ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Blognone
Bookmark and Share

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส.ว. วอนรัฐบาลแก้ปัญหาการทำธุรกรรมการเงินของคนพิการ

 

 

 

 

ส.ว. วอนรัฐบาลแก้ปัญหาการทำธุรกรรมการเงินของคนพิการ

31 ส.ค. 52 -     ส.ว มณเฑียร บุญตัน  ระบุผู้พิการถูกปฏิเสธไม่ให้ทำธุรกรรมการเงินจากสถาบันการเงินและบริษัทประกันภัย ย้ำคนพิการจะต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะขัดรัฐธรรมนูญ พร้อมวอนรัฐหาทางแก้โดยด่วน

                นายมณเฑียร  บุญตัน  สมาชิกวุฒิสภาระบบสรรหา กล่าวถึงปัญหาของคนพิการในเรื่องการทำธุรกรรมการเงินหรือการทำประกันภัยต่าง ๆ โดยกล่าวว่าปัจจุบันระเบียบหรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการทำธุรกรรมด้านการเงินยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้สถานบันการเงินและบริษัทประกันภัยใช้เป็นข้ออ้างที่จะปฏิเสธผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน การกู้สินเชื่อ ซึ่งส่งผลให้ผู้พิการเดือดร้อนเพราะไม่สามารถมีเงินทุนที่จะประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้บริษัทประกันภัยยังปฏิเสธผู้พิการที่ต้องการทำประกันชีวิต โดยอ้างว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งที่ความจริงแล้วไม่มีสถิติยืนยันหรือพิสูจน์อย่างชัดเจน และในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือประเทศอื่นๆ ใกล้เคียงก็ไม่มีกรณีนี้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างรีบด่วน เนื่องจากการเลือกปฏิบัติดังกล่าวขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นภาทิพย์  นูโพนทอง  ผู้สื่อข่าว

มันทนา  ศรีเพ็ญประภา  ผู้เรียบเรียง



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://itceoclub.ning.com
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.logex.kmutt.ac.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://pwdhutch3.blogspot.com
http://energygreenhealth.com

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องเล่า...จากโลกเงียบ ของ"วัชรินทร์ จินะมุสิ" "เขาไม่อยากให้ใครมองเราว่ามีพ่อแม่เป็นใบ้"

วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11496 มติชนรายวัน


เรื่องเล่า...จากโลกเงียบ ของ"วัชรินทร์ จินะมุสิ"


"เขาไม่อยากให้ใครมองเราว่ามีพ่อแม่เป็นใบ้"




เจอ หน้ากันไม่เท่าไหร่ วัชรินทร์ จินะมุสิ หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในนาม แหม่ม เอเอฟ 1 ก็พูดจ๋อยๆ เล่าเรื่องโน้นเรื่องนี้ให้ฟัง ประหนึ่งว่ารู้จักกันมาเป็นปี

พูดเก่งนะนี่ เราแซว

เธอก็ว่า "ค่ะ" แล้วพูดต่อยิ้มๆ ว่า "เก่งที่สุดในบ้าน"

จากนั้นจึงเฉลยว่าที่เป็นอย่างนั้นเพราะบ้านอันประกอบด้วยพ่อ แม่ และเธอ มีเพียงเธอคนเดียวเท่านั้นที่พูดได้

ใช่, เข้าใจไม่ผิด พ่อและแม่ของเธอเป็นผู้พิการทางหู จึงทั้งไม่ได้ยินและพูดไม่ได้

"สงสัยล่ะซิว่าแล้วแหม่มพูดได้ไง" ไม่ทันได้ถาม เธอก็ดักคอ แล้วก็เฉลยเสร็จสรรพว่า "เพราะตอนเด็กๆ มีญาติช่วยเลี้ยงค่ะ"

การเติบโตมากับพ่อแม่ที่พิเศษกว่าพ่อแม่คนอื่นๆ แหม่มว่าสำหรับเธอไม่ใช่ปัญหาเลยสักนิด

"เรื่องที่พ่อแม่ไม่ได้ยินมันไม่ใช่เรื่องใหญ่จนทำให้เรารู้สึกเป็นปมด้อย"

แน่ นอนอาจมีความรู้สึกบ้างตอนยังเป็นเด็กเล็กมากๆ หากเมื่อค่อยโตขึ้นก็ค่อยๆ เข้าใจ ดังนั้นขณะที่บางคนอาจจะอายเวลาพาพ่อแม่ออกไปเจอคนอื่น แต่เธอ "ไม่เลย"

"เราลั้นลามาก"

กลับเป็นพ่อและแม่ด้วยซ้ำที่ระยะ หนึ่งในช่วงที่เธอเติบโตและเข้าเป็นสมาชิกเอเอฟ อะคาเดมี แฟนเทเชีย ใหม่ๆ ที่ทั้งคู่ดูจะอึดอัดเวลาต้องไปไหนมาไหนด้วย

"เขาไม่อยากให้ใครมอง เราว่ามีพ่อแม่เป็นใบ้ แต่แหม่มก็บอกให้เขาเป็นตัวของตัวเองนะแหละ แหม่มชอบที่พ่อกับแม่เป็นแบบนี้ ชอบที่เขาใช้ภาษามือกับเรา อย่าไปแคร์ แค่เราแฮปปี้ก็พอ"

นี่อาจจะเป็นเพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา เธอมีครอบครัวที่อบอุ่น และแม้จะไม่สามารถพูดคุยหยอกล้อกันได้อย่างพ่อแม่ลูกทั่วไป แต่ก็มีวิธีแสดงความรักต่อกันอย่างสม่ำเสมอ

"พวกเราจะโอเวอร์แอ๊คมาก" แหม่มบอกยิ้มๆ

การกอดกันของพวกเธอจึงเป็นเรื่องสามัญและทำบ่อยครั้งจนนับไม่ถ้วน

และเพราะการแสดงออกที่ชัดเจนแบบนี้แหละ แหม่มถึงว่าในวันที่พ่อกับแม่ตัดสินใจแยกทางกัน เธอจึงเข้าใจ รับได้ และไม่เห็นเป็นปัญหา

"เรื่องที่เกิดขึ้นมันอาจจะเลวร้าย แต่อย่าไปจมอยู่กับมันนัก ไปเก็บมันมาคิดก็ช่วยอะไรไม่ได้ เรื่องดีๆ ต่างหากที่เราควรเก็บเอาไว้"

ถามเธอว่า การเติบโตมาในครอบครัวลักษณะพิเศษนี้ เมื่อเทียบกับครอบครัวปกติทั่วไป มีอะไรที่แตกต่างบ้างไหม?

เธอนิ่ง คิดอยู่สักครู่ ก่อนจะพูดยิ้มๆ ว่า ดูเหมือนสมาชิกครอบครัวเธอจำเป็นจะต้องเจอหน้ากันบ่อยกว่าสมาชิกครอบครัวปกติอื่นๆ

"พวก เราไม่สามารถบอกความรู้สึกผ่านทางมือถือ เลยต้องมาเจอกัน ซึ่งมันอาจจะทำให้ต้องเดินทางมากขึ้น ต้องเสียเวลามากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แต่มันก็ทำให้เราได้เห็นหน้ากัน ได้สัมผัส แล้วการได้เจอหน้ากัน ความรู้สึกมันต่างจากการส่งข้อความหรือพูดผ่านมือถือนะ"

"ที่สำคัญคือมันอิ่ม" ท่าทางขณะที่บอกเล่า ดูแล้วเจ้าตัวมีความสุขเหลือเกิน

นอก จาก "อิ่ม" แล้ว แหม่มยังว่า ทุกครั้งที่ได้เจอ ไม่ว่าจะพ่อหรือแม่ ทั้งคู่เป็นต้องแนะนำทั้งในเรื่องคำสอน มุมมอง และประสบการณ์ชีวิต

"แม่ทำให้แหม่มรู้ว่าการให้ไม่ต้องหวังผลหรอก ให้ไปเถอะ ให้เท่าที่เราให้ได้"

เป็นการ "ทำให้รู้" แบบการสอนผ่านภาษามือ รวมไปถึงผ่านการปฏิบัติตนที่เธอเห็นผ่านสังคมของแม่และเพื่อนซึ่งเป็นผู้พิการทางหูด้วยกัน

"มัน อาจจะเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของพวกเขาก็ได้ สังเกตดูเวลาคนหูหนวกเขาเจอกัน ไม่รู้จักกันหรอก แต่เขาจะยิ้มให้กัน คุยกันด้วยภาษามือ ที่สำคัญคือเขามีน้ำใจแตกต่างจากคนปกตินะ คือคนพวกนี้เขาพร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมันทำให้แหม่มได้เรียนรู้"

เช่นเดียวกับเรื่องความพยายาม

"เคย มีคนพูดว่า พระเจ้าให้ความพยายามกับมนุษย์มา 100% แต่มนุษย์ใช้ไปไม่ถึง 30% นั่นคือสิ่งที่คนปกติอย่างเราๆ เป็นกัน คือรอคอยแต่โอกาส แต่กับคนที่เขาไม่ครบ 32 เขาพยายามมากกว่านั้น

"อย่างพ่อแม่แหม่ม เขาเลี้ยงแหม่มมาได้จนโตขนาดนี้ สอนให้แหม่มเข้าใจโลกและเข้มแข็ง และก็ยังมีพ่อแม่ที่เป็นใบ้คู่อื่นที่แหม่มรู้จักที่เขาสามารถเลี้ยงลูกให้ เติบโตมา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหน้าที่การงานที่ดี"

ซึ่งเธอรู้สึกขอบคุณอยู่ทุกวัน

และ เพื่อแสดงความรู้สึก รวมถึงอยากบอกเล่าแง่มุมต่างๆ ที่ได้สัมผัส ตอนนี้เธอจึงกำลังซุ่มเขียนหนังสือ ชื่อ "เรื่องเล่าบนโลกเงียบ" เพื่อตอบโจทย์ในใจที่อยากทำอะไรสักอย่างให้พ่อกับแม่ และรวมไปถึงให้เพื่อนของพ่อและแม่

"แหม่มจะหยิบเอาตรงส่วนระหว่างโลก 2 ใบ ทั้งโลกที่เงียบของพ่อแม่ และโลกที่มีเสียงของแหม่มที่มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่มาเล่าให้คนอื่นฟัง"

เผื่อเรื่องเล่าบนโลกเงียบใบนั้นจะให้แง่คิดที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับใครๆ บ้าง


หน้า 24
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01ent01310852&sectionid=0105&day=2009-08-31

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://itceoclub.ning.com
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.logex.kmutt.ac.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://pwdhutch3.blogspot.com
http://energygreenhealth.com

พ่อแม่เด็กพิการแห่พบหมอเยอรมัน วานตรวจลูกก่อนกลับประเทศ

วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11496 มติชนรายวัน


พ่อแม่เด็กพิการแห่พบหมอเยอรมัน วานตรวจลูกก่อนกลับประเทศ




 

นาย แพทย์ เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยถึงความร่วมมือทางการแพทย์ในการเพิ่มความรู้และทักษะการรักษาเด็กพิการ แขนขา กับผู้แทนคณะแพทย์จากโรงพยาบาลกระดูกและข้อ มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนีแล้ว ภายหลังประสบความสำเร็จเกินคาด จากการจัดงานสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศไทย-เยอรมนี ซึ่งมีแพทย์กระดูก นักกายภาพบำบัด และนักกายอุปกรณ์เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน เกินกว่าคาดการณ์ถึง 50 คน โดยอธิบดีกรมการแพทย์คาดว่าการลงนามความร่วมมือใน MOU จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ ซึ่งจะทำให้เด็กพิการแขนขาทุกคนในประเทศไทยมีโอกาสรับการรักษาตามแบบเทคนิค เยอรมันโดยคณะแพทย์ไทย พร้อมย้ำว่าหากพ่อแม่คนใดคลอดลูกที่มีความพิการ ขอให้รีบนำเด็กมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะการรักษาความพิการตั้งแต่วัยทารก จะเพิ่มโอกาสในการรักษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็กได้

ด้าน แพทย์หญิง ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ สังกัดกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า มีคุณพ่อคุณแม่เด็กพิการแขนขาที่ทราบข่าวการเดินทางมาไทยของแพทย์เยอรมันจาก สื่อมวลชน ติดต่อมาทางศูนย์ขอนำลูกพิการแขนขามาเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เยอรมัน เป็นจำนวนกว่า 30 ครอบครัว ทางศูนย์จึงต้องจัดบริการให้เป็นกรณีพิเศษในช่วงครึ่งเช้าของวันนี้ เพราะกิจกรรมดังกล่าวอยู่นอกเหนือกำหนดการ คณะแพทย์เยอรมันจึงจัดเวลาให้ได้เพียงแค่ครึ่งวันนี้เท่านั้น และเพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างราบรื่นทางศูนย์จึงได้ระดมบุคลากรช่วยจัดเก็บ ข้อมูลและจัดแบ่งคนไข้ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้แพทย์เยอรมันสามารถตรวจวิเคราะห์และประเมินแนวทางการรักษาเป็นการ เบื้องต้นได้ทันเวลา

สำหรับโรงพยาบาลกระดูกและข้อ มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งมาแล้ว 623 ปี นับเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ในการรักษาผู้พิการมาตั้งแต่ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 โดยโรงพยาบาลมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก กายภาพบำบัดเด็กเล็ก และมีความชำนาญในการรักษาเด็กพิการได้ตั้งแต่แรกเกิด รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตอุปกรณ์แขนขาเทียม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 อันสืบเนื่องมาจากความสำเร็จในการรักษาน้องไซ ทารกพิการแขนขาชาวไทยรายหนึ่ง จนเป็นที่มาของความร่วมมือทางการแพทย์ในครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเด็กพิการแขนขาในประเทศไทย ที่มีอัตราการเกิดใหม่ถึงปีละ 1,500 คนได้ ทั้งนี้ สาเหตุของความพิการแขนขานั้น อาจเกิดได้ทั้งจากความผิดปกติในการพัฒนาโครงสร้างของร่างกายตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์มารดา จากโรคทางพันธุกรรม ต่างๆ หรือจากความผิดปกติในระหว่างคลอดหรือหลังคลอด ซึ่งมักทำให้เกิดความบกพร่องทางสมองควบคู่ไปด้วย และจากการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่สามารถทำการรักษาจนดำเนินชีวิตตามปกติได้ แต่องค์ความรู้ใหม่จากคณะแพทย์เยอรมนีในครั้งนี้ จะช่วยสร้างปาฏิหารย์ทางการรักษาให้เกิดขึ้นกับเด็กพิการแขนขาในประเทศไทย ได้ต่อไป

หน้า 26

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://itceoclub.ning.com
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.logex.kmutt.ac.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://pwdhutch3.blogspot.com
http://energygreenhealth.com

มณเฑียร บุญตัน ผู้ไม่ยอมแพ้โชคชะตา


 วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11495 มติชนรายวัน


มณเฑียร บุญตัน ผู้ไม่ยอมแพ้โชคชะตา


พนิดา สงวนเสรีวานิช เรื่อง วรพงษ์ เจริญผล ภาพ




มองจากภายนอกเผินๆ อาจจะไม่รู้ว่าชายคนนี้เป็นผู้พิการทางสายตา

ยิ่ง ได้ฟังเรื่องราวการใช้ชีวิต การสู้ชีวิตของเขายิ่งทึ่ง...ทึ่งในความไม่ยอมจำนนต่อสภาพร่างกายที่มีข้อ จำกัด*"มณเฑียร บุญตัน"* คือชายผู้ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา ปัจจุบันเขาเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

มณเฑียร เป็นลูกชาวนาที่มีความรู้เพียงแค่ ป.4 เป็นคนบ้านน้ำชำ อ.สูงเม่น จ.แพร่ แม้ว่า พ่อ-นายล่ำ และแม่-นางลำใย มีที่นาเพียง 2-3 ไร่ พอแค่ปลูกข้าวกิน แต่ทั้งสองให้ความสำคัญกับเรื่องของการศึกษายิ่งนัก

อายุได้เพียง 7 ขวบ ด.ช.มณเฑียรถูกส่งไปเข้าโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ แรกๆ เขาร้องไห้คิดถึงบ้านทุกวัน แต่เมื่อปรับตัวเข้ากับโรงเรียนและเพื่อนๆ ได้แล้ว การกลับบ้านช่วงปิดเทอมกลับเป็นเรื่องน่าเบื่อ...

"เพราะเด็กที่เคยเล่นกับเรามา ไปมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปแล้ว"

พอ ขึ้นมัธยมต้นมณเฑียรก็หาข้ออ้างไม่กลับบ้านด้วยการตั้งวงซ้อมดนตรีกับ เพื่อนๆ เริ่มจากแกะเพลงลูกทุ่งยุคสายัณห์ สัญญา กำลังดัง แล้วมาเล่นเพลงป๊อป ดิสโก้ ร็อค แจ๊ซ ฟิวชั่นแจ๊ซ จนมาอะเร้นจ์เพลงเอง

กระทั่ง ก้าวขึ้นถึงเวทีประกวด "โค้ก มิวสิค อวอร์ด" ด้วยซ้ำ แต่บังเอิญว่า รอบตัดสินตรงกับวันสอบเอ็นทรานซ์พอดี เส้นทางนักดนตรีจึงจบลง มณเฑียร เรียนอยู่โรงเรียนสอนคนตาบอด 6-7 ปี ก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมงฟอร์ต เรียนร่วมกับเด็กนักเรียนตาดี ในยุคที่หนังสืออักษรเบรลล์นั้นมีนับเล่มได้

"ชีวิตไม่ถึงกับยากลำบาก แต่มันท้าทาย" มณเฑียรบอก

จบ จากมัธยมปลายเขาได้เป็นนักศึกษาศิลปศาสตร์ เป็นศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี 2531 ได้ทุนไปเรียนต่อด้านดนตรีที่มหาวิทยาลัยเซนต์ โอลาฟ สหรัฐอเมริกา และที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้า สหรัฐอเมริกาในปี 2533 และ 2536 ตามลำดับ

มี พี่สาว 1 คนอายุห่างกัน 4 ปี ชื่อ "ศรีเวียง ชุ่มปัน" มณเฑียรสมรสกับ "นางยูมิ ชิราอิชิ" เจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ ด.ญ.ยุคลธร บุญตัน

ปัจจุบันด้วย วัย 44 ปี เป็น ส.ว.ผู้พิการทางสายตาที่ได้รับการยกย่องเป็น "คนดีศรีสภา" เป็นนายกสมาคมตาบอดแห่งประเทศไทย เป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อให้ผู้พิการได้มีสิทธิเท่าเทียมกับคนตาดี

จน ถึงวันนี้ประเทศไทยไม่เพียงได้ให้สัตยาบัน แต่ยังเป็นประเทศตัวตั้งตัวตีในการยกร่าง "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" จนลุล่วง ถือเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนด้านคนพิการฉบับแรกของโลก และเป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับแรกของศตวรรษที่ 21

นอกจากการเป็นนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากในสมองของชายคนนี้

ตั้งแต่เล็กก็มีชีวิตหัวหกก้นขวิด?

ลูก ชาวบ้านไม่ได้เลี้ยงแบบไข่ในหิน แล้วชนบทเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ไม่มีมอเตอร์ไซค์เต็มบ้านเต็มเมืองเหมือนสมัยนี้ ฉะนั้นเราก็วิ่งเล่นเหมือนกับเด็กทั่วไป แล้วจริงๆ ผมก็พอเห็นแสงบ้าง การที่เราได้วิ่งเล่นเข่าแตกเย็บบ้าง ทำให้เราเป็นคนคล่อง เพราะเราได้อาศัยกระบวนการธรรมชาติกระตุ้นให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อของเรา เอง


เห็นว่าเป็นหัวหน้าแก๊งเด็ก?

ก็ เป็นธรรมดา ชนบทก็มีคนที่มีลักษณะเป็นลูกพี่ในแก๊งได้ ซึ่งผมมีลักษณะอย่างนั้น เนื่องจากเราอยู่ในสังคมที่ผมเรียกว่า "เวทนานิยม" เวลาเห็นคนตาบอดก็จะชอบล้อเลียน ซึ่งสมัยนั้นเรายังไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจว่าอันไหนควรไม่ควร เราก็ตอบโต้ พอตอบโต้มันก็ต้องมีสมัครพรรคพวกช่วย เช่น ถ้าเด็กคนอื่นมาล้อเลียนเรา ก็จะให้เพื่อนช่วยจับ แล้วเราเป็นคนสำเร็จโทษเอง ถ้าผู้ใหญ่มาล้อเลียน เราก็บอกว่า เฮ้ย เอาหนังสติ๊กระดมยิงกระจกบ้านให้หน่อย อย่างนี้เรียกว่าแก๊งหรือเปล่า (หัวเราะ)

รู้สึกด้อยกว่าคนอื่น?

ไม่ครับ ถ้าผมรู้สึกว่าด้อยกว่าคนอื่น ผมจะเอาน้ำยาอะไรไปสำเร็จโทษเขาได้ เพราะผมไม่รู้สึกว่าด้อยกว่าเขาน่ะสิ

ทำยังไงถึงมีลูกน้องเยอะแยะ?

เรา ไปไหนไปกัน มีอะไรก็แบ่งกัน ก็เลยทำให้มีคนติดตาม และผมก็ชอบชวนเขาทำนั่นทำนี่ ยังจำได้เลย ผมชอบชวนเพื่อนออกไปขโมยอ้อย คือเราเป็นคนชี้ชวน เป็นคนชี้นำ อย่างมากก็ 3-4 คน

ชาวบ้านมองว่าเป็นเด็กเกเร?

ไม่ ครับ เขาก็เห็นว่าประสาเด็ก แต่ก็คงรู้สึกว่าเขาแกล้งเราไม่ได้ อย่างผู้ใหญ่แกล้ง เด็กมักจะกลัว แต่ผมจะสร้างนิสัยให้ตัวเองว่าไม่กลัวผู้ใหญ่ ถึงสู้ไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีลอบกัดเอา คือเราจะไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างให้ผู้ใหญ่

อยู่โรงเรียนสอนคนตาบอดมีแก๊งด้วย?

มี บ้างครับ แต่แก๊งในโรงเรียนสอนคนตาบอด กับแก๊งเด็กชาวบ้านมันต่างกัน สมัยเด็กนั่นเป็นการหยอกล้อกัน แต่นี่เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโรงเรียนประจำ ถูกระเบียบถูกกฎเกณฑ์ของโรงเรียนควบคุม ฉะนั้นพฤติกรรมการขบถของเด็กก็เป็นธรรมดา เช่น ผู้ใหญ่บอกไม่ให้เอาอะไรมากินในหอนอน เราก็เอามากิน ผู้ใหญ่บอกไม่ให้ซื้อของข้างนอก เราบอกของในโรงเรียนไม่อร่อย ก็กระโดดรั้วโรงเรียนไปซื้อข้างนอกมากิน แต่ภายใต้กฎที่เข้มงวดก็ทำให้เราเป็นคนที่เข้มแข็ง อาจจะเรียกได้ว่าเราแกร่งกว่าคนที่อยู่กับพ่อแม่จนโตด้วยซ้ำ

เรียนมัธยมที่โรงเรียนมงฟอร์ต เรียนแข่งกับคนตาดีๆ ได้อย่างไร

มัน เป็นความท้าทาย เมื่อ 20-30 ปีก่อน หนังสือเบรลล์ไม่ได้มีดาษดื่น ถ้าเราอยากมีไว้อ่านเราต้องคัดลอกเอง ก็ต้องไปซื้อหนังสือทั่วไปตามร้านหนังสือมา แล้วหาอาสาสมัครมาอ่านหนังสือให้ฟังแล้วจดช็อตโน้ตเอง เวลาส่งการบ้านก็จะใช้การพิมพ์ดีดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผมเลยพิมพ์ดีดแบบสัมผัสได้ตั้งแต่อายุ 13-14 ปี ส่วนวิชาที่เป็นแบบเติมคำ เช่น คณิตศาสตร์ เราก็ต้องหาเพื่อนซี้ช่วยเติมให้ตามที่บอก หรือไม่ก็หาอาสาสมัครมาช่วยอ่านเวลาทำการบ้านทุกเย็น

ตอนได้ทุนไปเรียนต่ออเมริกา ไปคนเดียว

ครับ เป็นเรื่องธรรมดา ชีวิตผมต้องออกจากบ้านตั้งแต่ยังเป็นเด็ก มันจะเป็นอะไรไป ก็แค่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลเท่านั้นเอง ตอนนั้นจบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้วชิงทุนไปเรียนที่ เซนต์ โอลาฟ คอลเลจ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นทุนแลกเปลี่ยนระหว่าง มช.กับมหาวิทยาลัยที่นั่น ไปเรียนปริญญาตรีอีกตัวหนึ่ง

การเรียนในเมืองไทยกับเมืองนอกต่างกันแค่ไหน

ถ้า จะเปรียบก็เหมือนกับที่เมืองไทยเราเอาควายไถนา แต่ของเขามีแทร็กเตอร์แล้ว คือเรียนหนังสือที่เมืองไทยเราต้องต่อสู้ดิ้นรน โดยที่ไม่มีการซัพพอร์ตจากรัฐ ใครเรียนไม่ไหวก็ต้องออกไป ฉะนั้นทุกคนต้องตื่นตัวอยู่เสมอ ต้องยอมรับแรงเสียดทาน เพราะเราอยู่ท่ามกลางเด็กตาดี 2,000-3,000 คน ต้องยอมรับว่าการทำข้อสอบไม่ทันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าบางวิชาเป็นเรื่องท่องจำ ในเมื่อเรามีหนังสือน้อย เท็กซ์บุ๊กก็ไม่มี หนังสือเบรลล์ก็ไม่มี ฉะนั้นเมื่อเราอ่านน้อย คะแนนเราก็น้อย



แต่ พอไปถึงอเมริกา ทุกอย่างเป็นระบบที่รัฐจัดตั้งขึ้นมาแล้ว มีคนอ่านหนังสือให้ แต่ต้องนัดหมายก่อน ถ้ามีบทเรียน มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการให้แปลงเป็นหนังสือเบรลล์ให้ ก็ต้องเอาไปส่งที่ศูนย์จัดการทางวิชาการ ไม่เคยจับคอมพิวเตอร์มาก่อน ทางมหาวิทยาลัยเปิดให้หัดใช้ หรือจะยืมหนังสือจากมหาวิทยาลัยของรัฐสภาอเมริกันที่วอชิงตันก็ทำได้ แต่ต้องวางแผนการยืมล่วงหน้า 6 เดือน ฉะนั้นเราก็ต้องไปคุยกับที่ปรึกษาว่า เทอมหน้าจะต้องใช้หนังสืออะไรบ้าง ที่ปรึกษาจะทำหนังสือส่งไปที่วอชิงตันให้เรายืมหนังสือได้ล่วงหน้า

ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ คือนอกจากเรียน ก็กินเหล้าเมายาด้วย

แน่ นอนครับ ผมเป็นคนที่เรียนด้วยเล่นด้วยตลอดอยู่แล้ว ชีวิตของผมกับการเรียนกับการกินเหล้าเมายาไม่เคยตัดออกจากกันได้เลย ก็เป็นนักดนตรีตามผับก็รู้อยู่แล้วว่านิสัยของนักดนตรีตามผับจะเรียบร้อย เหมือนกับผ้าพับไว้ มันไม่มี แต่ไม่ได้เล่นตามผับ จะรับเป็นจ๊อบๆ เฉพาะงานปาร์ตี้ที่เขาชวนเราไปเล่น เพราะต้องแอบๆ ส่วนใหญ่จะเป็นงานภารโรงเสียมากกว่า งานที่คนอื่นเขาไม่ทำ เช็ดพื้นถูพื้น เช็ดหน้าต่าง งานแบบนั้นนักศึกษาเอเชียทำ

คือห้ามนักศึกษาทำงานมากเกินกว่ากี่ชั่วโมงๆ

ครับ เขาห้ามไม่ให้ทำงานเกิน 20 ชั่วโมง แต่ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดีนะ รัฐบาลไทยน่าจะเอามาใช้เสียที คือเรามีทุนกู้เงินเพื่อการศึกษา แต่เราก็ปล่อยให้ทำงานไปเที่ยวไปกินไปอย่างเดียว พอจบมาไม่มีเงินใช้ แต่ที่นั่นเขามีเงินใช้หนี้ทุกเดือน งานอาจจะไม่ได้มีศักดิ์มีศรีมากมาย งานเป็นงานล้างจาน เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ งานเป็น รปภ.ของมหาวิทยาลัย ผมว่างานพวกนี้ควรเอามาให้นักศึกษาทำงานให้หมด แทนที่จะใช้ลูกจ้างชั่วคราว เพราะคนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวก็ไม่มีสวัสดิการ และมหาวิทยาลัยลงทุนไปตั้งเยอะแยะ ทำให้เขามีทักษะ พอถึงเวลาเขาก็ไป มหาวิทยาลัยไม่ได้อะไร

ได้ถวายการรับใช้สมเด็จพระเทพฯ

ใช่ ครับ เรียนจบมาก็มาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปี 2545 ก็ลาออกมาทำงานเต็มเวลาให้กับองค์กรเอกชน คือเป็นเลขาธิการให้กับมูลนิธิคนตาบอดไทย และเป็นนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2547 แล้วก็ทำงานโครงการเดซี่ ซึ่งเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานเปิด จนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นกรรมการมูลนิธิราชสุดาของสมเด็จพระเทพฯ

เคยเข้าเฝ้าฯ

บ่อย ครับ สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงต่อคนพิการ ท่านทรงมีความเชื่อมั่นและให้โอกาสคนได้พิสูจน์ความสามารถ เช่นที่ผมผลักดันเรื่องหนังสือเดซี่ในฐานะที่เป็นหนังสือเพื่อทุกคน พระองค์ก็เข้าพระทัยเป็นอย่างดีและทรงให้การสนับสนุน จนกระทั่งเรามีโครงการผลิตหนังสือเดซี่ในคุกหญิงเป็นแห่งแรกของโลก ภายใต้โครงการไอทีตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ

อีกโครงการหนึ่ง ที่ดีวันดีคืน คือโครงการสนับสนุนให้นักเรียนตาบอดได้เรียนสายวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระเทพฯ ทรงให้การสนับสนุนตั้งแต่ผมเป็นอาจารย์อยู่มหาวิทยาลัยที่มหิดลแล้ว มีการจัดสัมมนาเรื่องไอทีเพื่อคนพิการตั้งแต่ปี 2539

หลังจากนั้นเรา ก็มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับคนตาบอดตั้งแต่ปี 2548 จนกระทั่งเราสามารถเอานักเรียนตาบอดไปเรียนสายวิทย์ ม.4 ที่เซนต์คาเบรียลได้ตั้งแต่ปี 2549 และปีนี้นักเรียนคนตาบอด 2 คนนั่นก็ได้เป็นนักเรียนคนบอด 2 คนแรกในประเทศไทยที่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นการต่อสู้ยาวนานเป็นสิบๆ ปี การเอาชนะใจคณาจารย์สายวิทยาศาสตร์ในเมืองไทยเป็นการยากมาก วงการวิทยาศาสตร์เมืองไทยให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ "เชิงประจักษ์" มาก นักวิทยาศาสตร์เมืองไทยจึงเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีน้อยมาก คือทดลองเพื่อจะได้เห็นผลการทดลองที่คนอื่นทำไว้แล้ว จึงเป็นอุปสรรคที่คนตาบอดไม่สามารถเข้าเรียนสายวิทย์ในเมืองไทยได้ตลอดมา แต่ด้วยพระวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเทพฯ และพวกเราก็ช่วยกันผลักดันมาตลอด ขณะนี้เราสามารถดันนักเรียนตาบอดของเราเข้าสู่ computer science ได้เป็นเบื้องต้น และเราก็ต้องดันกันต่อ

เร็วๆ นี้ก็เพิ่งมีการประชุมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เรื่องไอทีเพื่อคนพิการที่เมืองไทย

ครับ เมื่อวันที่ 25-27 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางสหภาพโทรคมนาคมสากล ร่วมกับ กทช.ของไทยจัดการประชุมว่าด้วยเรื่องไอทีเพื่อคนพิการ แนะนำคู่มือที่นำเอาหลักการ ข้อกำหนดทั้งจากเอกสารที่เป็นการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการประชุม สารสนเทศที่ผนวกรวมกับเอาเรื่องคนพิการไว้ในนั้นด้วย และเอกสารในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ มาเขียนในลักษณะของคู่มือ ในลักษณะการขยายผลที่เป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ ทำยังไงให้คนพิการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้อย่างเท่าเทียมทั่วถึงและเป็นธรรมให้ได้

ไอทีเพื่อคนพิการบ้านเราเป็นอย่างไร

มันเกิดจาก วิธีคิดแบบเวทนานิยม คือคนพิการเป็นผู้รับการสงเคราะห์ คือผู้รับการดูแล ซึ่งวิธีคิดที่จะทำให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นที่พึ่งของคน อื่นได้ด้วย มันไม่อยู่ในระบบคิดแบบเวทนานิยม

ตั้งแต่ พ.ศ.2550 เป็นต้นมา เรามี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรามีรัฐธรรมนูญใน หมวด "สิทธิ" และเราก็ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไปแล้ว ซึ่งก็ถือว่าในเรื่องของข้อกฎหมาย คนพิการเรากำลังก้าวไปอยู่สู่สังคมฐานสิทธิ

เรากำลังก้าวข้ามจากฝั่ง เวทนานิยมไปสู่สังคมฐานสิทธิ แต่เรายังอยู่บนสะพาน ซึ่งสะพานนั้นอาจจะหักลงมาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เราเห็นฝั่งของสังคมฐานสิทธิอยู่รำไรแล้ว

ที่น่าน้อยใจและผมก็พูดอยู่เสมอในสภา คือ เมืองไทยอะไรก็ดี กฎหมายไม่เป็นรองใคร แต่งบประมาณ ก็ยังกระจอกเหมือนเดิม

สัดส่วนการจัดสรรเงินเพื่อคนพิการยังคิดเป็น 0.25 ของงบประมาณแผ่นดิน


หน้า 17

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun01300852&sectionid=0140&day=2009-08-30

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความวิชาการ "วิกฤตเป็นโชคอย่างหนึ่ง…ข้อคิดเพื่อการพ้นทุกข์"

วิกฤตเป็นโชคอย่างหนึ่งข้อคิดเพื่อการพ้นทุกข์

 

ทศพนธ์  นรทัศน์

thossaphol@ictforall.org

 

             

              เป็นธรรมดาของโลกที่มนุษย์ทุกคนต่างต้องประสบกับทุกข์และสุขครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย จะมากหรือน้อยก็แตกต่างกันไปตามแต่กรรมที่ตนได้ทำมา หลายต่อหลายคนก็หาทางออกด้วยการทำร้ายตัวเอง การฆ่าตัวตายเพียงเพราะคิดว่าเมื่อตายแล้วทุกข์ก็จะหายไป แต่เขาเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าการมีชีวิตอยู่นั้น จะสามารถทำอะไรดีๆ ให้กับชีวิตได้มากกว่าเพราะยังมีสิ่งดีๆ ที่เรายังค้นไม่พบรออยู่ข้างหน้ามากมาย ผู้เขียนรู้สึกเสียดายทุกครั้งที่ได้ยินข่าวนักศึกษาหลาย คนที่มีผลการเรียนดีแต่ฆ่าตัวตายเพียงเพราะมีผลการเรียนบางส่วนไม่ดี นักธุรกิจหลายคนที่ประสบปัญหาวิกฤตก็หาทางออกด้วยการฆ่าตัวเอง หรือฆ่าคนในครอบครัวเพื่อหนีปัญหา หรือความทุกข์ที่ประสบอยู่ ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นความคิดและทางออกที่ผิดโดยสิ้นเชิง

              ในความเป็นจริงแล้วเพียงเรารู้เท่าทันทุกข์และสุข รู้ว่าใดๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งสมมติ และมีความคิดในเชิงบวก (Positive Thinking) เราก็จะสามารถดำรงชีวิตในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข มีโอกาสและช่องทางมากมายที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ เพราะหนทางสู่ความสำเร็จของแต่ละคนย่อมมีความเป็นหนึ่งเฉพาะตัว ไม่ใช่การนำตนเองไปเปรียบเทียบกับความสำเร็จของใครคนใดคนหนึ่ง หลายคนที่เป็นทุกข์ก็เพราะการเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อน หรือคนรอบข้าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นเพื่อนร่วมงานมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หากเราคิดว่าจะต้องเอาชนะเขา ความทุกข์ก็คงเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย แต่หากเรามองหาทางเดินในอีกทางหนึ่งที่เราคิดว่าเราทำได้ดีที่สุด มันก็จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้โดยไม่ทำให้ตนเองทุกข์ใจและไม่ทำให้คนอื่นต้องทุกข์ตามไปด้วย

 

ดร.จอห์น เอฟ. ดีมาร์ตินี่ (Dr.John F. Demartini)

 

              ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ The Breakthrough Experience ของ ดร.จอห์น เอฟ. ดีมาร์ตินี่ (Dr.John F. Demartini) ซึ่งได้รับการแปลเป็นไทยโดย เอกชัย อัศวนฤนาท โดย ดร.จอห์น ดีมาร์ตินี่ ได้กล่าวถึงมุมมองสู่การพ้นทุกข์และการเผชิญหน้ากับภาวะวิฤติของชีวิตได้อย่างรู้เท่าทันความเป็นจริง และสร้างโอกาสสู่ความสำเร็จจากวิกฤตินั้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่านั้นคือความจริงที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จและดำรงชีวิตในโลกนี้อย่างมีความสุข ดร.จอห์น ดีมาร์ตินี่ (2552: 14-18) ได้กล่าวไว้ว่า "ทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของระเบียบอันศักดิ์สิทธิ์ที่ไลบ์นิซ, ไอน์สไตน์,เซนต์ออกัสติน รวมทั้งปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายรู้ซึ้งเป็นอย่างดี แม้แต่เรื่องเลวร้ายที่สุดก็มักมีสิ่งดีๆ ซ่อนอยู่ ผู้มีปัญญารู้ดีถึงความจริงอันยิ่งใหญ่นี้และไม่ทุกข์ร้อนกับเหตุการณ์ต่างๆ ขณะที่คนปัญญาน้อยจะสุขทุกข์ไปตามประสบการณ์ด้านดีร้ายที่ตัวเองได้พบจนกว่าจะเข้าใจมันอย่างถ่องแท้

              สิ่งที่คนเราขาดแคลนในสมัยเด็ก มักกลายเป็นสิ่งที่เขาใฝ่ฝันหรือเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากได้เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ โรคภัยไข้เจ็บในวัยเด็กมักสร้างนักกีฬาหรือนักบำบัดผู้ยิ่งใหญ่ขึ้น คนที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับความรักจะหาทางแบ่งปันความรักให้กับผู้อื่นอย่างสุดหัวใจไม่ตลอดชีวิต คนที่รู้สึกไม่มีค่าจะเกิดแรงผลักดันอันทรงพลังที่จะทำประโยชน์ให้กับโลกเพื่อให้ตัวเองรู้สึกมีค่า คนที่เคยมีชีวิตอย่างยากจนค้นแค้นจะสะสมเงินทองจำนวนมาก สิ่งที่ทำให้รู้สึกขาดแคลนจะทำให้เกิดค่านิยม เราถูกโปรแกรมให้ค้นหาสิ่งที่เราคิดว่าเราขาดแคลนมากที่สุด

              แม้ว่าตอนนั้นผมจะไม่รู้เรื่องแบบนี้ "เรื่องเศร้า" ของความบกพร่องในการเรียนละการอ่านได้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ผมมีอิสระในการทำตามความฝันและพบปะกับผู้คนจำนวนมากที่พิเศษเหมือนผมซึ่งได้กลายเป็นผู้นำทางให้กับชีวิตของผม ผมค้นหาความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะทำในสิ่งที่ผู้คนบอกผมว่าทำไม่ได้ ผู้คนบอกว่าผมจะไม่สามารถอ่าน เขียนหรือสื่อสารกับใคร แต่ทุกวันนี้ผมใช้เวลาว่างกว่า 300วันในแต่ละปีเดินทางทั่วโลกเพื่อทำในสิ่งนั้น

              การมีปัญญาคือการรู้ได้ในทันทีว่าวิกฤตเป็นโชคอย่างหนึ่งและยิ่งเป็นสติปัญญาที่สูงขึ้นที่จะรู้ว่าโชคก็สามารถทำให้เกิดวิกฤตได้เช่นกัน ถ้าเรารู้ได้เช่นนั้น เราจะไม่โมโหเวลาที่เผชิญกับความยากลำบากหรือดีใจที่ได้พบกับโชคดี เราจะยังคงตั้งมั่นที่ตรงกลางไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นรอบตัวเรา นั่นเป็นความลับข้อหนึ่งของการเอาชนะตัวเอง

              เมื่อคุณรู้แล้วว่าเรื่องเลวร้ายไม่ได้น่ากลัวเช่นนั้น และเรื่องดีๆก็ไม่ได้ยอดเยี่ยมเท่าไหร่นัก คุณจะสามารถซาบซึ้งในบุญคุณทุกเรื่องที่เกิดขึ้น จุดสมดุลไม่ใช่การโมงโลกในแง่ดีหรือร้าย มันยืนหยัดมั่นคงอยู่ตรงกลางโดยไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง มันเป็น "ความซาบซึ้งรู้คุณ"และนั้นเป็นทั้งสติปัญญาและพลังอำนาจอันแท้จริงสรรพสิ่งล้วนอยู่สมดุล และเมื่อคุณรู้แล้ว คุณจะจริงใจกับตัวเองแทนที่จะทำอะไรด้วยความหวังหรือความกลัว คุณจะยังดำรงอยู่บนวิถีชีวิตของคุณต่อไป

              เมื่อคุณปรุงแต่งว่าเหตุการณ์ต่างๆ ดีหรือเลว และพยายามแสวงหามายาภาพของสิ่งที่คิดว่าดีกว่า คุณจะไม่มีวันดำรงอยู่หรือไม่มีวันพอใจกับชีวิตของคุณในแบบที่มันเป็น คุณจะคิดว่า สักวันหนึ่ง ฉันจะหาทางทำให้ลูกและเมียของฉันรู้ว่าฉันรักพวกเขามากเพียงใด สักวันหนึ่งเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ฉันจะเริ่มทำธุรกิจนั้น เดินทางไปที่นั่น หรือเขียนหนังสือเรื่องนั้น คุณมีชีวิตอยู่บนหมู่เกาะที่ชื่อ 'สักวันหนึ่ง' ซึ่งมันไม่มีอยู่ในเรื่องจริง

              นโปเลียน ฮิลล์ ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Think and Grow Rich เคยกล่าวไว้ว่า "อย่ามองหาโอกาสที่ไกลออกไปในกาลและอวกาศแต่จงชื่นชมมันจากสิ่งที่คุณมีอยู่ เพราะสิ่งที่คุณมีอยู่เป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบและมีความสมดุลอยู่แล้ว" ณ นาทีนี้ คุณมีทุกสิ่งทุกอย่างที่เติมเต็มชีวิตของคุณแล้ว

              วัตถุประสงค์ข้อนึงของสัมมนาประสบการณ์เปลี่ยนชีวิตคือต้องการช่วยให้คุณมองเห็นจุดสมดุลที่คุณมีอยู่ด้วยตาในของคุณ เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกซาบซึ้งรู้คุณอย่างแท้จริง คุณได้ตื่นขึ้นจากความหลับไหลแล้ว

              การค้นพบอันยิ่งใหญ่ ในการค้นหาหลักการที่เป็นเหตุเบื้องหลังแห่งการดำรงอยู่ของมนุษย์และความสำนึกรู้ ผมพบสิ่งที่เรียกว่าการค้นพบอันยิ่งใหญ่ (the Great Discovery™) โดยบังเอิญ แต่ละช่วงในชีวิตของคุณ คุณจะไม่มีวันลุกขึ้นโดยไม่ล้มลงก่อน หรือตกต่ำโยไม่ดีขึ้น บวกแล้วก็ลบ ดีแล้วก็แย่ สรรเสริญแล้วก็ให้ร้าย สงบแล้วก็วุ่นวาย ทุกอย่างล้วนมาด้วยกันเป็นคู่ มันสลับกันไปอย่างสมดุลโดยไม่มีที่ติ และนั่นคือสิ่งที่เรียกว่าระเบียบอันศักดิ์สิทธิ์

              ทีแรก นี่อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่น่าตื่นเต้นแต่เมื่อคุณเข้าใจอย่างถ่องแท้ คุณจะพบว่ามันเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างแท้จริงถ้าคุณเห็นอะไรพียงด้านเดียวโยไม่เห็นอีกด้านหนึ่งชีวิตของคุณกำลังถูกบดบังด้วยมายาภาพ จงหยุดมันตั้งแต่บัดนี้และคิดทบทวนชีวิตของคุณให้ดี นึกถึงยามที่คุณถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือถูกทำให้อับอาย จดจำช่วงเวลาและบุคคลหรือกลุ่มคนอันจำเพาะนั้นไว้ เมื่อคุณรำลึกถึงช่วงเวลาเฉพาะที่ถูกทำให้อับอายนั้นได้ ใคร่ครวญดูอีกครั้งแล้วเราจะพบว่าในเวลาเดียวกันที่คุณถูกทำให้อับอายนั้น มีบางคน (หรืออาจเป็นตัวคุณเอง) กำลังดึงคุณขึ้นมาหรือยกย่องคุณอยู่ นอกจากนั้น ทุกครั้งที่คุณได้รับการยกย่อง ก็เป็นเวลาเดียวกันที่มีบางคนว่าร้ายหรือกำลังดูถูกคุณอยู่ การมีปัญญาจะเป็นเครื่องบอกให้คุณรู้ว่าทั้งสองด้านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กันและเท่าเทียมกัน

              เราทุกคนอยู่ในโลกที่มีสองด้าน เราทุกคนต่างก็มีสองบุคลิกเรามีด้านหนึ่งยกให้สูงขึ้นและอีกด้านหนึ่งดึงเราให้ต่ำลง เรายกย่องและตำหนิตัวเราเอง ไม่มีใครทำให้เราได้ดีหรือตกต่ำได้มากเท่ากับตัวเราเอง เพราะไม่มีใครทำให้เราได้ดีหรือตกต่ำได้มากเท่ากับตัวเราเอง การปฏิบัติของคนอื่นที่มีต่อเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเราที่ถูกกดทับเอาไว้ ไม่มีใครเอาเปรียบเรา พวกเขาเพียง 'สะท้อน' สิ่งที่เป็นตัวเรา

              ครั้งหนึ่ง ผมเคยเปนที่ปรึกษาให้กับแพทย์ผู้หนึ่งในลอสแองเจลิส ซึ่งบอกว่า "จอห์น ผมต้องการคำแนะนำ ผมถูกคนไข้ปฏิเสธการรักษาติดๆ กันมาหลายคน พวกเขาบอกว่าไม่อาจรับการรักษาพยาบาลนานขนาดนั้นได้ทั้งที่มันเป็นเรื่องจำเป็น"

              "แล้วคุณตอบพวกเขาว่าอย่างไรล่ะ" ผมถาม

"ก็เนี่ยแหละ ผมไม่รู้ว่าจะตอบว่ายังไง และผมก็สียคนไข้ไปเรื่อยๆ ผมมาหาคุณก็เพื่อขอคำปรึกษาไง"

เขาวางแผนการรักษาพยาบาลให้กับคนไข้ของเขาซึ่งได้ผลดีมาแล้วเป็นเวลาหลายเดือน แต่แล้วจู่ๆ เขาก็ถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า ผมรู้ดีว่าโลกนี้เป็นกระจกเงาสะท้อนอะไรบางอย่าง ดังนั้น จึงถามเขาว่า "ทำไมคุณถึงล้มเลิกการแต่งงานทั้งที่คบกันมาตั้งนานแล้ว"

เขาเพิ่งตกลงใจที่แต่งงาน เขารักผู้หญิงคนนั้นมาก และด้านหนึ่งในตัวเขาบอกว่าเขาต้องแต่งงานกับผู้หญิงคนนั้นให้ได้ แต่เขาก็กลัวเพราะเขาเคยพบความผิดพลาดมาก่อน สัปดาห์เดียวกับการที่เขาล้มเลิกการแต่งงานกับเธอ เขาเริ่มได้รับการปฏิเสธแบบเดียวกันนั้นจากคนไข้ของเขา ความกลัวการแต่งงานของเขามาจากเรื่องเงินทอง ดังนั้น เมื่อผมช่วยหาทางออกเรื่องการแต่งงานของเขาก็หมดไปและคนไข้ของเขาก็เริ่มหยุดปฏิเสธเขา "ปัญหา" ด้านการเงินของเขาช่วยให้เขาเข้าใจและเอาชนะความกลัวในเรื่องชีวิตคู่ และเปิดหัวใจของเขาให้กับผู้หญิงที่เขารัก

              ผู้คนปฏิบัติต่อคุณเหมือนกับที่คุณปฏิบัติต่อตัวเองแบบไม่รู้ตัว ท่าทีที่พวกเขาแสดงต่อคุณสะท้อนท่ทีภายในที่คุณมีต่อตัวคุณ คือการรู้ซึ้งในสิ่งที่คุณเชื่อและรู้สึกเกี่ยวกับตัวเอง คนส่วนมากดำเนินชีวิตโดยขาดสติและไม่รู้สึกตัว พวกเขามีชีวิตรุ่งเรืองและตกต่ำ มีอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆไปตามสถานการณ์ แต่ไม่สามารถมองเห็นความสมดุลและระเบียบอันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งไม่รู้ว่าตัวเองถูกห้อมล้อมด้วยความรักอยู่ตลอดเวลา วัตถุประสงค์ของผมคือการทำให้คุณรู้ว่าคุณมีความรักอันแสนวิเศษอยู่รอบตัวในทุกขณะของชีวิต..."

             

              ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ดร.จอห์น เอฟ. ดีมาร์ตินี่ ได้นำแนวคิดนี้มาจากหลัก "อุเบกขา" (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) ในพระพุทธศาสนาอันหมายถึง ความความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น อันเป็นหลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้วางไว้เมื่อ 2500 กว่าปีล่วงมาแล้ว (พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), 2552: ออนไลน์) 

              ในโพชฌงค์ ได้กล่าวว่า "...อุเบกขามีเหตุประกอบด้วยทั้งสัมมาสติ สัมมาสมาธิและสัมมาปัญญาอันยิ่ง กล่าวคือ ารมีสติรู้เท่าทัน พร้อมทั้งปัญญาหรือปรีชาที่แจ่มแจ้ง ดังเช่น เข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัย  ที่เมื่อมีการปรุงแต่งย่อมเกิดเวทนา  หรือเห็นความไม่เที่ยงเมื่อไปยึดไปอยากย่อมเป็นทุกข์ ฯลฯ  มีสติเห็นตามความเป็นจริงดังนี้แล้วจึงอุเบกขาเป็นกลาง  กล่าวคือเมื่อเกิดความรู้สึก (Feeling) คือ เกิดเวทนาอย่างไรก็ตาม เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ก็เป็นไปอย่างนั้นตามธรรมหรือธรรมชาติ แต่เป็นกลาง ที่เกิดขึ้นด้วยเจตนาตั้งใจ ตั้งมั่น โดยการสำรวมคือการระวัง ไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซง ไม่ไปปรุงแต่งคือฟุ้งซ่านไปในธรรมคือสิ่งนั้นๆ ที่สติรู้เท่าทันตามความเป็นจริง..." (อุเบกขาแบบต่างๆ, 2552: ออนไลน์)

              นอกจากนี้ ยังมีความสอดคล้องกับหลัก "โลกธรรม 8" (Worldly Conditions) อันหมายถึง เรื่องของโลกซึ่งมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม อยู่ที่ว่า ใครจะประสบมาก หรือประสบน้อยช้าหรือเร็วกว่ากัน โลกธรรม แบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กัน ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน คือ ฝ่ายอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา และฝ่ายอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ดังนี้

              โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ

              1. ได้ลาภ คือ ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา

              2. ได้ยศ คือ ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต

              3. ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ

              4. ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

 

              โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ

              1. เสียลาภ คือ ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป

              2. เสื่อมยศ คือ ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ

              3. ถูกนินทา คือ ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกผู้อื่นพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา

              4. ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ หรือจิตใจ

 

              ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรเป็นตัวของเราเอง ไม่มีใครในโลกนี้จะพบแต่ความสมหวังตลอดชีวิต จะต้องพบกับคำว่าผิดหวังบ้าง ผู้มีปัญญาได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างดีแล้ว พึงทำใจเอาไว้กลางๆ ว่า มีคนนินทา ก็ต้องมีคนสรรเสริญ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีลาภย่อมเสื่อมลาภ มียศก็ย่อมเสื่อมยศ หากเราหวังอะไรเกินเหตุ เมื่อเวลาเราผิดหวัง ไม่สมหวัง ให้ทำใจไว้ว่านั่นคือโลกธรรมทั้ง 8 คือ มีได้ก็ต้องเสื่อมได้ เป็นของธรรมดาในโลกนี้ ไม่ว่าสัตว์หรือบุคคลใด ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อไม่สมปรารถนาที่ตัวเองคิดไว้ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียอกเสียใจ รำพึงรำพันกับตัวเองถึงความไม่สมหวัง จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์มาก เพราะฉะนั้น จงใช้สติปัญญาหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า สิ่งใดมีเกิดขึ้น ก็ต้องมีเสื่อมไปเป็นของธรรมดา เหมือนโลกธรรมทั้ง 8 ประการ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ทุกคนจะต้องตกอยู่ในโลกธรรม 8 กันถ้วนหน้า จะได้ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างเป็นสุข" (วัดประยุรวงศาวาส, 2552: ออนไลน์)

             

              เมื่อรู้เราได้รู้ว่าทุกข์และสุขเป็นธรรมดาของชีวิต ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า "กมฺมุนา วตฺตตีโลโก หรือ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" อันหมายความว่า คนและสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่างๆ นานา ทุกข์ก็มี สุขก็มี ดีก็มี ชั่วก็มี มิได้เกิดแต่ผู้ใดอื่น มิได้เกิดแต่อะไรอื่น มิใช่เกิดแต่เหตุใดทั้งนั้น นอกจากกรรมที่ตนได้กระทำแล้วเองเท่านั้น (ธรรมจักร, 2552: ออนไลน์) การรู้เท่าทันความจริงของทุกข์และสุขที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างมีสติว่าเป็นเพียงสิ่งสมมติ เมื่อเราเกิดทุกข์ก็พยามมองหาโอกาสที่เป็นโชคดีจากเหตุแห่งความทุกข์นั้น มิใช่การคิดถึงแต่แง่ลบที่เลวร้าย การปรุงแต่งและฟุ้งซ่านไปต่างๆ นานา จนดูเหมือนว่าชีวิตมืดมนไร้ทางออก หมดอนาคต ฆ่าตัวตายดีกว่าซึ่งเป็นวิถีทางที่ไม่ถูกต้องเพราะนอกจากจะเพิ่มความทุกข์ให้ตนเองแล้ว ยังทำให้บุคคลรอบข้างและคนที่รักเรา ปรารถนาดีต่อเราพลอยได้รับทุกข์ตามไปด้วย แต่หากเรารู้เท่าทันเหตุแห่งทุกข์ มองเห็นโอกาสและโชคดีที่แฝงในทุกข์นั้น ทำให้เราได้คิดทบทวน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ความสามารถสู่ความสำเร็จในตัวเราได้มากขึ้น แน่นอนว่าบางเรื่องก็ต้องใช้ความอดทนต่อความเจ็บปวดทางด้านจิตใจอย่างสูงยิ่ง แต่เราก็ต้องตระหนักว่านั้นคือกรรมในอดีตที่เราต้องชดใช้ ถ้าเราเชื่อในกฎแห่งกรรมเราก็ต้องยอมรับความเจ็บปวดนั้น และตั้งใจทำดีในวันนี้อย่างไม่ย่อท้อ แล้วโอกาสและความสำเร็จในวิถีทางของแต่ละคนก็มีอยู่อย่างมากมายสำหรับทุกคนบนโลกนี้< 

 

 

 

 

อ้างอิง

จอห์น เอฟ. ดีมาร์ตินี่, (ผู้เขียน), เอกชัย อัศวนฤนาท, (ผู้แปล). (2552). ประสบการณ์เปลี่ยนชีวิต The               Breakthrough               Experience. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ต้นไม้.             

ธรรมจักร. (2552). สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม. http://www.dhammajak.net/book-somdej4/10.html ค้นคืนวันที่               27 สิงหาคม 2552.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. (2548). จนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด :               กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม  อ้างถึงใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9
              %80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B2 ค้นคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2552.

วัดประยุรวงศาวาส. (2552). โลกธรรม 8 , บอรด์ธรรมะวัดประยุรวงศาวาส.               http://www.oknation.net/blog/mettapc/2009/07/11/entry-1 ค้นคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2552.

อุเบกขาแบบต่างๆ. (2552). http://www.nkgen.com/378.htm ค้นคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2552.

http://www.inspireyourday.com.au/images/aboutjohn.jpg  ค้นคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2552.

 




 
From: ICT for All Club <ictforall.th@gmail.com>
Date: ส.ค. 27, 2009 12:04 หลังเที่ยง
Subject: บทความวิชาการ "วิกฤตเป็นโชคอย่างหนึ่ง…ข้อคิดเพื่อการพ้นทุกข์"
To: 
FYI
 
Thossaphol NORATUS



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.familynetwork.or.th
http://sph.thaissf.org/
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.webmaster.or.th
http://www.thailandshowtime.com/2009

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"ไอที" เพื่อคนพิการ สานฝันสร้าง "สังคมเท่าเทียม" วันที่ 25-27 สิงหาคม 2552 ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ


วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11489 มติชนรายวัน


"ไอที" เพื่อคนพิการ สานฝันสร้าง "สังคมเท่าเทียม"


โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช



สังคมไทยระยะหลังเอ่ยอ้างถึงเรื่องของ "สิทธิ" อยู่บ่อยครั้ง

ไม่ ว่าจะเป็นสิทธิสตรีที่จะต้องได้รับเท่าเทียมกับบุรุษ สิทธิของเพศที่ 3 เพศที่ 4 สิทธิประชาชนที่จะสามารถชุมนุมเรียกร้องเพื่อบางสิ่งบางอย่าง และสิทธิของอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย

แต่กลับละเลย ตกหล่นสิทธิของผู้พิการ ทั้งๆ ที่คนกลุ่มนี้เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงจะได้รับสิทธิเหมือนกับคนอื่นๆ ที่ครบสามสิบสอง

ใน ความเป็นจริงประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อ "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" (Convention on the Rights of Persons with Disabilities,CRPD) ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2551 แล้ว ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นมา

สาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้กล่าวถึงภาคี สมาชิกว่า จะต้องขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในทุกรูปแบบ ทั้งในด้านกฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่างๆ

รวมถึงการกำหนด มาตรการที่เหมาะสมเพื่อประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันของ คนพิการ ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การขนส่ง ข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะ

ยอมรับความเท่าเทียมกันของคนพิการ ในทางกฎหมายสำหรับโอกาสในการรับการศึกษา การเข้าทำงาน การรักษาพยาบาล การประกันสิทธิและโอกาสที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันกับ บุคคลทั่วไป

แต่ระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมาดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก

มณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย อธิบายว่า สังคมไทยเป็นสังคม "เวทนานิยม" คือคนพิการเป็นผู้รับการสงเคราะห์ ผู้รับการดูแล เพราะฉะนั้นอย่าคิดแม้กระทั่งจะใช้เทคโนโลยีเลย แค่จะไปไหนมาไหน จะบริโภคอะไรสักอย่าง ก็เป็นผู้บริโภคระดับ 2 ต้องมีคนอื่นสังเคราะห์ จัดการเตรียมการไว้ให้หมด

วิธีคิดที่จะทำให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วยนั้นต้องไม่อยู่ในระบบคิดแบบเวทนานิยม

"ตั้งแต่ พ.ศ.2550 เป็นต้นมา เรามีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรามีรัฐธรรมนูญใน หมวด "สิทธิ" และเราก็ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไปแล้ว ซึ่งก็ถือว่าในเรื่องของข้อกฎหมาย คนพิการเรากำลังก้าวไปอยู่สู่ "สังคมฐานสิทธิ"

นั่นคือ การที่ทุกคนสามารถเข้าถึงทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

นายก สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บอกว่า "เราต่อสู้จนปัจจุบันเรากำลังจะก้าวไปอยู่ใน "สังคมฐานสิทธิ" จากเดิมทีเราเป็นสังคมแบบ "เวทนานิยม" จึงมีความรู้สึกว่า เราก็ควรจะเป็นผู้บริโภคด้วยตนเอง ควรจะเข้าถึงความรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ระดับทุติยภูมิ

เราควรจะมีส่วนในการคิด การสะท้อนปัญหาของเราเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นนำสารของเราไปถ่ายทอดแทนเรา แล้วสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร เป็นสังคมฐานความรู้ เราก็น่าจะได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตนเอง"

การ ที่สังคมจะปรับเปลี่ยนจาก "เวทนานิยม" เป็น "สังคมฐานสิทธิ" ได้นั้น มณเฑียรบอกว่า จะต้องเรียกร้องให้มีการจัดสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะทางสถาปัตยกรรมก็ดี อาคารสถานที่ ยานพาหนะ ขนส่งก็ดี หรือทางระบบข้อมูลข่าวสารก็ดี ที่เปิดกว้างให้คนพิการเข้าไปใช้ร่วมกับคนทั่วไปได้

สังคมจะเอื้อต่อคนพิการให้เข้าถึงได้ตามหลักสากลมีหลักการใหญ่ด้วยกัน 3 แนวคิด

(บน) มณเฑียร บุญตัน


แนว คิดที่ 1 คือ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" คือหลักการออกแบบที่เป็นสากล ถือเป็นระดับอุดมคติ เทียบได้ "ยูโทเปีย" หรือยุคพระศรีอาริย์ นั่นคือ ทุกคนเข้าถึงทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม "ในทุกเรื่อง"

คือการออกแบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่มีอุปสรรคเลย ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ การขนส่ง ระบบไอซีที

แต่ เมื่อ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" ไม่สามารถจะเกิดในทุกที่ทุกหนทุกแห่งทุกเวลาได้ ก็จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคลเข้ามารองรับ นั่นคือ แนวคิดที่ 2 คือ "เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"

มณเฑียร อธิบายเพิ่มเติมว่า ตราบใดที่ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" ยังไม่เกิดขึ้นเต็มสเกล หรือแม้จะเกิดขึ้นเต็มสเกล มันก็ไม่ตอบโจทย์ทุกคนเสมอไป เช่น เราบอกว่า ทางลาดเป็น "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" แต่คนที่เป็นอัมพาตจะขึ้นตึกด้วยทางลาดได้อย่างไร ถ้าเขาไม่มีวีลแชร์ ซึ่งเป็น "เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"

เช่น เดียวกับการสร้างเว็บไซต์ที่มีคำอธิบายภาพที่เป็นตัวอักษรหมดเลย ลิงก์ทุกลิงก์จะต้องมีคำอธิบายหมด แต่ถามว่าคนตาบอดจะเข้าถึงเว็บไซต์นั้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมอ่านจอภาพ ตรงนี้คือสิ่งที่เราเรียกว่าเป็น "เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"

ฉะนั้น การออกแบบที่เป็นสากลเป็นสิ่งที่เราต้องไปให้ถึง แต่ขณะเดียวกันความเป็นเฉพาะก็ต้องเข้ามาเสริม

ส่วน แนวคิดที่ 3 คือ "การช่วยเหลือแบบสมเหตุสมผล" ยกตัวอย่าง ในงานสัมมนาแห่งหนึ่ง ไม่มีอักษรเบรล เว็บไซต์ที่จะให้ข้อมูลก็ไม่มี แต่ภายในงานมีอาสาสมัครสำหรับช่วยอ่านเอกสารประกอบการสัมมนาให้ ถือเป็นการช่วยเหลือแบบสมเหตุสมผล คือเป็นที่ตกลงกันแล้วว่า ผู้ให้ก็ให้ได้แค่นี้ ผู้รับก็พอรับได้

"ถ้าเราจะก้าวไปสู่สังคม ประชาธิปไตย เป็นสังคมที่เคารพในสิทธิมนุษยชน ทั้งสามอย่างนี้ต้องเป็น "MUST" นี่คือสังคมฐานสิทธิที่มองที่สิทธิของมนุษย์เป็นหลัก

ถามว่า เมืองไทยมีให้เต็มที่หรือยัง...ยัง แม้ในทางกฎหมายจะมีแล้ว แต่กฎหมายยังไม่ผันตัวไปเป็นนโยบายของรัฐที่ใช้ได้จริง" มณเฑียรให้ทรรศนะ

วัน อังคารที่ 25 สิงหาคมนี้ กำลังจะมีการประชุมครั้งสำคัญในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) และคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจและสังคมเอเชียแปซิฟิก สหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสแคป) ร่วมกันจัดการประชุม เรื่อง "การบูรณาการความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารสำหรับคนพิการในกระแสหลัก" ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ มีร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในพิธีเปิด

ทั้งนี้ การประชุมจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2552 โดยเป็นการประชุมร่วมกันของผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำหนดระเบียบข้อบังคับ ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน NGO และองค์กรนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คนพิการจากทั่วทั้งภูมิภาค กว่า 20 ประเทศ จะมาร่วมกันหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และกรณีศึกษา รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมช่วยเสริมศักยภาพด้านการเข้าถึงและใช้ ประโยชน์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการประยุกต์ใช้งาน

ดร.อูน-จู คิม


ที่ สำคัญคือ เป็นการแนะนำคู่มือช่วยกำหนดนโยบายด้านความสามารถในการเข้าถึงและใช้ ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนพิการ

มณเฑียร ซึ่งทำหน้าที่ตัวแทนประเทศไทยในการยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการเมื่อ ปีที่แล้ว เล่าว่า การประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคมนี้ เป็นการประชุมเพื่อจะเอาผลของการทำงานระดับโลก มาหารือกันในระดับเอเชียแปซิฟิก เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ ทำอย่างไรให้คนพิการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้อย่างเท่าเทียมทั่วถึงและเป็นธรรม ให้ได้

"ตอนนี้เรามีผลของการทำงานระดับโลกอยู่ 2 ส่วน คือ งานที่เป็นเรื่องไอซีทีโดยตรง คือ การประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on Information Society) แม้จะไม่ใช่เรื่องของคนพิการ แต่เผอิญผู้นำคนพิการ ซึ่งมีผมเองอยู่ในนั้นด้วย ช่วยกันผลักดันจนกระทั่งคอนเซ็ปท์ของทั้งสามหลักการ ถูกบรรจุอยู่ในเอกสารหนังสือสัญญาฉบับนี้ด้วย ตั้งแต่การประชุมเมื่อปี 2546 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ มีการนำเอกสารกระแสหลักผนวกรวมกับเรื่องคนพิการไว้ในนั้นด้วย แม้จะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่เป็นคำประกาศร่วมกัน

ส่วน เอกสารฉบับที่ 2 คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ที่ประเทศไทยเป็นตัวตั้งตัวตีประเทศหนึ่งในการยกร่าง และก็คลอดในกรุงเทพฯด้วย ถือเป็น "อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนด้านคนพิการฉบับแรกของโลก และถือเป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับแรกของศตวรรษที่ 21"

อนุสัญญา นี้ก็เอาสาระของคำในเรื่องของการเข้าถึงเรื่องไอซีทีในเรื่องของ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" ไปจากอนุสัญญาฉบับแรกด้วย แต่มีน้ำหนักตรงที่มันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่ได้เป็นกฎหมายเฉพาะแค่ด้านไอซีที แต่เป็นการประมวลเอาทุกเรื่องที่เกี่ยวกับคนพิการมาไว้ตรงนั้น ประเทศไทยร่วมร่าง ลงนาม และให้สัตยาบันไปเมื่อปีที่แล้ว

ฉะนั้น เนื่องจากว่าเรื่องการเข้าถึงไอซีที มีอยู่ทั้งในเอกสารสำคัญทั้งสองฉบับนี้ สหภาพโทรคมนาคมสากล จึงร่วมกับ กทช.ของไทยจัดให้มีการประชุมครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่คู่มือที่จะนำเอาหลักการ ข้อกำหนดจากเอกสารทั้งสองฉบับนี้มาเขียนเป็นคู่มือลักษณะการขยายผลที่เป็น รูปธรรม ซึ่งจะเป็นเหมือนคัมภีร์ให้ชาวบ้านเข้าใจได้ และคนพิการก็สามารถเข้าถึงได้

หลังจากนี้เราจะเห็นว่าพวกบริษัทที่ จะผลิตคอมฯ รถเมล์ รถไฟฟ้า ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง ฟุตปาธ โทรศัพม์มือถือ เว็บไซต์ก็จะต้องคำนึงถึงทั้งสามอย่างที่ว่ามา ถ้าไม่ทำผิดกฎหมายทั้งไทยและเทศ กฎหมายระหว่างประเทศเราก็ให้สัตยาบันไปแล้ว กฎหมายในประเทศมีทั้ง รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มี พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรการขจัดการเลือกปฏิบัติ

"เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีคนไปฟ้องเท่านั้นเอง ช่วงปีสองปีนี้จึงเป็นการให้เวลากับทุกภาคส่วนได้เตรียมพร้อมกัน"



ดร.อูน-จู คิม

หัวหน้าสำนักงาน ไอทียู


ที่ ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติ ได้อนุมัติรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักไมล์ความสำเร็จ สำหรับบุคคลที่มีความพิการกว่า 650 ล้านคนทั่วโลก โดยเป็นอนุสัญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 8 และเป็นครั้งแรกในรอบ 1,000 ปี

อนุสัญญาฉบับนี้ ถือว่ามีเนื้อหาใจความที่ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของคนพิการมากที่สุด

ปัจจุบัน มี 142 ประเทศที่ลงนามเข้าร่วม และมีอีก 64 ประเทศได้ให้สัตยาบัน อนุสัญญาฉบับนี้ จึงกลายเป็นเครื่องมือบังคับใช้ตามกฎหมายเรื่อยมา ทั้งนี้บรรดา 64 ประเทศที่ได้ให้สัตยาบันดังกล่าว คิดเป็นตัวแทนสองในสามของประชากรและคาดว่าจะสามารถครอบคลุมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมดภายในสิ้นปี 2552

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นปีแรกที่มีการจัดประชุมในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แนะนำคู่มือการเข้าถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้มีความพิการ เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์เพื่อ ตอบโจทย์เรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงบริการที่จำเป็นสำหรับผู้มีความพิการเพื่อให้สอดคล้องตามความประสงค์ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

โดยคู่มือดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จ สมบูรณ์ในราวเดือนตุลาคมปีนี้ นอกจากนี้ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยังมีแผนที่จะจัดการประชุมในลักษณะเดียวกันนี้ในภูมิภาคอื่นๆ นับแต่ปีนี้เป็นต้นไป



การประชุมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เรื่อง "การบูรณาการความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารสำหรับคนพิการในกระแสหลัก" ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2552

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552

เวลา 10.00-11.30 น. การอภิปรายเรื่อง ความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนพิการ

เวลา 11.30-12.30 น. การอภิปรายเรื่อง บทบาทของไอซีทีสำหรับคนพิการ

เวลา 13.30-15.00 น. การอภิปรายเรื่อง ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมและนโยบาย ของความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ไอซีทีสำหรับคนพิการ

เวลา 15.30-17.00 น. การอภิปรายเรื่อง การส่งเสริมระบบโทรคมนาคมเพื่อรองรับคนพิการ

วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552

เวลา 09.00-10.30 น. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละประเทศ เกี่ยวกับการส่งเสริมระบบโทรคมนาคมเพื่อรองรับคนพิการ

เวลา 11.00-12.30 น. การอภิปรายเรื่อง การส่งเสริมการเข้าถึงเว็บไซต์และอินเตอร์เน็ตสำหรับคนพิการ

เวลา 13.30-15.00 น. การอภิปรายเรื่อง การส่งเสริมโซลูชันความช่วยเหลือเพื่อคนพิการ

เวลา 15.30-17.00 น. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละประเทศ เกี่ยวกับการส่งเสริมโซลูชันความช่วยเหลือเพื่อคนพิการ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552

เวลา 09.00-10.30 น. กลไกในการขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการดำเนินการหลังจากนี้

เวลา 11.00-12.30 น. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องเครื่องมือช่วยเหลือในการประเมินตน

เวลา 13.30-15.00 น. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดหาจัดซื้อขององค์กร

เวลา 15.30-17.00 น. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องความสามารถในการเข้าถึงเว็บ

เวลา 17.00-17.15 น. ปิดการประชุม


หน้า 20
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01240852&sectionid=0131&day=2009-08-24

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://twitter.com/care2causes
http://twitter.com/actionalerts
http://tham-manamai.blogspot.com
http://thammanamai.blogspot.com
http://sunsangfun.blogspot.com
http://dbd-52hi5com.blogspot.com
http://sundara21.blogspot.com
http://newsnet1951.blogspot.com
http://same111.blogspot.com
http://sea-canoe.blogspot.com
http://seminarsweet.blogspot.com
http://sunsweet09.blogspot.com
http://dbd652.blogspot.com
http://net209.blogspot.com
http://parent-youth.blogspot.com
http://netnine.blogspot.com
http://parent-net.blogspot.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.educationatclick.com/th 







ถูกพบอยู่กับ Buddy! แท็กรูปของคุณแล้วลุ้นคว้ารางวัลอันน่าตื่นตาตื่นใจ คลิกที่นี่เลย

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com