ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Blognone
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

ถึงเวลา... "พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุม"หรือยัง?

วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11357 มติชนรายวัน


ถึงเวลา... "พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุม"หรือยัง?





ในทุกครั้งที่เกิดการชุมนุมที่ยืดเยื้อของกลุ่มประชาชนทีไร มักจะมีคนพูดถึงว่าควรจะมีกฎเกณฑ์สากลของการชุมนุมขึ้นในเมืองไทยหรือยัง เพื่อความสงบเรียบร้อย และสอดคล้องกับการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชน และร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ... เป็นร่างกฎหมายที่ถูกยกร่างขึ้นและนำเสนอมาตั้งแต่สมัยรัรฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งเกิดการยึดอำนาจในวันที่ 19 กันยายน 2549 และในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติ ที่เสนอโดย พล.ต.อ.อิสกระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ ได้ร่วมการเสนอร่าง พ.รบ.นี้อีกครั้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 แต่ก็ยังไม่มีการพิจารณา

และมาในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน นายจุมพฎ บุญใหญ่ ส.ส.กลนคร พรรคพลังประชาชน และคณะ ได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งมี 20 มาตรา โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญไม่ได้แตกต่างมาจากร่างกฎหมายที่เสนอผ่านๆ มา

ในวันนี้ มีหลายกระแสเสียงพูดกันว่าหากประเทศไทยมีกลไกในการควบคุมดูแลการชุมนุมของผู้คนที่เป็นแบบแผนสากลเหมือนอนาอารยประเทศ ไม่ต้องประกาศภาวะฉุกเฉินกันอย่างพร่ำเพรื่อให้กระกับความอ่อนไหวด้านเศรษฐกิจน่าจะดีกว่านี้ ลองมาทบทวนดูกันอีกทีว่า ร่างกฎหมาย "คุมม็อบ" ที่ว่านั้นมีสาระสำคัญดังนี้

มาตรา 5 ห้ามมิให้ดำเนินการชุมนุมในที่สาธารณะที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรา 8

(1) มีการใช้ช่องทางเดินรถหรือพื้นผิวการจราจร

(2) มีการตั้งเวทีปราศรัยในลักษณะกีดขวางการจราจรหรือทางสัญจรของประชาชน

(3) มีการใช้เครื่องขยายเสียง เครื่องฉายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเครื่องมือใดๆ เพื่อถ่ายทอดการชุมนุม

(4) มีการใช้ยานพาหนะ

มาตรา 8 ให้มีคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะทุกจังหวัดดังต่อไปนี้

(1) คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้แทนศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล ที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานที่ชุมนุม ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและผู้บังคับการกองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการและเลขานุการ

(2) คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะในจังหวัดอื่นๆ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นรองประธานกรรมการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด อัยการจังหวัด นายอำเภอที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานที่ชุมนุม เป็นกรรมการ และปลัดจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ

มาตรา 13 การชุมนุมในที่สาธารณะซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 5 ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ได้ขออนุญาตหรือมิได้ขออนุญาตก็ตาม ถ้าการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาต หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นหรือสาธารณชน หรือมีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยให้ผู้จัดให้มีการชุมนุมหรือผู้ที่สันนิษฐานว่าเป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมแล้วแต่กรณี ประกาศยุติการชุมนุมแล้วรีบแจ้งหัวหน้าสถานีตำรวจที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานที่ชุมนุม และให้ผู้จัดให้มีการชุมนุมหรือผู้ที่สันนิษฐานว่าเป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมดังกล่าวให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย เพื่อยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด

ม.15 หากการชุมนุมในที่สาธารณะที่ได้มีการประกาศให้ยุติตาม มาตรา 13 แล้วผู้ชุมนุมยังคงฝ่าฝืน ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมสลายการชุมนุมได้

ม.16 เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ใช้อำนาจในการสลายการชุมนุมตามมาตรา 15 ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุม หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เกินกว่าเหตุหรือไม่เกินความจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้ หากผู้ใดจัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยยื่นขอแล้วแต่ไม่ได้รับอนุญาต ใน ม.17-19 ได้กำหนดบทลงโทษจำคุก และโทษปรับเอาไว้แล้ว ตั้งจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จนถึงจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กติกามารยาท"ม็อบเมืองนอก"

ในประเทศฟิลิปปินส์ ผู้ที่ต้องการจัดการชุมนุมต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อสำนักงานของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเมืองที่อยู่ในพื้นที่ที่จะจัดให้มีการชุมนุมอย่างน้อย 5 วันทำการ ก่อนวันที่จะมีการชุมนุม หากไม่มีการอนุญาตให้มีการชุมนุม ผู้ยื่นคำขออนุญาตสามารถอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าวได้ต่อศาล

ประเทศออสเตรเลีย มลรัฐ ควีนส์แลนด์ กำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวการชุมนุมต่อคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ก่อนวันที่จะมีการชุมนุม อย่างไรก็ดี หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าการไม่ควรให้มีการชุมนุมดังกล่าวก็จำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม

ประเทศโรมาเนีย ผู้ต้องการจัดการชุมนุมต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวการชุมนุมต่อผู้ว่าการในท้องที่ที่จะจัดให้มีการชุมนุมอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุม อย่างไรก็ดี หากทางเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเห็นอย่างชัดเจนว่าการชุมนุมนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสาธารณะ เจ้าหน้าที่ก็สามารถที่จะสั่งห้ามให้มีการชุมนุมได้แต่ต้องมีการระบุถึงเหตุผลของการห้ามการชุมนุมด้วย หากผู้จัดการชุมนุมไม่เห็นด้วยกับคำสั่งห้ามดังกล่าวก็สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ต่อศาล

สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ต้องการชุมนุมต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบในท้องที่ที่จะได้มีการจัดการชุมนุมเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนที่จะทำการชุมนุม หากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (สำนักรักษาความมั่นคงของเทศบาล,ของอำเภอ หรือ องค์กรรักษาความมั่นคงในกรณีที่มีการชุมนุมที่มีการคาบเกี่ยวกันมากกว่าหนึ่งท้องที่) มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม ผู้ดำเนินการชุมนุมสามารถอุทธรณ์คำสั่งห้ามดังกล่าวต่อรัฐบาลได้

และสหรัฐอเมริกา ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะจึงไม่มีการกำหนดขั้นตอนใดๆ ดังนั้น หากต้องการดำเนินการชุมนุมก็สามารถทำได้เลย แต่ถ้าจะดีถ้าได้บอกกล่าวแก่เทศบาลท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจท้องที่ที่จะจัดการชุมนุมเพื่อให้เข้ามาดูแลการชุมนุมดังกล่าว

หน้า 11
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol02140452&sectionid=0133&day=2009-04-14

Rediscover Hotmail®: Get e-mail storage that grows with you. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com