่วงคือแทนที่จะมีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้มีความรอบคอบรัดกุม แต่ปรากฏว่าได้มีการผลักดันโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้กลับเข้าสู่ ครม.อย่างเร่งรีบและชี้แจงว่า ครม.นั้นสมควรที่จะผ่านร่างกฎหมายนี้เข้าสู่สภาโดยเร็วเนื่องจากรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในเรื่องหนังสือสัญญาหลายฉบับ เท่าที่ทราบเข้าใจว่ารัฐบาลปัจจุบันก็มีความเป็นห่วงเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเร่งและกลัวว่าหากไม่มีกฎหมายฉบับนี้จะไปเจรจาหรือทำเอฟทีเอจะเกิดความติดขัด จึงได้มีมติเห็นชอบนำร่างเข้าสู่สภาในที่สุด”





ดัน พ.ร.บ.กรุยทางเปิดเสรีการค้า?


จักรชัย กล่าวว่า เมื่อดูในตัวร่างพ.ร.บ.ของรัฐบาล จะพบจุดที่เป็นปัญหาใหญ่อยู่ 3 ประเด็น ประการแรกคือ มาตรา 190 และมาตรา 303 (3) กำหนดให้มีการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมถึงต้องมีการศึกษาวิจัยด้วยความเป็นอิสระและเป็นกลาง ปรากฏว่าร่างที่กำลังจะถึงการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติในขณะนี้ กำหนดขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบการดำเนินการเจรจาเป็นผู้ดำเนินการเอง และสามารถทำเพียงการสื่อสารผ่านระบบสารสนเทศของหน่วยงานนั้นๆ พูดตรงๆ คือ แค่หน่วยงานเจรจาเปิดเว็บไซต์ มีช่องทางให้ประชาชนโพสต์ความคิดเห็นบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือส่งอีเมลเข้าไปก็ถือว่าเพียงพอตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว ซึ่งหลายฝ่ายมีความห่วงใยอย่างยิ่งยวด ว่าการดำเนินการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาอย่างแน่นอน และไม่สามารถแก้ไขปัญหาเดิมๆ ที่ผ่านมาได้ และจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่มากขึ้น เพราะสิ่งที่รัฐธรรมนูญพูดถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง คงไม่ได้หมายความว่าเป็นการสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแน่นอน แต่ต้องเป็นการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเป็นระยะหนึ่ง เพื่อให้มีการศึกษา มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น


ประการที่ 2 หน่วยงานที่จัดรับฟังความคิดเห็นและศึกษาวิจัย แทนที่จะเป็นหน่วยงานกลางที่มีความเป็นอิสระ ปรากฏว่าให้ความรับผิดชอบนั้นอยู่ภายใต้หน่วยงานที่รับผิดชอบการเจรจา ซึ่งมันน่าห่วงว่าจะมีความขัดแย้งกับเจตนารมณ์ และข้อความของรัฐธรรมนูญ


ประการที่ 3 เนื่องจาก รธน. มาตรา 190ในวรรค 2 มีข้อกำหนดเพิ่มเติมจาก รธน.ฉบับก่อนๆ ที่ผ่านมาว่า หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมอย่างกว้างขวางจะต้องนำเข้าสู่สภาเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มักจะมีการกล่าวอ้างว่าการกำหนดอย่างนี้อาจจะเป็นปัญหาและสร้างความสับสน เพราะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าหนังสือสัญญาใดมีผลกระทบอย่างกว้างขวางหรือไม่ หรือหนังสือจะส่งผลผูกพันอย่างไร จุดนี้จะเอาอะไรเป็นเกณฑ์ชี้วัด ซึ่งจริงๆ ทางออกของรัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้ คือ เปิดให้กฎหมายประกอบฉบับนี้เองจะเป็นตัวช่วยในการกำหนดรายละเอียดว่าหนังสือสัญญาใดจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น การเปิดเสรีทางการค้าหรือการลงทุน หากมีความผูกพันมากกว่าที่องค์การการค้าโลกกำหนด อาจถือว่ามีนัยสำคัญต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นต้น แต่ปรากฏว่าในร่างของรัฐบาลไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ แต่ให้อำนาจนี้เป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเอาหนังสือสัญญาใดเข้าสภาหรือไม่ โดยอ้างอิงจากข้อเสนอแนะจากกระทรวงการต่างประเทศ


ทั้งนี้ ร่างกฎหมายของรัฐบาลก็เปิดช่องเพียงเล็กน้อยว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีใช้ดุลพินิจว่าจะเอาเข้าสภาหรือไม่ ก็ให้มีกลไกที่ส่งความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีให้สภาพิจารณาในเวลา 15 วัน ถ้าสภาไม่ท้วงติงภายใน 15 วันก็มีนัยว่าให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการได้ทันที จุดนี้หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า ระยะเวลา 15 วันค่อนข้างสั้น หรือหากจะให้รัฐสภาพิจารณาอยู่แล้วทำไมไม่ส่งให้ทำอย่างเป็นทางการภายใต้ พ.ร.บ.ที่กำหนด และถ้าสภาไม่ขัดแย้งอะไรแต่ปรากฏว่ามีสมาชิกสภากลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยแล้วไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิที่ทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญ 190 วรรคสุดท้าย (เข้าชื่อ 1 ใน 10 เข้าชื่อ) ก็จะมีปัญหาไม่สิ้นสุด


“ยกตัวอย่างกรณีเขาพระวิหารที่จะมีคนไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องศาลปกครอง การกำหนดเช่นนี้แทนที่จะทำให้การเจรจาของรัฐบาลมีความคล่องตัว มีความรวดเร็วยิ่งขึ้นตามที่รัฐบาลมุ่งหวัง แต่ขอฟันธงว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้รัฐบาลมีความสับสนและมีปัญหาในการเจรจามากขึ้นอย่างแน่นอน” จักรชัย กล่าวย้ำ


ด้านบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการโครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร ตั้งข้อสังเกตว่า การเร่งรีบให้สภามีการพิจารณากฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 น่าจะมีเบื้องหลัง เพราะทราบมาว่ารัฐมนตรีต่างประเทศและตัวนายกรัฐมนตรีเองก็ไม่สบายใจที่ต้องเร่ง เข้าใจว่าหนึ่ง น่าจะได้รับการนำเสนอข้อมูลเพียงส่วนเดียวจากข้าราชการกระทรวงต่างประเทศว่าต้องเร่ง ประกอบกับความไม่พอใจของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่ไม่คุ้นชินกับการเปิดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมามีส่วนร่วม ดังนั้น ร่างที่นำเสนอเข้าสภาของรัฐบาล จึงเป็นการดึงอำนาจกลับมาที่กระทรวงต่างประเทศ และประการสุดท้าย กระทรวงต่างประเทศอาจจะกลัวว่า หากไม่เร่ง ร่างกฎหมายฉบับเดียวกันที่ถูกยกร่างขึ้นมาโดยภาคประชาชนจะเข้าสู่สภาทัน จึงพยายามกันไว้ก่อน


“อย่างความตกลงอาเซียนที่ไปลงนามกันที่หัวหิน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ผ่านมา จำเป็นต้องนำเข้าผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 4 ซึ่งระบุชัดเจนว่า ตอนที่ไปลงนามยังไม่เกิดผลผูกพัน การผูกพันจะต้องให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีใครได้เห็นหนังสือสัญญาดังกล่าว” ผู้อำนวยการโครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร ทิ้งท้าย



อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนว่าชะตากรรมของกฎหมายฉบับนี้จะอยู่ในมือของตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในรัฐสภา แต่ความเคลื่อนไหวนอกสภาที่นำโดยกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) ที่พยายามรวบรวมรายชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอร่าง กม.ฉบับภาคประชาชน ก็น่าจับตามองไม่น้อย เพราะหากรวบรวมรายชื่อทั้งหมดได้ทันภายใน 2 – 3 สัปดาห์ข้างหน้าตามที่สมาชิกกลุ่มประกาศไว้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 5,953 รายชื่อ (อ้างอิงจาก www.ftawatch.org 11 มี.ค.2552) เราคงจะได้เห็นวิวาทะทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกครั้ง รวมถึงเป็นหน้าฉากที่เปิดโอกาสให้เห็นว่าเจตนาที่ซ่อนจริงของ “ผู้มีอำนาจทางสังคม” คืออะไรกันแน่









หมายเหตุจากประชาไท
ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มี.ค. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทซ์) ได้เดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อเข้ายื่นรายชื่อประชาชนจำนวน 10,120 คน เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ พ.ศ. ... (ฉบับประชาชน) ต่อประธานรัฐสภา โดยมีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 5 ที่ บัญญัติให้ต้องมี พ.ร.บ.ขั้นตอน และวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา ซึ่งขณะนี้ร่างดังกล่าวได้อยู่ในระเบียบวาระแล้วส่วนจะชะลอออกไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุม โดยกฎหมายที่ประชาชนเสนอนั้นจะใช้เวลาตรวจสอบความถูกต้องประมาณ 3-4 เดือน ต้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบความถูกต้องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (ยื่นชื่อ ปชช.กว่าหมื่นจี้สภาฯ ชะลอกม.หนังสือสัญญาระหว่าง ปท.)







http://www.prachatai.com/05web/th/home/16035


--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 23/3/2552

เวทีอภิปรายกฏหมายหมิ่นฯ: สิทธิมนุษยชนกับความกลัวในสังคมไทย

เวทีอภิปรายกฏหมายหมิ่นฯ: สิทธิมนุษยชนกับความกลัวในสังคมไทย



22 มี.ค.52 โครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มธ. มีผู้สนใจร่วมฟังประมาณ 100 คน



การอภิปรายในช่วงบ่าย เป็นเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับความกลัวในสังคมไทย” ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาสิทธิมนุษยชน ม.มหิดล





“สังคมใดก็ตามที่ประกาศว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยแต่อยู่ใต้ความกลัวและความเงียบงัน ไม่อาจเป็นประชาธิปไตยไปได้ เมื่อสิทธิคือหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย การที่รัฐไม่อาจรับรองหรือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และหลายกรณีได้กลายเป็นผู้จำกัดหรือละเมิดเสียเอง ตรงนี้จะเรียกว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยไม่ได้”



ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาฯ ม.มหิดล กล่าวถึงเสรีภาพซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญอันหนึ่งของหลักมนุษยชนว่า ต้องมีเสรีภาพจากความกลัว เพราะถ้าสังคมอยู่ในภาวะแห่งความกลัวจะทำให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ถูกจำกัดหรือละเมิดได้



ลักษณะของสังคมแห่งความกลัวเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950-1980 ประเทศไทยและหลายๆ ประเทศภายใต้การนำของอเมริกา อยู่ภายใต้ความกลัวคอมมิวนิสต์ ทั้งที่ไม่ได้รู้ว่าคอมมิวนิสต์เป็นอย่างไร คนไทยถูกทำให้กลัวด้วยการให้เหตุผลว่าคอมมิวนิสต์เป็นภัยต่อความมั่นคง เป็นภัยต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความกลัวทำให้รู้สึกว่าถูกคุกคาม ทั้งที่อาจเป็นการคุกคามที่อาจมีอยู่จริงหรืออาจเป็นเพียงการคุกคามในความคิด แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่ถูกมองว่ามีส่วนร่วมในกระบวนการคุกคามนั้น คุกคามการดำรงอยู่ของสถาบันอันใดอันหนึ่ง



“เปลวไฟแห่งความกลัว พอมันถูกจุดขึ้นเนื่องมาจากข้อกล่าวหาหรืออะไรก็แล้วแต่ ในที่สุดแล้วมันเหมือนจะควบคุมไม่ได้ เพราะนอกจากจะถูกทำให้เป็นวาระแห่งชาติแล้ว มันถูกปั่นไปไกลถึงขนาดที่ว่ามันเป็นเรื่องที่จะยกขึ้นมาถกเถียงไม่ได้ เหมือนกับว่าสังคมเราอยู่ในภาวะสงคราม ดูไปก็ไม่ต่างจากสมัยที่เรากลัวคอมมิวนิสต์สักเท่าไร ซึ่งทุกคนมีสิทธิจะถูกเรียก ถูกมองว่าเป็นศัตรู แต่เป็นศัตรูของใครก็แล้วแต่ ในที่นี้คือเป็นศัตรูของสถาบัน อย่างที่เราเคยได้ยินว่ามีกลุ่มพยายามล้มล้างสถาบัน” ดร.ศรีประภากล่าว



ดร.ศรีประภากล่าวต่อมาถึงลักษณะของสังคมแห่งความกลัวว่า เป็นสังคมที่ไม่เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถในการแยกแยะของประชาชน ไม่คิดว่าประชาชนจะคิดทำเรื่องดีๆ ให้ประเทศได้ ในสังคมแบบนี้การเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารได้น้อย เพราะรัฐตรวจสอบควบคุมอย่างเกินเลยและได้เข้าไปควบคุมความคิดเห็นประชาชนด้วย มีการตรวจสอบระดับความจงรักภักดีของสถาบัน ควบคุมคนที่มองว่าจะต่อต้านสถานบันใดหนึ่งและจับไปขังคุก อีกทั้งรัฐยังพึ่งพากฎหมายที่ลงโทษรุนแรงเข้มงวด เช่น ความพยายามเพิ่มโทษมาตรา 112 หรือในการออกกฎหมายหลายๆ ฉบับ นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า การรักษาหรือการคงอยู่ของสถาบันใดสถาบันหนึ่งเป็นคุณค่าสำคัญที่สุดในสังคม



ผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดและเสรีภาพทางวิชาการที่ถูกจำกัดหรือละเมิดอย่างชัดเจน ยังกระทบสิทธิในการทำงาน สิทธิในชีวิตส่วนตัว และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ในความเป็นจริงที่มีความพยายามควบคุมเสรีภาพในการพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างปิดเผยเกิดขึ้น นอกจากแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อประชาชนในการตัดสินใจชั่งน้ำหนักผิดถูก ยังสะท้อนความไม่เชื่อมั่นในความมั่นคงของรัฐหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งด้วย นอกจากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ การพูดคุยบนพื้นฐานที่ไม่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ทำให้ในสังคมแห่งความกลัวการซุบซิบนินทากลายเป็นสถาบัน กลายเป็นวัฒนธรรม เมื่อทุกคนทำ ซึ่งในที่สุดมันไม่ได้ส่งผลดีให้ใครเลย



ดร.ศรีประภากล่าวต่อมาถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรองในกฎหมายว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและก่อนหน้านี้ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองนอกจากนี้ในหมวด 3 มาตรา 26-69 ก็ได้ระบุในเรื่องดังกล่าวไว้ ซึ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่าประเทศไทยมีมาตรฐานบางอย่างในเรื่องนี้ที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่แม้ว่าจะถูกล้มได้ง่ายก็ตาม



“เวลาที่องค์กรของรัฐปฏิบัติการที่ไม่สอดคล้องกับที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ น่าจะต้องถูกตั้งคำถามโดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวว่ากำลังหมิ่นศาลหรือหมิ่นใครก็แล้วแต่ เพราะว่าอย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญเขามีหน้าที่ภาระผูกพันที่จะต้องดูแลให้เป็นไปตามนั้น” ดร.ศรีประภากล่าว พร้อมย้ำว่าองค์กรของรัฐทั้งหลายที่ทำหน้าที่ควบคุมหรือใช้กฎหมาย ต้องกลับไปพิจารณาว่าการกระทำที่ผ่านมาเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่




ทั้งนี้ เมื่อดูบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะพบว่าสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง





มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การใช้อำนาจ



มาตรา 27 สิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรอง ผูกพันองค์กรของรัฐทั้งหมด รวมทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นๆ



มาตรา 29 การจำกัด สิทธิ และ เสรีภาพ ของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือน สาระสำคัญ แห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น มิได้ …



มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน …







“สังคมใดก็ตามที่ประกาศว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยแต่อยู่ใต้ความกลัว และความเงียบงัน ไม่อาจเป็นประชาธิปไตยไปได้ เมื่อสิทธิคือหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย การที่รัฐไม่อาจรับรองหรือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และหลายกรณีได้กลายเป็นผู้จำกัดหรือละเมิดเสียเอง ตรงนี้จะเรียกว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยไม่ได้”



“สังคมใดก็ตามที่ความเห็นต่างไม่ได้รับการยอมรับ หรือไปถึงขั้นกลายเป็นอาชญากรรม เป็นสังคมที่ในที่สุดทำให้ประชาชนต้องคิดเหมือน หรือไม่ต้องคิดเลย สังคมแบบนี้น่าจะเป็นสังคมที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เพราะความแตกต่างโดยพื้นฐานคือความร่ำรวยของสังคม ซึ่งความร่ำรวยนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของประชาธิปไตย ไม่ใช่ความขัดแย่ง”



“ถ้าความจงรักภักดีที่เกิดจากการบังคับ ไม่อาจเป็นการจงรักภักดีที่ยั่งยืนได้ ดังนั้น ถ้าหากถึงขนาดต้องมีการพิสูจน์ความจงรักภักดีก็สะท้อนว่ามันอาจจะไม่ได้มีอยู่จริง ซึ่งคิดว่ามันเป็นสิ่งที่จะต้องทบทวน” ดร.ศรีประภากล่าว ถึงความพยายามตรวจสอบความจงรักภักดีที่มีอยู่ในขณะนี้



ดร.ศรีประภากล่าวยกตัวคำพูดของประธานาธิบดี รูสเวลล์ ของอเมริกา ในปี 1933 ที่ว่า “สิ่งเดียวที่เราต้องกลัวอย่างยิ่งคือความกลัวนั่นเอง” เพราะความกลัวแตกหน่อขยายออกไปได้ และเมื่อมันขยายออกไปจนไม่มีขอบเขต สังคมก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความเงียบ แม้แต่สื่อที่เป็นผู้ทำลายความเงียบก็จะเงียบงัน สังคมมีแต่ความอึดอัด เก็บกด และในที่สุดจะนำสู่การปะทุได้



นอกจากนั้น ดร.ศรีประภาได้กล่าวยกคำพูดในการเสวนาเมื่อวานนี้ (21 มี.ค.52) ของ ศ.ธงทอง จันทรางศุ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยให้สัมภาษณ์กับ บีบีซี ที่ว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” ซึ่งในสังคมไทยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นคือการเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่รัฐและสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งเดียวกัน สู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่รัฐและสถาบันแยกจากกัน



แต่ในสังคมไทยโดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจใช้กฎหมายยังไม่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง และยังไม่ตัดขาดกับอดีตก่อนการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 จึงยังยึดโยงกับระบอบเก่า



“ระบบการปกครองไทย กฎหมายไทย รวมทั้งมาตรา 112 จึงมีการใช้โดยทำให้เห็นว่ารากเหง้าของระบบเก่ายังไม่ถูกถอนไป อย่างน้อยที่สุดในความคิดของผู้ใช้กฎหมายและผู้มีอำนาจในสังคม” ดร.ศรีประภากล่าว



ส่วนวิธีการใช้มาตรา 112 กับกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงทั้งหลาย ที่ให้อำนาจกับรัฐไว้มากมายและดูเหมือนจะเป็นการให้อำนาจโดยไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการใช้มาตรา 112 ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง กลุ่ม หรือผลประโยชน์ทางการเมือง หลายกรณีไปละเมิดสิทธิของผู้กล่าวหาโดยที่แทบไม่มีสิทธิต่อสู้ ทั้งที่มีการยืนยันแล้วว่าไม่มีกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมาตรา 112 เป็นมาตราในกฎหมายอาญา



“เวลาเราพูดเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ เรากำลังพูดในสิ่งที่มันไม่มีอยู่ แต่สิ่งที่มันมีอยู่จริงคือมาตรา 112 ซึ่งมีการใช้ราวกับว่ามันเป็นกฎหมายความมั่นคง” ดร.ศรีประภากล่าวทิ้งท้าย





“ทำไมถึงเงียบ เงียบเพราะกลัว เงียบเพราะถูกทำให้กลัว เงียบเพราะไม่กล้า

เงียบเพราะถูกทำให้ไม่กล้า เงียบเพราะไม่มีสิทธิ

หรือเงียบเพราะไม่รู้สิทธิ เงียบเพราะกลัวสูญเสียอิสรภาพ ต้องเข้าไปอยู่ในคุกในตาราง

แต่เพราะต้องเงียบ เสรีภาพคุณก็ขาดไปเช่นกัน”



ประวิตร โรจนพฤกษ์ สื่อมวลชน กล่าวถึงความหลากหลายของความเงียบกับกฎหมายหมิ่นฯ โดยแบ่งออกเป็น 1.เงียบเพราะกลัวหรือถูกทำให้กลัว โดยยกตัวอย่างถึงการตัดสินใจไม่รณรงค์ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ และกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากกลัวว่าจะถูกโยงเข้ากับขบวนการล้มเจ้า และขบวนการใน 3 จังหวัดภาคใต้ และกรณีนักศึกษาออกซ์ฟอร์ด ซึ่งขณะนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไปพูดที่ออกซ์ฟอร์ด นักศึกษาที่ร่วมลงรายชื่อยื่นจดหมายเรียกร้องในลักษณะเดียวกันให้แก่นายกฯ ถูกล็อบบี้ไม่ให้ประท้วงหรือยื่นจดหมาย โดยแรงกดดันจากทางสถานทูตและเพื่อนคนไทยร่วมสถาบัน จนเกิดเป็นคำถามที่ว่าทำไมต้องกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น



วัฒนธรรมความกลัวและความเงียบมากับความคลุมเครือ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำหรือพูดจะปลอดภัยหรือเปล่า เหมือนเล่นไพ่ 9 เก ที่ต้องทายเอาว่าฝ่ายตรงข้ามถือไพ่อะไรและจะทำอย่างไร อีกแง่หนึ่งผู้ที่จะพูดหรือจะทำจะต้องคิดว่าจะเกิดหรือไม่เกิดปัญหาหรือไม่ และความคลุมเครือนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะราคาความเสี่ยงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากกรณีที่ถูกจับ ถูกปราบ ทำให้ต้องป้องกันไว้ก่อน จนแม้กระทั่งสื่อที่ปวารณาตนว่าจะสนับสนุนการสร้างสังคมประชาธิปไตยอย่างประชาไทก็ยังต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเซ็นเซอร์และทำให้เงียบของรัฐว่าด้วยกฎหมายหมิ่นฯ



นอกจากนี้ กรณีนักวิชาการต่างประเทศที่มีชื่อเสียงกว่า 50 ท่าน อาทิ นอม ชอมสกี้ และเอมมานูเอล วาเลนสไตล์ที่ร่วมลงชื่อยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ ก็ยังถูกกล่าวหาจากคอลัมนิสต์ไทยอย่างลอยๆ ระบุว่านักวิชาการเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการล้มเจ้าโดยไม่มีหลักฐาน อีกทั้งการเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อกระแสหลักจำนวนมากในเรื่องนี้ โดยสื่อกระแสหลักไทยส่วนใหญ่เลือกจะไม่รายงานข่าว ถึงแม้เรื่องปัญหากฎหมายหมิ่นฯ จะเป็นประเด็นที่สื่อต่างประเทศพูดถึงอย่างกว้างขวาง แต่สื่อกระแสหลักไทยกลับเงียบเพราะทั้งกลัวและเห็นด้วยกับความเงียบ



2.เงียบ เพราะถูกทำให้เงียบ ยกตัวอย่าง นิตยสารฟ้าเดียวกัน ซึ่งร้านหนังสืออย่างดอกหญ้า นายอินทร์ เลิกรับจำหน่ายหนังสือดังกล่าว กรณีโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ต้องไว้หนวดไว้เคราใส่หมวกเบสบอล เพื่อหลบหนี เพราะกลัวถูกติดตามและทำร้าย หลังจากสื่ออย่างผู้จัดการกล่าวหาว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการล้มเจ้าที่มีนายทักษิณ ชินวัตรอยู่เบื้องหลัง



กรณีการจับกุมผู้โพสต์ข้อความตามเว็บ อย่างเช่น นายสุวิชา ท่าค้อ และกรณีที่นิตยสาร “ดิ อีโคโนมิสต์” ไม่ได้ถูกจำหน่ายในประเทศไทย เพราะผู้จัดส่งในเมืองไทยปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาพาดพิงกับราชวงศ์ไทย และเกรงว่าจะเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน



3.เงียบ เพราะต้องการให้คนอื่นเงียบ และไม่ยอมให้มีการถกเถียงอย่างแท้จริง โดยกล่าวขยายความว่า สื่อกระแสหลักจำนวนหนึ่งแม้อยากโต้เถียงกับสื่อตะวันตก แต่กลับดำเนินการโดยลงความเห็นด้านเดียวไม่มีพื้นที่ให้กับความเห็นต่างอย่างจริงจัง ยกตัวอย่าง บทความเดวิด สเตรคฟัส (นักวิชาการอิสระจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินฯ) ที่พยายามส่งไปเผยแพร่ในสื่อกระแสหลักแต่ไม่ถูกตอบรับ ต้องนำไปลงในบล็อกของ http://bangkokpundit.blogspot.com



“ผู้มีอำนาจในวงการสื่อไทยจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อแบบนี้ มักชอบยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว อย่างเช่น เวลานายแฮร์รี่ นิโคไลน์ได้รับพระราชอภัยโทษ หนังสือพิมพ์เนชั่นและบางกอกโพสต์เขียนบทความชมพระเมตตา แต่ไม่ยอมพูดว่าถึงอย่างไรนายนิโคไลน์ก็ติดคุกไปแล้วกว่า 5 เดือน และยังไม่รวมถึงคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ยังอยู่ในคุก และอาจจะต้องเข้าคุก” ประวิตรกล่าว



4.เงียบ เพราะถูกปลูกฝังตอกย้ำโดยข้อความและข้อมูลที่ผลิตซ้ำๆ และ 5.พวกไม่ยอมเงียบ ยกตัวอย่าง อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ที่แทบไม่มีตัวอย่างให้เห็น เพราะพูดแล้วอาจต้องติดคุกหรือลี้ภัย ส่วน ส.ศิวรักษ์ ซึ่งเคยโดนคดีมาแล้ว 3-4 ครั้งและปัจจุบันก็มีคดีค้างอยู่อีก อ.สุลักษณ์ ต้องย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างแท้จริง ชวนคิดว่าหากพูดว่าไม่จงรักภักดีแล้วผลจะเป็นอย่างไร



ในกรณีการ “ห้าม” ประวิตรกล่าวถึงป้าย “ห้ามปัสสาวะ ที่นี่” ซึ่งถึงแม้จะห้าม แต่ส้วมสาธารณะใน กทม. มีไม่พอ และธรรมชาติของมนุษย์ก็ต้องขับถ่าย บริเวณป้ายนั้นจึงยังคงเหม็นปัสสาวะอยู่ดี เปรียบได้กับมนุษย์ที่โดยธรรมชาติเป็นสัตว์ที่คิดวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่างๆ นานา หากทำในที่สาธารณะผ่านสื่อกระแสหลักไม่ได้ หากพูดในที่สาธารณะอย่างที่สนามหลวงไม่ได้ พวกเขาก็ไประบายลงทางอินเทอร์เน็ต จนเป็นคดีในปัจจุบัน



“ทำไมถึงเงียบ เงียบเพราะกลัว เงียบเพราะถูกทำให้กลัว เงียบเพราะไม่กล้า เงียบเพราะถูกทำให้ไม่กล้า เงียบเพราะไม่มีสิทธิ หรือเงียบเพราะไม่รู้สิทธิ เงียบเพราะกลัวสูญเสียอิสรภาพ ต้องเข้าไปอยู่ในคุกในตาราง แต่เพราะต้องเงียบ เสรีภาพคุณก็ขาดไปเช่นกัน” เขากล่าว พร้อมเสริมว่า สังคมที่ประชาชนไม่มีสิทธิแสดงความเห็นอย่างแท้จริง โดยปราศจากความกลัว ไม่สามารถเรียกได้ว่ามีระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง



“หากเรายอมรับยอมให้วัฒนธรรมความกลัวและความเงียบเป็นเรื่องปกติเมื่อใด และชาชินกับมัน ไม่ตั้งคำถามต่อสภาพที่เป็นอยู่ เราก็ไม่มีทางเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์และมีศักดิ์ศรีได้ ทางออกทางเดียวคือ ต้องสู้และสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับและเชิดชูเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก เพราะมันคือเสาหลักอันสำคัญของสังคมประชาธิปไตย”



อย่างไรก็ตาม ประวิตรได้ยกตัวอย่างการกระทำของตัวเองในการเตือนด้วยความกลัวเพื่อให้คนอื่นระวังที่จะพูดหรือแสดงออก และย้ำว่า “เราแต่ละคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกลไกแห่งความเงียบได้โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตาม”





“เรากำลังตกอยู่ในความหวาดกลัวจนทำให้ไม่กล้าจะแสดงความเห็นโดยสุจริตของเรา

นี่เป็นประเด็นของสังคมไทยที่เราไม่สามารถก้าวพ้นความหวาดกลัวไปได้”




ศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ความจริงไม่อยากเรียกตัวเองว่านักสิทธิมนุษยชน แต่อยากเรียกว่านักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่า เพราะตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยาเป็นต้นมา ไม่มีนักสิทธิมนุษยชนในประเทศ พอเสียงปืนดังทุกอย่างก็เงียบ



เวลาพูดถึงสิทธิเสรีภาพ เรื่องความกลัวเป็นประเด็นหนึ่งที่ปรากฏในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากล ในคำปรารภเขียนว่า โดยที่การไม่นำพาและการเหยียดหยามต่อสิทธิมนุษยชน ยังผลให้มีการกระทำอันป่าเถื่อน ซึ่งเป็นการละเมิดมนุษยชนธรรมของมนุษยชาติอย่างร้ายแรง และได้มีการประกาศว่าปณิธานสูงสุดของสามัญชนได้แก่ ความต้องการให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพในการพูด ในความเชื่อถือ และพ้นจากความหวาดกลัวและความขาดแคลน นี่เป็นหลักใหญ่ของหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ต้องไปตั้งคำถามว่าเป็นตะวันตกหรือตะวันออกคิดขึ้นมา เพราะปัญหาอยู่ที่อิสรภาพควรเป็นพื้นฐานของมนุษย์หรือไม่



เขากล่าวว่า นอกจากนี้ในปฏิญญานี้ข้อ 19 ก็รับรองไว้ว่าเราทุกคนมีสิทธิในการแสดงความเห็นและการแสดงออก โดยมีองค์ประกอบคือ สิทธิในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รับข้อมูลข่าวสาร และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสาร ซึ่งก็มีข้อจำกัดด้วยว่าต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นตามสมควรด้วย ไม่ใช่พูดอะไรก็ได้แล้วไปหมิ่นประมาท ซึ่งก็ต้องดูในรายละเอียดว่าอย่างไรคือหมิ่นประมาท กรณีของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ควรอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกัน แต่เนื่องจากกฎหมายนี้อยู่ในหมวดความมั่นคง ทำให้มีใครก็ได้ไปแจ้งความ



เขากล่าวว่า เคยได้ยินเรื่องหนึ่งที่ทนายความอาวุโสท่านหนึ่งเล่าว่า มีชาวบ้านภาคใต้กำลังจะติดรูปพระบรมฉายาลักษณ์ ใช้ปากคาบน็อตไว้ มือก็ไม่ว่างถือค้อน และวางรูปไว้ข้างล่าง เพื่อนบ้านผ่านมาถามว่าทำอะไร เขาก็ใช้เท้าชี้ไปบอกติดไอ้นี่ ปรากฏว่าเพื่อนบ้านไปแจ้งความและเขาถูกจับ หรือกรณีชาวจีนโพ้นทะเลแก่ๆ คนหนึ่งที่อุทัยธานี เข้าไปในศาลแล้วเจอรูปที่ติดอยู่บนบัลลังก์ ก็พูดขึ้นมาว่าในศาลไม่ควรมีรูปเคารพอื่นก็ถูกหาว่าละเมิด ตอนนี้แกก็อยู่ในคุก



“เรากำลังตกอยู่ในความหวาดกลัวจนทำให้ไม่กล้าจะแสดงความเห็นโดยสุจริตของเรา นี่เป็นประเด็นของสังคมไทยที่เราไม่สามารถก้าวพ้นความหวาดกลัวไปได้” ศราวุฒิกล่าวและว่า ถ้าเป็นกฎหมายหมิ่นประมาทโดยทั่วไปมีเหตุยกเว้นโทษได้ แต่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีการยกเว้นโทษเพราะอ้างกันว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติว่าล่วงละเมิดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม โทษที่คนเล็กคนน้อยเผชิญอยู่หลายกรณีก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้พาดพิงชัดเจน”



“ผมไม่เห็นด้วยว่าจะต้องไปยกเลิก แต่เราย้ายหมวดมาเป็นเรื่องหมิ่นประมาทโดยทั่วไปได้ไหม และกำหนดให้มีองค์กรที่จะเป็นผู้เสียหายแจ้งความ ไม่เช่นนั้นก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดเวลา” ศราวุฒิกล่าว





“เหล่านี้เป็นประเด็นเรื่องความไม่รู้ เป็นเรื่องอวิชชาของคนที่มองไม่ออกว่า เรื่องของสิทธิจริงๆ แล้วไม่มีสิทธิใดที่ absolute จริง แต่ว่าสิทธิต่างๆ ต้องมีการ provide มีการ balance แม้กระทั่งในสถานการณ์ที่มีวิกฤติฉุกเฉิน ความมั่นคง อะไรก็แล้วแต่ คุณจะบอกว่าฉุกเฉินจนถึงขนาดที่ปิดปากคนไม่ให้พูดทุกอย่าง มันก็ไม่ได้”



รศ.จรัญ โฆษณานันท์ คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวว่า มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่น่าสนใจเพราะมีความหลากหลายในตัวเรียกว่าเป็นพหุลักษณ์ คืออาจแสดงออกเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ บังคับ ข่มขู่ ที่ทำให้เกิดความกลัว แต่ก็มีความเป็นเหตุและผลในตัวเอง เรื่องสิทธิมนุษยชนของกษัตริย์ในฐานะบุคคล ซึ่งมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง แต่ทั้งนี้ ยังขาดการยอมรับในสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น สิทธิแสดงความคิด สิทธิในความเชื่อมโนธรรม หรือสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งควรต้องมีการใช้สิทธิอื่นที่เชื่อมโยงและให้มีความสมดุล



มาตรา 112 เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมหรือจิตวิญญาณความเป็นไทย แต่น่าเสียดายที่ถูกผูกขาดคำนิยามโดยชนชั้นผู้มีอำนาจ ซึ่งในแง่ของความเป็นจริงกฎหมายนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำที่จะควบคุมอำนาจ ครอบงำความเชื่อต่างๆ แง่นี้จึงมีธรรมชาติในทางการเมืองสูง คือการบังคับใช้เชื่อมโยงกับการเมือง และสุดท้ายในความเป็นพหุลักษณ์สะท้อนสิ่งที่เป็นอนิจจัง ความไร้ระเบียบของกฎหมายที่ไม่แน่นอน รวนเร แปรปรวนในการใช้หรือการตีความ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดสิ่งที่คล้ายกับตาบอดคลำช้างของทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้าน



รศ.จรัญกล่าวต่อว่า ยังมีคนที่อยู่ในความเงียบและความกลัว โดยแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1.เงียบเพราะเห็นดีเห็นชอบกับกฎหมาย ไม่เห็นด้วยกับกรยกเลิก แก้ไข และอยากให้มีการจับกุมเงียบๆ คิดว่ากลุ่มนี้มีความเชื่อแบบอวิชชาแฝงอยู่ ทำให้เกิดความคิดว่ากฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ได้รับการยกเว้น หรือเป็นกฎหมายที่อยู่เหนือสิทธิมนุษยชน



เขาอธิบายถึง วาทกรรมความเป็นไทยซึ่งมองว่ากษัตริย์เป็นศูนย์รวมเอกภาพ ความจงรักภักดี และเป็นสถาบันที่อยู่เหนือการการติชมใดๆ นั้น มีอุดมการณ์ราชาชาตินิยมแฝงอยู่ โดยยกตัวอย่างการให้สัมภาษณ์ของ สว.ซึ่งเป็นนักกฎหมายคนหนึ่งที่ว่า มาตรา 112 ไม่ล้าสมัย ไม่ขัดหลักการประชาธิปไตย ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน รายละเอียดเป็นเรื่องสังคมวัฒนธรรมไทย ซึ่งแต่ละยุค แต่ละสมัย ในแต่ละสังคมย่อมมีกฎหมายที่สะท้อนวัฒนธรรมของตนเอง



การอ้างแบบนี้มีปัญหาว่าใครเป็นผู้อธิบายหรือนิยามวาทกรรมเรื่องความเป็นไทยขึ้นมา วัฒนธรรมจิตวิญญาณของไทยใครเป็นผู้กำหนด กำหนดเพื่อใคร ใครได้ประโยชน์ ตรงนี้เป็นการเมืองเบื้องหลังคำนิยามที่ถูกละเลยที่จะพูดถึง เช่นเดียวกันนี้ ในเรื่องความมั่นคงก็มีการพูดถึงกันมาก โดยเป็นการยกประเด็นความมั่นคงอยู่เหนือสิทธิเสรีภาพ และไม่เกี่ยวเรื่องการแสดงคามคิดเห็น



“เหล่านี้เป็นประเด็นเรื่องความไม่รู้ เป็นเรื่องอวิชชาของคนที่มองไม่ออกว่า เรื่องของสิทธิจริงๆ แล้วไม่มีสิทธิใดที่ absolute จริง แต่ว่าสิทธิต่างๆ ต้องมีการ provide มีการ balance แม้กระทั่งในสถานการณ์ที่มีวิกฤติฉุกเฉิน ความมั่นคง อะไรก็แล้วแต่ คุณจะบอกว่าฉุกเฉินจนถึงขนาดที่ปิดปากคนไม่ให้พูดทุกอย่าง มันก็ไม่ได้” รศ.จรัญกล่าวย้ำ



รศ.จรัญกล่าวต่อมาถึงกฎหมายอาญา มาตรา 116 ว่า กฎหมายที่ระบุความผิดฐานปลุกปั่น ยุยงให้ประชาชนไม่เคารพหรือล้มล้างกฎหมายหรือรัฐบาลดังกล่าว อยู่ในหมวดความมั่นคงเช่นเดียวกับมาตรา 112 แต่ได้มีการเขียนยอมรับให้มีการชั่งน้ำหนักเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าสิทธิและความมั่นคงไม่ได้เป็นคนละเรื่องที่แยกจากกันเด็ดขาด



นอกจากนี้ ความมั่นคงไม่สามารถล้มล้างสิทธิได้เสมอไป ดังกรณีตัวอย่างคำพิพากษาของศาลอเมริกา เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.51 คดีที่เกี่ยวกับนักโทษที่ถูกคุมขังที่อ่าวกวนตานาโม ที่มีอดีตประธานาธิบดี จอร์จ บุช เป็นจำเลย คดีนี้ สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลของประธานาธิบดีอเมริกาต้องการออกกฎหมายจำกัดสิทธิของนักโทษที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายไม่ให้มีสิทธิในการฟ้องร้อง สิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้มีการสอบสวนว่าการคุมขังชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยอ้างสถานการณ์สงครามพิเศษ ซึ่งศาลฎีกาของอเมริกาได้ตัดสินว่า นโยบายหรือการกระทำของจอร์จ บุช ขัดกับรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าถึงแม้จะอยู่ระหว่างสงครามก็ไม่สามารถที่จะเพิกถอนในสิ่งที่เป็นหมายของศาลในการตรวจสอบการคุมขังได้







ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี





รศ.จรัญ กล่าวต่อมาถึงความคิดในแบบที่ 2.เงียบเพราะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกลัวหรืออะไรก็แล้วแต่ เบื้องหลังความกลัวที่สำคัญเกี่ยวเนื่องทั้งวัฒนธรรม วาทกรรมความเป็นไทย และกฎหมาย แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความกลัวมากๆ คือ กฎหมาย ทั้งเรื่องของโทษ การตีความ และการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ



ในประเด็นเรื่องโทษ หากมองในเชิงเปรียบเทียบ เดวิด สเตรคฟัส ได้เคยเขียนไว้แล้วว่า การวางโทษความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ต่างๆ ในระดับสากลโดยทั่วไปจะออกมาในแนวโทษปรับทั้งสิ้น คือไม่มีการใช้โทษรุนแรงต่าง ยกตัวอย่างเช่น กรณีของประเทศเนเธอร์แลนด์ คนที่เคยเรียกพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ว่าโสเภณีได้รับโทษปรับ 200 ยูโร หรือนิตยสารสเปนที่ลงภาพล้อเลียนเจ้าชายและภรรยาก็ได้รับโทษปรับ



แต่ปัญหาของไทย คือความรุนแรงของโทษเป็นความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท รศ.118 จำคุกไม่เกิน 3 ปี ต่อมามีกฎหมายลักษณะอาญา รศ.127 เพิ่มโทษเป็น 7 ปี กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2499 ไม่เกิน 7 ปี หลัง 6 ต.ค.2519 ปรับเพิ่มเป็น 3-15 ปี ตรงนี้สะท้อนความผิดปกติในตัวกฎหมาย โดยโทษที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือจำคุก 3-15 ปี เป็นโทษที่หนักกว่ายุคสมบูรณาญาสิทธิราช ทั้งที่อยู่ในยุคที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงเหมือนเป็นการถอยหลังเข้าคลองไปสู่สมัยอยุธยาที่ใช้กฎหมายตราสามดวง ในยุคความคิดแบบเทวราชา สมมุติเทวดาเริ่มทรงอิทธิพลมาก นอกจากนี้การที่โทษเพิ่มขึ้นยังสวนกระแสกับวิวัฒนาการของสังคม



เขากล่าวต่อมาว่า เมื่อเทียบมาตรา 112 กับมาตรา 116 (ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้กระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลหรือกฎหมาย) ซึ่งมาจากการยกร่างกฎหมายลักษณะอาญา โดยแยกจากมาตราเดียวกันในกฎหมายอังกฤษ ทั้ง 2 มาตรามีอัตราโทษเท่ากัน ไม่เกิน 7 ปี แต่การปรับแก้หลัง 6 ต.ค.2519 มีการปรับเพิ่มโทษมาตรา 112 ให้สูงขึ้น (เพิ่มเป็น 3-15 ปี) ขณะที่มาตรา 116 อัตราโทษยังคงเดิม ตรงนี้สะท้อนความผิดพลาดที่สำคัญของผู้แก้กฎหมาย



ปัญหาคือ นัยยะสำคัญของมาตรา 116 ระบุถึงการดูหมิ่นกฎหมายหรือล้มล้างกฎหมาย และการที่รากเหง้าของมาตรา 116 กับ 112 มีโทษเท่ากัน เพราะถือว่าสิ่งที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคือพระมหากษัตริย์และกฎหมาย เปรียบเสมือนสิ่งที่มีคุณค่าทัดเทียมกัน ซึ่งในสังคมตะวันตกที่ใช้หลักยุติธรรมมักจะใช้กฎหมายเป็นใหญ่ หรือ “กฎหมายคือกษัตริย์” การแก้ไขเพิ่มโทษมาตรา 112 ให้มีมากกว่า 116 ความหมายคือเป็นการแก้ให้พระมาหากษัตริย์มีความสำคัญมากกว่ากฎหมาย ยกสถานะกษัตริย์ให้อยู่เหนือกฎหมาย



ความไม่เป็นธรรมของบทลงโทษมาตรา 112 คือ ขัดกับหลักประชาธิปไตยที่กษัตริย์ควรอยู่ภายใต้กฎหมาย และขัดกับหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง ดังนั้น ทางออกทางเดียวคือการลดโทษในปัจจุบันลงมา อย่างน้อยคือให้เหลือ 7 ปีเท่ากับในมาตรา 116 ไม่ใช่การเพิ่มโทษ



ทั้งนี้ เขากล่าวว่า อุปสรรคสำคัญคือสังคมไทยไม่ยอมรับในเรื่องบทยกเว้นโทษหรือบทยกเว้นความผิด ซึ่งอยู่ในกฎหมายหมิ่นประมาท มาตรา 329 และมาตรา 330 โดยอ้างเหตุผลหลักตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 ที่ระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ และมักมีการอ้างว่าหากขาดมาตรา 112 แล้วมาตรา 8 จะอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีสภาพบังคับ ซึ่งเขาเห็นว่า มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญคือ การห้ามฟ้องพระมหากษัตริย์ทั้งทางแพ่งและทางอาญา บนพื้นฐานของการเคารพในสถานะความเป็นประมุขสูงสุดของชาติ ซึ่งเป็นมาตราที่มีอยู่ของรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ทั่วๆ ไปในประเทศที่มีลักษณะเป็นสหราชอาณาจักร ส่วนมาตรา 112 เป็นเรื่องห้ามหมิ่นประมาทหรือห้ามดูหมิ่นกษัตริย์ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน ดังนั้นมาตรา 8 สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีมาตรา 112



“ผมว่าลึกๆ แล้ว ความคิดที่จะปฏิเสธเรื่องข้อยกเว้นโทษ หรือปฏิเสธสิทธิอย่างอื่นที่จะมาขันแข่งกับเรื่องเกียรติยศชื่อเสียงของกษัตริย์ ก็คือเรื่องของความเชื่อเรื่องความเป็นไทยต่างๆ เรื่องความจงรักภักดี ความเชื่อเรื่องสมมติเทพ ที่ผสมกลมกลืนคลุกเคล้า จนกลายเป็นความเชื่อมั่นอันหนึ่งที่ฝังอยู่ลึกๆ คือความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำความผิด หรือไม่อาจกระทำความผิดได้ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความผิด เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์พระองค์” รศ.จรัญกล่าวเสนอความคิดเห็น



ในเรื่องพระมหากษัตริย์กับการกระทำความผิด รศ.จรัญกล่าวว่า มี 3 วาทกรรมที่ซ้อนกันอยู่ และมีการแย่งช่วงชิงกันว่าอันไหนสำคัญกว่า คือ 1.“The king can do no wrong, the king can do nothing” กษัตริย์กระทำผิดไม่ได้ตามหลักคิดสากล ตามรัฐธรรมนูญ กษัตริย์ไม่มีอำนาจ การใช้อำนาจต้องกระทำผ่านตัวแทน ซึ่งมีการนำตรงนี้มาย้ำอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องพระราชอำนาจ หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ 2.“The king can do no wrong but the king can do something” กษัตริย์ทำอะไรไม่ผิด แต่ทำบางสิ่งบางอย่างได้ นี่คือวาทกรรมแบบไทยๆ ที่สะท้อนลึกๆ ในเรื่องสมมติเทพที่ยังมีอยู่



3. “The king can do wrong” พระมหากษัตริย์กระทำผิดได้ ซึ่งเป็นที่ฮือฮาหลังพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.48 แต่ความจริงหลักคิดนี้สาวไปได้ถึงหลักพระธรรมศาสตร์ของนิติปรัชญาหรือปรัชญาทางการเมืองไทยโบราณได้ในแบบพุทธรรมนิยม ซึ่งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เคยพูดประเด็น “The king can do wrong” ตั้งแต่ปี 2510 ว่านี่คือหลักกฎหมายไทย โดยยกกฎมณเฑียรบาลบทที่ 106, 113 ในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งพูดเกี่ยวกับเรื่องการทัดทานพระราชอำนาจ โดยเฉพาะอำนาจที่ใช้โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายยุติธรรม



“แต่ว่าในความเป็นจริงหลักการนี้เป็นเพียงมายาคติที่มีอยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด ภายใต้ระบบคิดที่มีเรื่องของเจ้าชีวิต มีบทกฎหมายอื่นที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว เช่น บทกฎหมายที่ห้ามขัดพระบรมราชโองการ เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีลักษณะคล้ายเป็นนิยามเรื่องหนึ่ง ที่จะถูกหยิบขึ้นมาโชว์ให้เห็นว่านี่คือ สถานะอำนาจในการใช้ของกษัตริย์ที่มันดูงดงาม และเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม แต่ในความเป็นจริงมันไม่ค่อยปรากฏออกมา แล้วก็เป็นกฎหมายที่เอาไปคุยโอ้อวด แต่ปฏิบัติไม่ได้” รศ.จรัญ เสนอความคิดเห็น



รศ.จรัญ กล่าวต่อมาถึง บทกฎหมายในประเทศอื่นๆ เช่น ตัวบทกฎหมายจีนโบราณ ที่มีหลักเกี่ยวกับเรื่อง “The king can do wrong” เพราะในอารยธรรมของจีนโบราณ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้อาณัติสวรรค์ ถ้าทำผิดถูกเพิกถอนได้ ซึ่งอาจจะนำสู่การล้มล้าง หรือปฏิเสธ นอกจากนี้ในราชสำนักจีนโบราณ ตั้งแต่ยุคจักรพรรดิถังไถจง มีตำแหน่งขุนนางทักท้วง เป็นผู้คอยทักท้วงทัดทานจักรพรรดิ โดยมีเรื่องราวและชื่อเสียงของบุคคลในตำแหน่งนี้ระบุไว้ในประวัติศาสตร์ หรือในเรื่องนักกฎหมายที่ซื่อสัตย์ของจีนคือเปาบุ้นจิ้น เหล่านี้โยงเพื่อให้เห็นว่า “The king can do wrong” เป็นหลักที่มีอยู่จริงในวัฒนธรรมตะวันออก ทั้งยังมีตัวอย่างปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญของภูฎาน ฉบับปัจจุบันปี 2008 ซึ่งพูดถึงเรื่องการสละราชสมบัติของกษัตริย์ในกรณีจงใจละเมิดรัฐธรรมนูญ ตรงนี้เป็นการยืนยันว่าพระมหากษัตริย์กระทำผิดได้ หลักการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญและสังคมไทยอาจต้องมาคิดทบทวน







มาตราหมิ่นบุคคลธรรมดา


มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน







ในส่วนข้อเสนอ รศ.จรัญ กล่าวว่า 1.ควรมีการแก้กฎหมาย และ 2.การตีความกฎหมายโดยศาล สามารถทำให้มีความก้าวหน้า กล้าตีความโดยไม่ยึดติดกับถ้อยคำ อย่างมีจุดประสงค์ที่จะขยายสิทธิเสรีภาพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ยุติธรรมในสังคมมากขึ้น และตีความในลักษณะลบล้างคำพิพากษาเก่าๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีหมิ่น ที่มีลักษณะที่เป็นแบบตุลาการภิวัตน์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนตัวมองในแง่ลบ คือ มีลักษณะการใช้กฎหมายที่ไม่ยึดมั่นในหลักการ จำกัดสิทธิ ลิดรอนประชาธิปไตย และอาจมีเรื่องความเกี่ยวพันธ์ทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง



“สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ คุณจะไปยกสถาบันกษัตริย์ให้อยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ด้วยการเพิ่มโทษการดูหมิ่นกษัตริย์มากกว่าการดูหมิ่นกฎหมายบ้านเมือง เพราะว่าเราพูดถึงเรื่องประชาธิปไตย พูดถึงเรื่องการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ เรื่องของหลักนิติธรรม ให้ได้โดยมาตรา 3 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ที่กฎหมายเป็นใหญ่สูงสุด เพราะฉะนั้น หากยึดตาม 3 วรรค 2 แล้ว มาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญ” รศ.จรัญ กล่าว










http://www.prachatai.com/05web/th/home/16038

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 24/3/2552

เวทีอภิปรายกฎหมายหมิ่นฯ : นิธิ-เกษียร-ธงทอง-ทองใบ ถกหลากมิติ

เวทีอภิปรายกฎหมายหมิ่นฯ : นิธิ-เกษียร-ธงทอง-ทองใบ ถกหลากมิติ





21 มี.ค.52 ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ซึ่งเป็นวันแรกสำหรับการถกเถียงทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และนิติศาสตร์ ก่อนจะขยายสู่มิติอื่นในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.) มีผู้สนใจร่วมฟังประมาณ 200 คน ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดโดย โครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่, สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล และภาควิชาปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในช่วงเช้ามีการอภิปรายเรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมประชาธิปไตย” ดำเนินรายการโดย ดร.พวงทอง ภวคร์พันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ



‘ธงทอง’ ยันกฎหมายไม่ใช่ปัญหา ไม่เห็นด้วยให้สำนักพระราชวังฟ้องคดี

ศ.ธงทอง จันทรางศุ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่า มีสองส่วนคือ พระราชอำนาจตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและพระราชอำนาจโดยจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

หนึ่ง พระราชอำนาจตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ทรงใช้พระราชอำนาจนั้นไม่ได้ตามพระราชอัธยาศัย แต่เป็นไปตามที่มีผู้กราบบังคมทูลแนะนำ เช่น พระมหากษัตริย์มีิอำนาจที่จะทรงตราบทกฎหมาย แต่ที่จริงแล้ว ไม่ได้ทรงเขียนเอง เป็นที่คนอื่นเขาเขียนมาโดยตามคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา ขณะที่พระราชอำนาจที่ทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัยจริงๆ ในรัฐธรรมนูญจะมีค่อนข้างจะจำกัดมาก รัฐธรรมนูญรับรองไว้ในกลุ่มที่เป็นข้าราชการในพระองค์เ่ท่านั้น เช่น ข้าราชการในราชสำนัก และสมุหราชองครักษ์

อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่น่าพิจารณาคือ ในปี 2517 หลังเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งสภาออกเป็นสองส่วน คือผู้แทนฯ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กับวุฒิสภาซึ่งให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง ด้วยหวังว่า วุฒิสภาจะเป็นกลางทางการเมือง ร่างนี้ถูกถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงยังยั้งร่างรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนั้นมีความคาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งในเร็ววัน แต่ได้มีพระราชบันทึกแนบไปด้วย ซึ่งนานๆ ทีจะมีพระราชกระแสต่อสาธารณะว่าทรงเห็นด้วยหรือไม่ในทางการเมือง ว่า เนื่องจากทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีตามพระราชอัธยาศัย ถ้าให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภานั้นจะต้องทำความเห็นทางการเมือง มีบทบาททางการเมือง ซึ่งในทางการเมืองเป็นธรรมชาติที่มีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จากเหตุการณ์นี้ สุดท้ายสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนั้นให้นายกฯ เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ

“พระราชอำนาจที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญทรงใช้อย่างระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง แล้วก็ท่านทั้งหลายที่อยู่ในแวดวงการเมืองก็ควรเข้าใจด้วยว่า พระราชอำนาจนั้นส่วนใดที่เป็นเรื่องของแบบแผนที่ผู้อื่นถวายคำแนะนำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอำนาจจำกัดมากในเรื่องนี้ เฉพาะบางส่วนที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเท่านั้นที่ทรงทำได้ตามลำพัง” ธงทองกล่าว

ธงทองกล่าวถึงส่วนที่สองว่า คือ พระราชอำนาจที่จะพระราชทานคำแนะนำตักเตือน ซึ่งรัฐบาลจะต้องปรึกษาหารือ ในส่วนนี้ ตำราทั้งหลายพูดตรงกันว่าเป็นพระราชอำนาจที่เป็นไปโดยประเพณีในระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา และเป็นสิ่งที่ในสากลเขาปฏิบัติกันอยู่ สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ รัฐบาลอยู่ในฐานะซึ่งอาจได้รับคำติชมจากประชาชนเป็นปกติวิสัย เพราะฉะนั้น การที่รัฐบาลกราบบังคมทูลขอคำปรึกษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลต้องถือเป็นการภายในระหว่างรัฐบาลกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอง ทุกรัฐบาลไม่พึงกระทำหรือสื่อความหมายใดๆ ให้เข้าใจว่าการตัดสินใจทางการเมืองที่ล่อแหลมต่อการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายมีความเชื่อมโยงกับสถาบันฯ เพราะจะทำให้สถาบันฯ ถูกวิจารณ์เชื่อมโยงกับรัฐบาล

ในส่วนของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ธงทองกล่าวว่า คำว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นภาษาพูด ทำให้ความเข้าใจเรื่องนี้พร่ามัวและไม่ตรงกับตัวบทกฎหมายที่มีอยู่จริง มีการตีความครอบจักรวาลเกินกว่าที่มีอยู่จริง ทั้งนี้ เขาเห็นว่า ตัวบทกฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา เพราะถ้าเรารับมาตรา 326 ดูหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน-ราชทูตได้ ประเด็นก็ไม่ต่างกัน สิ่งที่ต่างและเป็นปัญหาคือภาคปฏิบัติของสังคมไทยที่ใช้ความเข้าใจซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในกฎหมาย และเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน ทำให้คนรู้สึกว่าต้องเอาตัวรอดก่อน เจ้าหน้าที่ก็เห็นเรื่องนี้เป็นเผือกร้อน โดยผลสะท้อนกลับคือความเดือดร้อนหรือผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง นอกจากนี้ธงทองยังไม่เห็นด้วยที่มีแนวความคิดเสนอให้ราชเลขา หรือเลขาธิการพระราชวังเป็นผู้ฟ้องคดีเท่านั้น เพราะจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นคู่คดีโดยตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง

“ผมเชื่อว่าคนไทยคงจะไม่มีผู้ใดมีความชอบธรรมพอที่จะกล่าวอ้างว่าใครจงรักภักดีมากน้อยกว่ากัน ขึ้นชื่อว่าเป็นคนไทยแล้ว ผมมีสมมติฐานในใจว่า มีความจงรักภักดีด้วยกันทั้งหมดทุกคน”



‘นิธิ’ ชี้ปัญหาเส้นแบ่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับพื้นที่สาธารณะไม่ลงตัว

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า นับแต่วันที่ 24 มิ.ย.2475 เกิดความขัดแย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์แบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลักที่ถกเถียงกัน ได้แก่ แนวคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย สถาบันพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ใหม่ที่ตัดขาดจากลักษณะในช่วงก่อนปี 2475 ถ้ารัฐธรรมนูญถูกฉีกก็เท่ากับทำลายฐานความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย กับอีกแนวทางหนึ่งซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดแรกคือ เห็นว่ารัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเป็นการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ดังนั้น อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์มาก่อนแล้วแล้วจึงสละให้ประชาชน ความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญเท่านั้น ถ้ารัฐธรรมนูญถูกฉีก อำนาจอธิปไตยก็ยังอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ดังเดิม

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือหลังจากนั้นก็ตามล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันที่สำคัญ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยไม่ว่าครั้งใด ระบอบสาธารณรัฐไม่เคยเป็นทางเลือกเลยสักครั้งเดียว แต่ถูกใช้ใส่ร้ายป้ายสีกันตลอดมา ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่พึงมีสถานะอย่างไร เนื่องจากหลังวันที่ 24 มิ.ย. มีอำนาจอื่นที่เข้ามาคั่นกลางระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ไม่ว่ากลุ่มนั้นจะได้มาจากการเลือกตั้งหรือปากกระบอกปืน ดังนั้น อะไรควรเป็นความสืบเนื่องและอะไรไม่ควรจะสืบเนื่องอยู่ในความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

นิธิ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมี 2 ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาซึ่งคาบเกี่ยวกันมากจนถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ประเด็นที่ 1 หน้าที่และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง ซึ่งมีความขัดแย้งกันตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธ.ค.2475 เป็นคำถามว่าบทบาทและสถานะทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ที่จะเข้ามากำกับฝ่ายบริหารพึงมีมากน้อยแค่ไหน เช่น ใครมีอำนาจแต่งตั้ง ส.ส. ประเภท 2 พฤฒิสภาหรือวุฒิสภาใครจะเป็นคนแต่งตั้ง

ประเด็นที่ 2 พื้นที่ความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีข้อกำหนดโททางกฎหมายชัดเจน หรือมีทัณฑ์ทางสังคมก็ตามแต่ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เปิดให้คนอื่นเข้าไปร่วม เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ หากพื้นที่นี้มีมากเกินไปก็จะเบียดพื้นที่สาธารณะอื่นๆ อันที่จริงหลังรัชกาลที่ 5 ที่ประเทศไทยก้าวสู่ความทันสมัยก็มีผลทำให้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากคลายความศักดิ์สิทธิ์ลง หลังปี 2475 การจัดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์มีความขัดแย้งกันเกิดขึ้นคือ ถ้ามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ต้องรักษาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องลดพื้นที่นี้ลงด้วยเพื่อเปิดพื้นที่ให้สาธารณะมีส่วนร่วม ปัญหาคือเส้นแบ่งอยู่ตรงไหน

ปี 2479-2489 มีความพยายามแบ่งพื้นที่ตรงนี้ให้ชัดเจนในทางกฎหมาย รัฐบาลมีการทบทวนแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มีการตั้งคณะกรรมการที่จะมาจัดการพื้นที่นี้ เช่น มีการเสนอจากคณะกรรมการชุดนี้ให้ยกเลิกคำว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เสียเพราะไม่เหมาะกับระบอบประชาธิปไตย เปลี่ยนคำว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นคำว่า พระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาที่จะเน้นความเป็นสถาบันให้ชัดเจนขึ้น ตัดความคุ้มครองเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ นอกนจากนั้นแล้วมาตรา 112 ก็จัดอยู่ในความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามแต่ พื้นที่ที่ว่าก็ยังมีปัญหาตลอดมา

นิธิกล่าวว่า โดยความเข้าใจส่วนตัวพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น มีความศักดิ์สิทธิ์ที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตย ตำแหน่งสูงๆ ที่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเพราะตำแหน่งสูงๆ นี้อาจจะไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และอำนาจที่ใหญ่กว่าสิทธิเสนรีภาพของประชาชนก็คืออำนาจอธิปไตย จึงต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของปวงชนอีกที แต่หลังปี 2490 มีความพยายามขยายพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ไปเรื่อยๆ เช่น มีพระราชอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมายมากขึ้น แม้แต่ในรัฐธรรมนูญเองก็มีการใช้ราชาศัพท์ที่ซับซ้อนขึ้น การกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ก็ต้องมีความเคร่งครัดขึ้น ซับซ้อนขึ้นหนาแน่นขึ้น และการละเมิดก็มีโทษทางอาญา

แนวโน้มการขยายพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนามของพระมหากษัตริย์ไม่ใช่มนทางกฎหมายอย่างเดียว แต่รวมถึงในทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย และกระทบต่อตัวสถาบันพระมหากษัตริย์เอง เพราะพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ผลักให้สถาบันต้องมารับผิดกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าในทางการเมือง เศรษฐกิจหรือวัฒนธรรม และต้องไม่ลืมว่าจะให้สถาบันมาตอบโต้ก็ไม่ได้ เพราะต้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันเอาไว้ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความลำบากแก่สถาบันพระมหากษัตริย์มาก

ที่น่าสังเกตคือที่ว่าเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกฎหมายอาญาสมัยนั้นนับรวมถึงเสนาบดีที่ทำตามรพะบรมราชโองการด้วย เมื่อกฎหมายค่อนข้างคลุมเครือก็เปิดโอกาสให้เสนาบดีไปหลบอยู่หลังกฎหมายนั้นแทน แล้วปล่อยให้การโจมตีข้ามตนเองไปยังสถาบันแทน พูดง่ายๆ คือไปหลบอยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์ ซึ่งก็เหมือนสมัยปัจจุบันเช่นกัน



‘เกษียร’ วิเคราะห์การสร้างขบวนการล้มเจ้า

รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อมองเรื่องนี้ในมุมรัฐศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเด็นคือ หลักการ,ประวัติศาสตร์,พรมแดน,กฎหมายหมิ่นฯ,ความคิด,ขบวนการ โดย 4 ประเด็นแรกปรากฏในบทสัมภาษณ์ในเว็บไซต์ประชาไทแล้ว

(อ่าน: 4 คำถามสัมภาษณ์ ‘เกษียร เตชะพีระ’ เรื่องคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย)

1.หลักการ – ฐานคติของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยคือ เป็น popular consent หรือฉันทานุมัติ/การยินยอม ยอมรับโดยสมัครใจของประชาชนซึ่งจะเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กที่ปกปักรักษาสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย และสร้างได้โดยอาศัยพระคุณ หากยิ่งใช้พระเดชมาก จะยิ่งทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เดือดร้อน และจะเป็นการผลักระบอบการปกครองให้ไถลเลื่อนไปสู่ลักษณะของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมในนามของสถาบันกษัตริย์โดยไม่รู้ตัว

2. ประวัติศาสตร์- ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นการประนีประนอมระหว่างรัชกาลที่7และคณะราษฎรในฐานะตัวแทนปวงชนชาวไทย เป็นการบรรลุฉันทามติร่วมกันแล้วว่า จะไม่กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และไม่เป็นสาธารณรัฐ ดังนั้น การเรียกร้องให้ถวายพระราชอำนาจคืน การยึดอำนาจ การเสนอระบอบสาธารณรัฐ ก็คือการพยายามรื้อความตกลงนั้นมาแก้ไขใหม่ ซึ่งส่งผลสะเทือนต่อสถานะของสถาบันกษัตริย์



3.พรมแดน- การธำรงไว้ ปฏิรูป หรือยกเลิกกฎหมายใดๆ ของไทยย่อมเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยที่กระทำได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แต่ในฐานะที่อยู่ในสังคมโลก ควรรับฟัง แลกเปลี่ยนและพิจารณาข้อคิดเห็นของมิตรผู้ห่วงใยประเทศไทยที่อาจเห็นต่างไปจากเรา โดยอำนาจตัดสินใจย่อมยังอยู่กับประชาชนไทย



4.กฎหมายหมิ่นฯ – นายกฯ อภิสิทธิ์ และรองนายกฯ สุเทพก็เห็นว่ามีบางอย่างในการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นปัญหา ทำให้มันกลายเป็นเครื่องมือรังแกฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง กลายเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ลงมาในความขัดแย้งทางการเมืองและอยากปฏิรูปแก้ไขเกี่ยวกับการดำเนินคดี เช่นเดียวกันกับบรรดานักวิชาการที่เรียกร้อง ไม่มีใครมีวาระซ่อนเร้นในการเปลี่ยนไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ

สำหรับประเด็นที่ 5 เรื่องความคิดนั้น เกษียรกล่าวว่า น่าสนใจว่าอะไรคือเงื่อนไขความคิดของฝ่ายต่างๆ ที่ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาในการเมือง ซึ่งวิเคราะห์แล้วเห็นความคิดพื้นฐาน 3 ประการคือ 1.สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความหมายดั้งเดิมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชาย์ 2. เส้นแบ่งแบบโลกสมัยใหม่ มีความชัดเจนในเรื่องการเมืองกับไม่การเมือง ศาสนจักรกับอาณาจักร โลกวิสัยกับธรรมวิสัย เจตนากับผลลัพธ์ ความคิดกับการกระทำ การบังคับทางกฎหมายกับการบังคับทางสังคม ฯลฯ หากมีความคิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบดั้งเดิมจะทำให้เส้นแบ่งเหล่านี้จางเลือน หรือไม่สำคัญ หรือควรก้าวข้าม 3.พวกเขาจึงอยากปฏิบัติเสมือนหนึ่งพระมหากษัตริย์เป็นศาสนาประจำชาติ

สำหรับมุมมองที่ต่างออกไปจากกลุ่มแรก เกษียรได้อ้างถึงข้อเขียนของ นพ.ประเวศ วะสี ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนเร็วๆ นี้เรื่องความเป็นธรรมเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศไทยซึ่งระบุว่า คนมีหลากหลายความคิดจิตใจ นิยมกษัตริย์บ้าง ไม่นิยมบ้างเป็นธรรมดา ทำอย่างไรความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุลักษณ์จะอยู่ร่วมกันได้ คำตอบคือความเป็นธรรมจะทำให้อยู่ร่วมกันได้ คนไทยต้องร้อยเรียงความแตกต่างหลากหลายมาเป็นความสร้างสรรค์และความเป็นธรรมจะทำให้หาจุดลงตัวร่วมกันได้

ประเด็นที่ 6 เกษียรกล่าวถึงภาพขบวนการล้มเจ้าว่า แบ่งเป็นความพยายามทำความเข้าใจวิธีมองของคนที่เห็นขบวนการนี้ และความเห็นขอนตนเองต่อปรากฏการณ์นี้ โดยการเห็นขบวนการล้มเจ้าเกิดขึ้นในภาวะที่ชนชั้นนำและชนชั้นกลางของไทยอยู่กลางความขัดแย้งเปลี่ยนแปลงใน 2-3 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดความกลัว วิตกกังวลเป็นธรรมดา แต่ถ้าคุมไม่ดีอาจกลายเป็นความหวาดระแวงได้ และธรรมชาติของความหวาดระแวงนั้นต้องการหาวัตถุหรือเป้าหมายแห่งความหวาดระแวง และนอกจากนี้ยังเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง double life netizen ซึ่งคือคนที่โพสต์ข้อความล่อแหลมต่างๆ โดยใช้ชื่อปลอมในอินเตอร์เน็ต แล้วกลับมาใช้ชีวิตจริงแบบปกติในสังคม เพราะสังคมปกติมีต้นทุนของการแสดงจุดยืนทางการเมืองที่ต้องจ่ายด้วย โดยเฉพาะสังคมที่ยังไม่เสรีจริงๆ คนที่แสดงจุดยืนทางการเมืองโดยไม่จ่ายต้นทุนทางสังคมนี้มีจอคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอำพรางตนทำให้แสดงความเห็นอย่างสุดโต่ง และสุดท้ายจู่ๆ เจ้าหน้าที่ก็ตรวจสอบได้แล้วมีการจับกุมจริงๆ ซึ่งเกษียรได้ยกกรณีของสุวิชา ท่าค้อ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ จากการโพสต์ในอินเตอร์เน็ตที่ให้สัมภาษณ์ว่าด้วยความที่อยากถูกปล่อยตัวกลับบ้านจึงยอมรับทุกอย่าง และพูดในสิ่งที่เจ้าหน้าที่อยากได้ยินหรือที่แต่งเรื่องไปในทางที่เจ้าหน้าที่เชื่อเกี่ยวกับขบวนการ แต่สุดท้ายก็ยังถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจำ ในที่สุดขบวนการล้มเจ้าก็เป็นตัวเป็นตน

เกษียรกล่าวต่อว่าสำหรับสิ่งที่ตนเห็นในปรากฏการณ์นี้คือ ภาพของคนที่ถูกเห็นเป็นขบวนการล้มเจ้ามีจุดร่วมอย่างเดียวคือ ต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ให้ใช้สถาบันรังแกศัตรูทางการเมือง ถ้านี่คือจุดร่วม สมมติฐานก็คือต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน ประกอบกับมีบุคคลที่เป็นปัจเจกแล้วเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย โดยต้องมี 5 ส่วนสำคัญ คือ คน การจัดตั้ง สื่อ วาทกรรม และการเคลื่อนไหว ทีนี้คนที่ไม่สบายใจเมื่อเห็นการดึงสถาบันกษัตริย์มาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ถูกใช้เป็นเครื่องมือรังแกศัตรูทางการเมือง เขาก็เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายและแสดงจุดยืนผ่านการเคลื่อนไหวผ่านสื่อโดยมีความหลากหลายมาก อย่าเหมารวม และหากใครแสดงตัวถึงขั้นว่าไม่เอาเจ้าจริงๆ ก็จะหลุดออกไปจากวงการหมด เพราะการเคลื่อนไหวแบบนี้จุดร่วมก็คือ “มีสถาบันพระมหากษัตริย์”



‘ทองใบ’ ชี้ปัญหาการบังคับใช้ คดีพิเศษเจ้าหน้าที่ก็กลัว รีบผลักจนถึงศาล

นายทองใบ ทองเปาด์ ทนายความสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า มีการพูดว่ามีการใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยการแพร่ภาพทางเว็บไซต์ต่างๆ ก็ไม่ทราบว่ามีอย่างนั้นมากจริงหรือเปล่า แต่ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษากรมราชทัณฑ์จึงขอข้อมูลไปว่าสถิติว่าผู้ต้องขังในข้อหานี้มีเท่าใด ทางอธิบดีบอกว่าไม่มีการเก็บสถิติไว้ แต่เชื่อว่ามีไม่มาก

เรื่องมาตรา 112 นั้น หากดูกฎหมายลักษณะอาญา รศ. 121 ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะอยู่ในมาตรา 98 ระบุว่า ผู้ใดทะนงองอาจแสดงความอาฆาตมาดร้าย หรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี พระมเหสีก็ดี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ดีจะถูกจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับอีก 5000 บาทด้วยอีกส่วนหนึ่ง

ปัญหาสำคัญของคดีนี้ในปัจจุบันคือ เมื่อมีคนแจ้งไปแล้ว ตำรวจหนักใจอย่างยิ่ง ต้องไปจับมา และ ไม่ว่าจะเห็นอย่างไรก็ไม่กล้าออกความเห็น ก็ต้องส่งไปอัยการ อัยการก็ไม่กล้าเช่นกัน ก็ส่งให้ศาลตัดสิน ผลักกันไปอย่างนี้จนถึงศาล และยังมีปัญหาที่ต้องมีคนติดคุกอยู่ระหว่างพิจารณาคดีด้วย ดังนั้น ประเด็นสำคัญของปัญหาจึงอยู่ที่การใช้กฎหมายนี้

รัฐธรรมนูญไทย 3 ฉบับคือ ฉบับปี 2511 2517 และ 2519 มีการกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ส่วนฉบับอื่นๆ ไม่มีการระบุเรื่องผู้ใดจะละเมิดไม่ได้

แล้วจะแก้ไขไหม พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ หรืออีกนัยหนึ่งคือจำเป็นไหมที่จะต้องมีการระบุนี้ บางคนเห็นว่า ราษฎรธรรมดายังมีกฎหมายหมิ่นประมาท มาตรา 327 แม้แต่คนตายไปแล้วก็ยังได้รับการคุ้มครอง ลูกเมียเขาเสียหายก็ฟ้องได้ และยังสามารถฟ้องละเมิดตามกฎหมายแพ่งได้ด้วย แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์จะไม่มีกฎหมายคุ้มครองบ้างหรือ และหากไปดูในกฎหมายจะเห็นว่าเรามีการคุ้มครองประมุขที่มีสัมพันธไมตรีกับเราด้วย รวมถึงคุ้มครองตัวแทนรัฐต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงสัญลักษณ์หรือธงด้วย

ดังนั้น หาก ม.112 จะเป็นปัญหาก็เป็นปัญหาเรื่องความไม่เด่นชัดของข้อความ เปิดช่องให้มีการตีความได้กว้างมาก เช่น “ดูหมิ่น” คืออย่างไร ผู้ใช้กฎหมายมีความจงรักภักดีเกินไปทำให้มีการขยายขอบเขตไปมาก และหากดูการบังคับใช้จะเห็นว่ามีหลายกรณีที่ทำให้ไม่สบายใจ หากใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ตีความตรงไปตรงมา กล้าให้ความเห็นหรือตัดสินอย่างสมเหตุสมผล ตัวกฎหมายที่มีก็ไม่ใช่ปัญหา แต่หากขาดสิ่งเหล่านี้ต่อให้แก้กฎหมายลงรายละเอียดมากมายก็ยังมีปัญหา





http://www.prachatai.com/05web/th/home/16026


--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 22/3/2552

พิเชษฐ เมาลานนท์ : บทบาทตุลาการทางด้านลบที่ญี่ปุ่น

พิเชษฐ เมาลานนท์ : บทบาทตุลาการทางด้านลบที่ญี่ปุ่น







ชื่อบทความเดิม : บทบาทตุลาการทางด้านลบที่ญี่ปุ่น ในคดีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ [1] (Lake Biwa Lawsuit, 1988) [2]



พิเชษฐ เมาลานนท์

นักวิจัย ‘ตุลาการภิวัตน์’ รับเิชิญ ณ มหาวิทยาลัย ‘อะเทเนโอ’ (เคซอนซิตี้, เมโทรมะนิลา)









ภาพถ่ายทางอากาศ ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’

(ภาพ Wikipedia)





I. บทบาทตุลาการทางด้านบวก สี่คดีใหญ่ในปัญหามลพิษ: ญี่ปุ่นมี 4 คดีใหญ่ในปัญหามลพิษ (Big Four Pollution Diseases of Japan) ดังข้อมูลใน Wikipedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Four_Big_Pollution_Diseases_of_Japan) ซึ่งได้แก่



๑. Itai-Itai Disease Case: คดีโรค ‘อิไต-อิไต’ จากสารแคดเมี่ยม (ศาลตัดสิน 30 มิย. 1971)

๒. Niigata Minamata Disease Case: คดีโรค ‘มินามาตะ ที่จังหวัดนีกาตะ’ จากสารปรอท (ศาลตัดสิน 29 กย. 1971)

๓. Yokkaichi Air Pollution Case: คดีโรคหืด ‘หยกคาอิจิ’ จากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ (ศาลตัดสิน 24 กค. 1972) -

๔. Minamata Disease Case: คดีโรค ‘มินามาตะ ที่จังหวัดคุมาโมโตะ’ จากสารปรอท (ศาลตัดสิน 20 มีค. 1973)



ทั้ง 4 คดีนี้ ศาลญี่ปุ่นต่างตัดสินให้เป็นคุณแก่ชาวบ้าน แทบจะตามที่ฟ้องทุกประการ แม้ว่าคดีมลพิษจากสารเคมีทั้ง 4 กรณีนี้ จะเป็นปัญหาใหม่ในโลก และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ด้วยผลของการเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม จนไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสุขภาพของมนุษย์



เนื่องจากเป็นคดีที่เกิดใหม่ ทั้งในญี่ปุ่นและในโลก กฎหมายสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นจึงย่อมล้าหลัง ไม่ทันต่อการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ และศาลญี่ปุ่นก็ยังไม่มี ‘เครื่องมือ’ พิจารณาปัญหามลพิษใหม่ๆ เพราะทั้งวิธีพิจารณาความอาญา กับวิธีพิจารณาความแพ่ง ยังเก่าแก่ล้าสมัย ไม่ทันกับสภาพปัญหามลพิษชนิดใหม่ที่เกิดขึ้น



กรณีเช่นนี้ วิชากฎหมายสายสังคม (Law and Society) เรียกว่า กฎหมายเป็นฝ่าย ‘ตามหลัง’ ปัญหาสังคม (Law follows the social change.) ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ต้องกำหนดนโยบายสาธารณะ และบัญญัติกฎหมายใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาสังคม



เพราะทั้งหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์กระแสเก่า ต่างสอนให้เราเข้าใจไปผิดๆ ว่า Law & Public Policy จะมีขึ้นมาได้ ก็แต่โดยฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร เป็นผู้กำหนดขึ้นมาเท่านั้น



เราได้รับการสั่งสอนว่า ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจและหน้าที่ ในการตัดสินคดีที่เป็นการวางนโยบายสาธารณะ ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ยังชักช้าหรือยังไม่กล้าออกกฎหมาย



แต่ทุกวันนี้ มนุษย์ทั่วไปในโลกเริ่มเข้าใจกันแล้วว่า คำสอนเช่นนั้นมันแข็งกระด้างเกินไป เพราะในความจริง ตุลาการก็อาจตัดสินคดีวางนโยบายสาธารณะได้ ในกรณีที่เกิดมีปัญหาใหม่ๆ และยังไม่มีกฎหมายใดๆ มารองรับ



ซึ่งเราเรียกการตัดสินคดีเช่นนี้ว่า Judicial Policy Making หรือ ‘ตุลาการวางนโยบายสาธารณะ’



นอกจากนี้ ขบวนการประชาธิปไตยในภาคประชาสังคม ที่เรียกกันว่า Democratization หรือ Direct Democracy ก็มีผลทำให้ฝ่ายประชาชน เป็นผู้นำกำหนดนโยบายสังคมได้ ในหลายกรณี



เหตุนี้ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นจริงของสังคม (Realism) จึงยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายสาธารณะนั้น มิได้จำกัดอยู่เพียงแค่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอีกต่อไป แต่ยังขยายไปถึงฝ่ายตุลาการ (Judiciary) และขบวนการประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนด้วย (Democratization)



ในกรณี 4 คดีใหญ่ในเรื่องมลพิษของญี่ปุ่นนั้น ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ต่างเข้าข้างฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม



คือ ต่างรับรู้, ต่างเห็นพ้อง, และต่างยอมรับ กับการปล่อยมลพิษ ลงไปทั้งในแม่น้ำลำคลอง (Niigata Minamata Disease), ในทะเล (Minamata Disease และ Itai-Itai Disease), และในอากาศ (Yokkaichi Air Pollution Disease)



ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดพัฒนาอุตสาหรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2



ญี่ปุ่นจึงเผชิญกับวิกฤตการณ์ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ทั้งชักช้า และทั้งไม่กล้าออกกฎหมายมาแก้ปัญหามลพิษใหม่ๆ เหล่านี้



ดังนั้น จึงเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาว่า ตุลาการญี่ปุ่นจะทำเช่นไร ในเมื่อไม่มีกฎหมาย เพราะมีหลักกฎหมายอยู่ว่า “ตุลาการจะปฏิเสธไม่ตัดสินคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายไม่ได้”



ตุลาการญี่ปุ่นจึงได้แสดงบทบาทของผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีทั้ง 4 รายนั้น โดยไม่ยกข้ออ้างว่า (1) ยังไม่มีกฎหมาย จึงยังไม่ตัดสิน ดังที่เราได้เห็นตุลาการไทยเคยอ้าง เมื่อครั้งพิจารณาคดี ‘ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ’ (2) ยังไม่มีคดีบรรทัดฐาน จึงยังไม่ตัดสิน



นั่นคือ 4 คดีมลพิษใหญ่ในญี่ปุ่น ซึ่งคดีสุดท้ายศาลตัดสินไปในปี 1973





II. บทบาทตุลาการทางด้านลบ คดีทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’: ย่างถึงปี 1988 ชาวบ้านที่จังหวัดชิกะ (Shiga Prefecture) ซึ่งอยู่ใกล้นครเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น ได้ฟ้องคดีต่อศาล กล่าวหาว่ารัฐบาลท้องถิ่นมีความรับผิดชอบ ที่ไม่ควบคุมภาวะมลพิษในทะเลสาบน้ำจืด ‘บิวา-โขะ’



แต่ครั้งนั้น ศาลญี่ปุ่นกลับตัดสินให้ชาวบ้านแพ้คดี โดยยกเหตุผลแต่เพียงว่า ยังไม่มีคดีบรรทัดฐาน (Precedent) ในปัญหาภาวะมลพิษในทะเลสาบน้ำจืด เช่นนี้มาก่อน



ขณะที่คนทั่วไป ทั้งในโลกและในญี่ปุ่น ต่างยกย่องสรรเสริญบทบาทของฝ่ายตุลาการในการตัดสินคดี 4 มลพิษใหญ่ในญี่ปุ่น ว่าเป็นบทบาทในเชิงบวกและก้าวหน้า ที่เรียกกันว่า Judicial Activism ขนานแท้โดยศาลญี่ปุ่น



แต่คนทั่วไป ทั้งในโลกและในญี่ปุ่น ก็ประณามคำตัดสินในคดีทะเลสาบ Biwako ว่าเป็นบทบาทในด้านลบและ Conservative ขนานแท้ แห่งนิติประเพณีที่ศาลญี่ปุ่น จากการที่อ้างแต่เพียงว่า “ยังไม่เคยมีคดีบรรทัดฐาน”



แต่ทั้งนี้ ก็ได้มีเสียงกล่าวขวัญกันทั่วโลกว่า บทบาทของตุลาการทางด้านลบนั้นเอง ก็ได้ก่อให้เกิดผลทางด้านบวกต่อสังคม เพราะภาคประชาสังคมคนญี่ปุ่น ต่างรู้กันดีว่า การจะหวังพึ่งสถาบันตุลาการ ประหนึ่งดัง ‘สรณะ’ ในฐานะ ‘ที่พึ่งแหล่งสุดท้าย’ (The Last Resort) เพื่อแก้ปัญหาสังคมนั้น ย่อมหวังไม่ได้เสมอไป





III. ‘ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน’ คาถาสำคัญทำให้เกิดชัยชนะ แก่ประชาชนคนญี่ปุ่น: แน่นอนว่า ประชาชนคนญี่ปุ่นย่อมผิดหวังในคำตัดสินอันทื่อๆ ของสถาบันตุลาการ ที่อ้างแต่เพียงว่า “เพราะยังไม่มีคดีบรรทัดฐานมาก่อน”



แต่กระนั้น ภาคประชาสังคมญี่ปุ่นก็กลับมีจิตใจฮีกเหิม ผนึกกำลังกันต่อสู้ เพื่อแก้ปัญหาภาวะมลพิษที่ทะเลสาบ Biwako จนทำให้เกิดขบวนการประชาชน (People Movement) ที่ร่วมมือกับสื่อมวลชนและนักวิชาการในญี่ปุ่น อย่างแข็งขันมากที่สุดแห่งหนึ่ง ที่คนทั่วไปในโลก ได้เคยประสบพบเห็นมา



และด้วยผลของบทบาทในด้านลบของฝ่ายตุลาการนั่นเอง ถ้าฝ่ายประชาชนไม่งอมืองอเท้า คอยหวังพึ่งแต่คำตัดสินของสถาบันตุลาการ และกลับทุ่มพลังรวมตัวกันต่อสู้ปัญหาสังคมแล้ว แนวทางในด้านอื่นๆ ก็ย่อมบังเกิดขึ้น ในการแก้ปัญหาสังคม



กล่าวคือ แม้ในความเป็นจริง รัฐบาลท้องถิ่นจะเป็นฝ่ายชนะคดีที่ถูกชาวบ้านฟ้อง พูดง่ายๆ ว่าฝ่ายตุลาการกลับไปเข้าข้างฝ่ายรัฐบาล ที่ไม่ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ



แต่ด้วยพลังอันมหาศาลของมหาชนคนญี่ปุ่น ผู้มีพละกำลังแรงดั่งพายุ รัฐบาลท้องถิ่นนั้นเองจึงเกรงว่า ปัญหาอื่นๆ จะตามมามาก ถ้าไม่ยินยอมผ่อนตามมติมหาชน



และด้วยเหตุนี้ รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิกะ (Shiga Prefecture) จึงเร่งรีบเขียนเทศบัญญัติ ออกมาคุ้มครองรักษาสภาพแวดล้อมของทะเลสาบ Biwako



คดีทะเลสาบน้ำจืด Biwako จึงเป็นบทเรียนที่ดีให้กับประชาชนทั่วโลกว่า ปัจจัยในการตัดสินในขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ปัญหาสังคม (Deciding Factor) ไม่ได้อยู่ข้อเท็จจริงที่ว่า ตุลาการจะ ‘ภิวัตน์’ หรือไม่เสมอไป



แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายประชาสังคมจะรวมพลังกัน เข้มแข็งเพียงใดต่างหาก



คดีทะเลสาบ Biwako จึงเป็นบทเรียนในด้านลบให้คนไทย ในการหวังพึ่งแต่ ‘ตุลาการภิวัตน์’



แต่กลับเป็นตัวอย่างในด้านบวก ที่ดีที่สุดกรณีหนึ่ง ในการเร่งเสริมสร้างพลังประชาสังคม ให้เข้มแข็ง



และด้วยสายตา ในการมองปัญหาคดี Biwako Lawsuit เช่นนี้ ‘ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์’ จะทำการศึกษารายละเอียดของคดีนี้ มานำมาเสนอแก่คนไทยต่อไป



แม้ว่าโดยปกติ ‘ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์’ ได้ทำหน้าที่เน้นบทบาทในด้านบวกของตุลาการ แต่คดีนี้ เราจะเน้นบทบาทในด้านลบ



โดยต้องนำเสนอเนื้อหาใหญ่ๆ ใน 2 ส่วน คือ (1) บทบาทในด้านลบของตุลาการ (2) บทบาทในด้านบวกของพลังประชาสังคม






IV. ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ คืออะไร ?: [3] นี่คือทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัดชิกะ (Shiga Prefecture) ทางตะวันตกตอนกลางของเกาะฮอนชู และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น



ด้วยแหล่งที่ตั้ง อันอยู่ใกล้เมืองหลวงเก่าเช่นนี้ วรรณคดีญี่ปุ่นจึงมีบทกวีที่ว่าด้วยทะเลสาบแห่งนี้ และยังมีคำบรรยายทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงการสู้รบ ณ บริเวณทะเลสาบนี้เสมอ



คำว่า Biwa (บิวา) เป็นชื่อของทะเลสาบ ส่วนคำว่า Ko (โขะ) แปลว่าทะเลสาบน้ำจืด



คนญี่ปุ่นจึงเรียกว่า Biwako ขณะที่ฝรั่งเรียกว่า Lake Biwa





V. ความกว้าง และการใช้สอย: ทะเลสาบ Biwako มีความกว้าง 670 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่าเกาะหลายแห่งในญี่ปุ่น



ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ เกิดจากลำธาร 400 สายได้ส่งน้ำไหลเข้าไปสู่พื้นที่ลุ่ม โดยไหลมาจากภูเขาโดยรอบทะเลสาบนี้ จึงก่อให้เกิดเป็นทะเลสาบน้ำจืดขึ้น ก่อนที่จะไหลไปสู่แม่น้ำเซตะ (Seta River) ออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกที่อ่าวโอซากา (Osaka Bay)



น้ำที่ไหลไปสู่ทะเลสาบนี้ มาจากหิมะละลาย กับฝนในฤดูใบไม้ผลิ กับฝนจากใต้ฝุ่นในฤดูใบไม้ร่วง



ทะเลสาบจึงมีน้ำขึ้นเต็มที่ 2 ครั้งต่อปี



ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ คืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของนครใหญ่ๆ ใกล้กรุงเกียวโต และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมทอผ้าขนาดใหญ่ทั่วไป ในบริเวณนั้น



ประชาชนคนญี่ปุ่นราว 15 ล้านคนอาศัยน้ำจากทะเลสาบ Biwako เป็นน้ำดื่ม และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเพาะไข่มุก



ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ มีชายหาดที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง และคนญี่ปุ่นนิยมเดินทาง ไปตากอากาศกัน





VI. ประวัติศาสตร์ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’: นี่คือหนึ่งในทะเลสาบน้ำจืด ที่เก่าแก่ที่สุด 20 แห่งของโลก เพราะเป็นโครงสร้างมาแต่เดิมของพื้นผิวโลก (Tectonic Origin) จึงมีอายุยืนยาว มาราว 4 ล้านปี จึงก่อให้เกิดระบบนิเวศขึ้นมา ทั่วบริเวณทะเลสาบนี้



นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ว่า มีสิ่งมีชีวิต 1,100 ชนิดอาศัยอยู่ในทะเลสาบนี้ รวมทั้งสัตว์น้ำ 58 ชนิดที่มีอาศัยอยู่เฉพาะในพื้นที่นี้ (Endemic Species) ดังนั้น จึงหมายความว่า เป็นสัตว์ 58 ชนิดที่ไม่อาจพบได้ในที่อื่นๆ ในโลก



นอกจากนี้ ‘บิวา-โขะ’ ยังเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำ (Water Birds) ซึ่งนับรวมได้ 5,000 ชนิดที่บินมาอาศัยที่นี่ ทุกๆ ปี



อย่างไรก็ดี ระบบนิเวศของ ‘บิวา-โขะ’ ได้ถูกทำลายลงไปมากในปีหลังๆ ทั้งนี้ เนื่องจากคนปล่อยปลาที่นำมาจากต่างประเทศลงไปในนั้น เช่น ปลา Black Bass ที่มีคนปล่อยลงไปเพื่อใช้ในกีฬาตกปลา และปลา Bluegill ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นปล่อยลงในทะเลสาบ โดยตั้งพระทัยให้เป็นอาหารของปลาอื่นๆ แต่ปรากฏผลว่า กลับไปกัดกินปลาอื่นๆ ลงไปเสียมาก





VII. กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’:



๑. Legislation to Prevent Eutrophication (กฎหมายป้องกันการเพิ่มของสารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) - - นี่คือกฎหมายที่ญี่ปุ่นบัญญัติขึ้นมาเมื่อปี 1981 และเริ่มใช้บังคับเมื่อ 1 กค. 1982 วันนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า ‘วันพิทักษ์รักษาทะเลสาบบิวา-โขะ’ (Lake Biwa Day) กฎหมายนี้มีบทบัญญัติจำกัดระดับมาตรฐานไนโตรเจนและฟอสฟอรัส จากอุตสาหกรรมรอบทะเลสาบ และจากน้ำเสียจากชุมชนชาวบ้าน โดยเฉพาะจากผงซักฟอก ซึ่งก่อให้เกิดสารฟอสฟอรัส



๒. The Ramsar Treatry (สนธิสัญญาแรมซาร์) - - UNESCO ได้กำหนดให้ทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ชุ่มน้ำ ภายใต้ Ramsar Wetland Convention (1983) เพื่อคุ้มครองการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำ



๓. Shiga Ordinance for the Conservation of Reed Vegetation Zones (เทศบัญญัติจังหวัดชิกะเพื่อการอนุรักษ์ ‘ต้นอ้อ-ต้นกก’ ณ พื้นที่รอบทะเลสาบ) - - ต้นอ้อ-ต้นกก คือพืชที่ขึ้นรอบทะเลสาบแห่งนี้ ที่ก่อให้เกิดทิวทัศน์งดงาม และฟอกน้ำให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ทำให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำ กับปลานานาชนิด



เดิมทีเคยมีต้นอ้อ-ต้นกก อยู่เป็นอันมากที่ทะเลสาบนี้ แต่ในระยะหลัง รัฐบาลท้องถิ่นทำการสำรวจได้พบว่า พืชเหล่านี้มีจำนวนลดลงเกือบครึ่ง เพราะสิ่งปลูกสร้างของคน ณ บริเวณรอบทะเลสาบ



กฎกระทรวงฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความคุ้มครอง, การปลูกขึ้นทดแทน, และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มีพืชน้ำเหล่านี้



กฎกระทรวงฉบับนี้ เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อปี 1992 อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ของชาวบ้านและภาคประชาสังคม หลังจากที่ฝ่ายชาวบ้านแพ้คดีที่ศาล เมื่อปี 1988









--------------------------------------------------------------------------------

[1] ‘ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์’ เริ่มสนใจศึกษาปัญหาคดี Lake Biwa Lawsuit เนื่องจากศิษย์เก่าทุน API ใน 5 ชาติ ต่างร่วมกันตั้ง Regional Committee ขึ้นมาทำการศึกษาปัญหาสังคมร่วมกันของภูมิภาคเอเซีย โดยเน้นปัญหามลพิษ และจะลงพื้นที่ไปศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งบทเรียนจากทะเลสาบน้ำจืด Biwako ในญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม 2009 นี้



‘ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์’ ซึ่งสมาชิกทั้ง 3 คน ต่างได้ทุนวิจัย API จึงเริ่มศึกษาปัญหาทะเลสาบ ‘บิวา-โขะ’ โดยเน้นประเด็นที่ว่า ตุลาการญี่ปุ่นมีบทบาทเช่นไร ในด้านลบ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะตัวอย่างด้านลบจากต่างประเทศ ก็อาจให้บทเรียนแก่ไทยได้ดี เท่ากับตัวอย่างในด้านบวกเช่นกัน



ทุนวิจัย API (Asian Public Intellectuals) คือโครงการหนึ่งของมูลนิธิญี่ปุ่น (Nippon Foundation) ที่ส่งเสริมคนเอเซียให้ทำงานวิจัย เพื่อใช้แก้ปัญหาสังคมในเอเชีย ซึ่งขณะนี้ จำกัดขอบเขตอยู่ที่ 5 ชาติ ได้แก่ ไทย, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, อินโดนิเซีย, และมาเลเซีย



อนึ่ง กรุณารับทราบว่า ณ วันศุกร์ที่ 20 มีค. 2009 ข้อเขียนนี้ คือบทความที่ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ในขั้นก่อร่างทางความคิด และการเขียนในร่างแรก ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่อย่างใด



[2] ผู้สนใจในปัญหา Lake Biwa Lawsuit อาจศึกษาข้อมูลได้จาก Joanne Bauer (Ed.), Forging Environmentalism: Justice, Livelihood, and Contested Environments, New York: M. E. Sharpe, 2006 ซึ่งเป็นหนังสือค่อนข้างใหม่ในด้าน ‘ค่านิยม’ (Values) ของคน 4 ชาติ ว่าเห็นเช่นไร ในเรื่องความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ได้แก่คนจีน, คนญี่ปุ่น, คนอินเดีย, และคนอเมริกัน

[3] เนื้อหาตั้งแต่ข้อนี้ไป ได้มาจาก Wikipedia, ‘Lake Biwa,’ http://en.wikipedia.org/wiki/Lake_Biwa (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กพ. 09)






http://www.prachatai.com/05web/th/home/16007

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 21/3/2552

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com