ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Blognone
Bookmark and Share

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Bhutan 2 : ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในภูฏาน




 




 

รายงานโดย :ปวีณา สิงห์บูรณา:
วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552
ก่อนหน้านี้ใครๆ ก็ทราบกันดีว่า ประเทศภูฏานนั้นปกครองกันด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นก็คงจะมาจากเหตุผลหลักๆ เรื่องเดียว คือ กระแสชื่นชมเจ้าชายจิกมีนั่นเอง
หลัง จากนั้นข่าวคราวของภูฏานก็ได้รับความสนใจจากคนไทยเพิ่มมากขึ้น จนเมื่อไม่นานมานี้มีอีกข่าวหนึ่งที่ได้รับการตีแผ่ไปทั่วโลก คือการประกาศสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 พระบิดาของเจ้าชายจิกมี ทำให้เจ้าชายจิกมีจึงขึ้นครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2549 กลายเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก
อันที่จริงแล้วถ้าใครมีโอกาสไปที่ภูฏานแล้วถามถึงเจ้าชายจิกมี คนภูฏานคงจะทำหน้างงๆ กันสักหน่อย เพราะพระราชบิดาของพระองค์ก็ทรงมีพระนามต้นว่า จิกมี เช่นเดียวกัน คือสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก ส่วนเจ้าชายจิกมีที่เรารู้จักกันนั้น ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ดังนั้นคนภูฏานจะเรียกพระบิดาของพระองค์ว่า เดอะโฟร์ทคิง (The 4th king) และเรียกเจ้าชายจิกมีว่า เดอะฟิฟท์คิง (The 5th king) อันนี้ก็ให้รู้เผื่อไว้ก็แล้วกัน ส่วนเรื่องราวที่เราจะนำมาเล่ากันในวันนี้เป็นเรื่องของก้าวย่างแห่งการ เปลี่ยนแปลงของประเทศภูฏาน ว่ากันด้วยประเด็นของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์มาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และมีสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย จะประกอบไปด้วยสมาชิก 161 คน (สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน+สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์)
กล่าวกันว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศนั้นมาจากสายพระเนตรอันยาวไกล ของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 ที่ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์อันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ จึงทรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารราชการแผ่นดิน จากเดิมที่พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ให้เปลี่ยนรูปแบบเสียใหม่ โดยให้มีหัวหน้ารัฐบาลดูแลบริหารประเทศแทน และกำหนดให้มีสภาคณะมนตรีขึ้นมาประกอบการบริหารประเทศร่วมด้วย เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์ เพียงพระองค์เดียว
สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก (The 4th king) ทรงประกาศสละราชสมบัติให้แก่มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 เนื่องจากทรงเห็นว่าภูฏานกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบอบการปกครอง ประเทศแบบเดิม ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้น จึงจำเป็นที่มกุฎราชกุมาร (ในตอนนั้นเจ้าชายจิกมียังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร) ทรงจะต้องเรียนรู้ประสบการณ์ที่แท้จริงในการบริหารประเทศ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในฐานะพระประมุขของประเทศ
ในช่วงแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ประชาชนชาวภูฏานไม่ค่อยเต็มใจยอมรับสักเท่าไร เนื่องจากยังขาดความเข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และเห็นว่าการปกครองเดิมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ทำให้ประชาชนมีความ สุขดีอยู่แล้ว ทำให้สมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 และมกุฎราชกุมารจิกมี (ในตอนนั้น) ทรงเสด็จพระราชดำเนินออกชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ประเทศยังสงบและประชาชนมีความสุข ย่อมได้ผลดีกว่าในช่วงที่ประเทศประสบปัญหา เนื่องจากจะได้มีเวลาปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วประชาชนชาวภูฏานก็มีความเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลง นี้
การ เลือกตั้งครั้งแรกของภูฏานเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา เป็นการเลือกตั้งวุฒิสภาครั้งแรกของประเทศ และวันที่ 24 มี.ค. 2551 ก็มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศเช่น กัน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสู่ความเป็น ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ และผลการเลือกตั้งทำให้ประเทศภูฏานได้นายกรัฐมนตรีคนแรกภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตยที่ชื่อว่า เลียนเชน จิกมี วาย ทินเลย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเป็นอดีตรัฐมนตรีอีก หลายกระทรวง และที่สำคัญยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness (GNH) อันเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศที่ริเริ่มในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 แห่งภูฏาน
หลังจากที่การเปลี่ยนแปลงเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ทางรัฐบาลภูฏานจึงได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 และงานฉลองครบรอบ 100 ปี ราชวงศ์วังชุก ระหว่างวันที่ 68 พ.ย. 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเผยแพร่พระราชพิธีในพระราชสำนักภูฏานให้สาธารณชน ได้รับทราบกันทั่วโลก โดยโอกาสนี้ทางรัฐบาลไทย นำโดยสถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรภูฏาน และกรมเอเชียใต้ฯ เป็นแม่งานหลักในการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นในวันที่ 2025 พ.ย. 2551 พร้อมกันนี้ก็ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกหลายหน่วย งาน อาทิ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (TICA) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิษณุโลก โดยถือเอาโอกาสนี้เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้น มากยิ่งขึ้น มีการนำการแสดงศิลปวัฒนธรรมของไทยไปเผยแพร่ให้คนภูฏานได้ชื่นชมกัน รวมถึงทีมงานโลก 360 องศาของเราก็ได้มีโอกาสไปร่วมในงานนี้ด้วยเช่นกัน
ย้อนกลับไปถึงงานบรมราชาภิเษกที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 68 พ.ย. 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่บรรยากาศของภูฏานทั้งประเทศเต็มเปี่ยมไปด้วยสีสันสดใสของชุด แต่งกายแบบพื้นเมืองปนกับรอยยิ้มแห่งความปีติยินดีของคนทั้งชาติ กับโอกาสครั้งสำคัญที่จะได้ชื่นชมพระบารมีของกษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของ พวกเขาถึง 2 พระองค์พร้อมๆ กัน โดยพระราชพิธีวันแรกจัดขึ้นที่ Tashichho Dzong ในเมืองหลวงทิมพู มีพระบรมวงศานุวงศ์ และแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญมาร่วมในพระราชพิธีกันอย่างคับคั่ง ภาพความประทับใจที่คงอยู่ในความทรงจำของคนทั้งประเทศเห็นจะเป็นภาพที่ กษัตริย์ทรงสวมมงกุฎให้กับกษัตริย์ ซึ่งไม่ค่อยจะมีปรากฏให้เห็นมากนักในประวัติศาสตร์
อีก ภาพความประทับใจที่มีการกล่าวขานกันไปทั้งประเทศ คือ ช่วงที่เสร็จพระราชพิธีการด้านในห้องบัลลังก์ทอง ขณะเสด็จออกเพื่อไปยังห้องบัลลังก์พิธีอีกห้องหนึ่ง ในระหว่างที่จะเสด็จออกนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงทูลเชิญสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก เสด็จนำ แต่พระราชบิดาทรงปฏิเสธ และทรงให้พระองค์เสด็จนำ เสมือนหนึ่งจะยืนยันว่า พระราชบิดาทรงมอบพระราชอำนาจให้ทั้งหมดอย่างแท้จริง แม้สมเด็จพระราชาธิบดีที่ 5 จะทรงยืนยันถวายพระเกียรติ พระราชบิดาก็ไม่ทรงรับ สุดท้ายสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 5 ก็ตัดสินพระทัยเสด็จนำ เสมือนหนึ่งว่าทรงเข้าพระทัยและยอมรับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่บนเส้นทางของ การขึ้นสู่ตำแหน่งประมุขแห่งราชอาณาจักรภูฏานเป็นอย่างดี
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกันนั้น พระราชาธิบดีที่ 5 เสด็จออกพบประชาชนหลายหมื่นคนที่มารอเฝ้าชมพระบารมี หลังจากทรงรับผ้าถวายพระพรจากพสกนิกรที่มาเข้าเฝ้า จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนทีละแถวจนครบถ้วนทุกคน สร้างความปีติยินดีให้กับประชาชนชาวภูฏานเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเขาสัมผัสได้ด้วยหัวใจว่า กษัตริย์ของพวกเขาทรงเห็นความสำคัญของประชาชนเท่าเทียมกันทุกชนชั้น
วันที่ 2 และ 3 ของพระราชพิธี จัดขึ้นที่สนามกีฬากลางแจ้งในเมืองทิมพู โดยพสกนิกรจากทั่วทุกสารทิศยังคงหลั่งไหลมาร่วมในพิธีกันตั้งแต่เช้าตรู่ พิธีการในวันนี้เป็นการสวนสนามของเหล่าทัพ ประกอบกับพิธีการอื่นตามโบราณราชประเพณี ช่วงหนึ่งของพระราชพิธีที่สะกดทุกหัวใจของชาวภูฏานให้สงบนิ่งฟังอย่างประทับ ใจ เห็นจะเป็นความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 5 ที่มีใจความว่า
"ใช่ว่าเราเป็นกษัตริย์แล้วเราจะขอสิ่งเหล่านี้จากพวกท่าน เป็นชะตาลิขิตที่นำพาเรามาอยู่ตรงนี้ เรารู้สึกขอบคุณอย่างมาก และด้วยความรู้สึกต่ำต้อยเป็นที่ยิ่งในความอ่อนวัยของตัวเอง เราคิดว่าหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของเราก็คือการรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ ที่แสนพิเศษของเรา
"ตลอดการปกครองของเรา เราจะไม่ปกครองท่านเยี่ยงเจ้าชีวิต แต่เราจะปกป้องพวกท่านเยี่ยงบิดา มารดา ห่วงใยท่านดังพี่ชาย และรับใช้ท่านดังบุตรชาย เราจะมอบทุกอย่างให้พวกท่าน และเราจะไม่เก็บอะไรไว้เลย เราจะใช้ชีวิตเยี่ยงมนุษย์ที่ดีคนหนึ่ง ที่พวกท่านอาจจะเห็นว่าพอจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับบุตรหลานของท่านได้ เราไม่มีจุดมุ่งหมายส่วนตัวอื่นใด นอกเสียจากความปรารถนาของพวกท่าน เราจะรับใช้พวกท่านเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน กลางคืน ด้วยความเมตตา ยุติธรรม และเท่าเทียมกัน"
ภูฏานในวันนี้ ผ่านพ้นก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงมาเต็มรูปแล้ว และเป็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด การปกครองรูปแบบใหม่ และกษัตริย์หนุ่มพระองค์ใหม่ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก แถมยังทรงพระปรีชาสามารถ และเป็นที่เคารพรักของประชาชนทั้งประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ประเทศอื่นๆ จะวุ่นวายและวิตกกังวลกันทั่วหน้าด้วยพิษเศรษฐกิจ ในขณะที่คนภูฏานยังยิ้มกันได้อย่างทั่วหน้า โดยมิได้สะทกสะท้านอะไรกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในระบบทุนนิยม นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า พวกเขามี GNH เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และพวกเขามีศูนย์รวมจิตใจถึง 2 พระองค์
http://www.posttoday.com/travel.php?id=28146



What can you do with the new Windows Live? Find out

What can you do with the new Windows Live? Find out

What can you do with the new Windows Live? Find out

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com