รถเข็นคนพิการต้นทุนต่ำมากคุณภาพของดีจากมทร.ธัญบุรี |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 27 กรกฎาคม 2552 12:18 น. |
 |
ชีวิตคนเราเลือกเกิดไม่ได้ การมีร่างกายครบ 32 สมบูรณ์ทุกประการนั้น ถือว่าโชคดีกว่าเป็นไหนๆ แม้จะมีหรือจน หากยังมีโอกาสทำมาหาเลี้ยงชีพได้ แต่สำหรับคนที่ต้องพิการมาแต่กำเนิดล่ะ ความลำบากของพวกเขาจะมากเท่าใด แค่การขยับแขน ขายังยากแล้ว จะนับอะไรกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่ขึ้นชื่อว่าคนไทยแล้วความมีน้ำใจช่วยเหลือต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่เคยหายไป เช่นเดียวกับสถาบันแห่งหนึ่ง
| | ทีมผู้จัดทำรถเข็นคนพิการแบบประหยัด | |  | นอกจากการเรียน การสอนอย่างมีคุณภาพแล้ว ยังสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมด้วย ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นความตั้งใจดีๆ ของ มทร.ธัญบุรี โดยนักศึกษา และอาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ธัญบุรี ที่ได้คิดค้นงานวิจัยเพื่อคนพิการขึ้นนั่นคือ “รถเข็นคนพิการควบคุมด้วยไมโครคอนโทรเลอร์ (PIC16F877)” ที่เอื้อประโยชน์มากมายสำหรับคนพิการ จากต้นทุนน้ำใจที่อยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ไปสู่การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง แถมราคายังถูกแบบสุดๆ ด้วย
| อาจารย์เดชฤทธิ์ มณีธรรม เจ้าของงานวิจัยเล่าว่า รถเข็นคนพิการที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรเลอร์ (PIC16F877) เป็นรถเข็นกึ่งอัตโนมัติที่นำเอามอเตอร์ DC มาเป็นตัวขับเคลื่อนล้อของรถเข็นทั้งสองข้างโดยใช้ข้างละตัวและใช้อีกหนึ่งตัวเพื่อควบคุมทิศทางในการเคลื่อนที่ของรถเข็น โดยใช้ คีย์สวิตซ์ เป็นตัวบังคับซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยหลักการทำงานคือ1.เริ่มจากการเขียนโปรแกรม โดยภาษาซี (ภาษาระบบคอมพิวเตอร์) แล้วทำการแปลงเป็น hex.file (ภาษาเครื่องจักร Machine Languages) แล้วต่อเข้าไปที่CPU 2.Set ปุ่มการทำงานโดยการดาวน์โหลดซอฟแวร์ลงไป เพื่อตั้งระบบKEY PAD เพื่อกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของรถเข็น เช่น เลข 4 ไปซ้าย เลข 6 ไปขวา เลข 2 ไปหน้า และเลข8 ถอยหลัง และ/หรือ ปุ่มที่เหลืออาจตั้งค่าให้เป็นไฟไซเรนเพื่อเวลาคนพิการต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น ขั้นตอนสุดท้าย SET ปุ่มปรับความเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกความเร็วระดับไหน ตามความต้องการ ตัวรถเข็นรับน้ำหนักมากสุดถึง130 กิโลกรัม อัตราความเร็ว 7 กม./ชม. ตัวมอเตอร์ DC ขนาด 24 โวลท์ 3 ตัว เวลาการใช้งานสูงสุด 2-3 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน ราคาต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-40,000 บาท ในขณะที่ของต่างประเทศราคาอยู่ที่ 150,000-300,000 บาท ถูกกว่าทั่วไปเกือบสิบเท่าตัว นอกจากนี้ตัวไมโครคอนโทรเลอร์ (Microcontroller) ยังมีหลายตระกูลด้วยกัน ที่นิยมใช้กันมากก็คือ ตระกูล(PIC16F877) ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ จุดเด่นของมันคือ สามารถนำมาใช้ได้หลากหลาย หาซื้อได้สะดวก และสามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งได้หลายครั้ง อาจารย์ยังย้ำทิ้งท้ายอีกว่า หากมีผู้ร่วมสนับสนุนทุน และวัสดุอุปกรณ์ ก็ยินดีอย่างมากที่ จะประกอบตัวรถเข็น แจกจ่ายให้ผู้พิการได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงมากขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้นเพื่อยกระดับคนพิการอีกด้วย"... | |
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000084705--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.comhttp://tham-manamai.blogspot.com http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com http://www.parent-youth.nethttp://www.tzuchithailand.orghttp://www.presscouncil.or.th http://ilaw.or.thhttp://www.thaihof.orghttp://thainetizen.orghttp://www.ictforall.org http://www.projectlib.in.thhttp://elibrary.nfe.go.thhttp://www.nstda.or.th/thhttp://www.arda.or.th http://www.nppdo.go.thhttp://www.tlcthai.comhttp://dbd-52.hi5.comhttp://www.oknation.net/blog/assistance http://weblogcamp2009.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น